วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2567

บุรีรัมย์ ฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ให้หนุนอาชีพพื้นบ้านของคนรากหญ้าที่มองข้าม

 บุรีรัมย์ ฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ให้หนุนอาชีพพื้นบ้านของคนรากหญ้าที่มองข้าม




อำเภอประโคนชัย//เกษตรกรอยากให้รัฐบาลชุดใหม่ ส่งเสริมและหาตลาดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยคั้นน้ำ ซึ่งเป็นอาชีพพื้นถิ่น แต่ขาดการสนับสนุนต้องปลูกเอง ขายเอง ถึงแม้ยอดรายได้จะดี แต่ทำยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ อยากให้รัฐบาลมาสนับสนุนด้านการตลาดและความรู้ด้านการผลิตที่ถูกต้อง




วันที่ 4 ก.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเทพ เอยประโคน อายุุ52ปี อยู่บ้านเลขที่ 27 ม.7 บ้านพาชี ต.ปังกู อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยสำหรับคั้นน้ำ ได้ออกมาเปิดเผยว่า




ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้รับเหมา แต่พออายุมากขึ้นจึงผันตัวมาทำการเกษตร ด้วยการปลูกอ้อยพันธุ์สำหรับคั้นน้ำขาย ปลูกในที่ดินตัวเอง 1ไร่ ปลูกได้ 600 กอ แต่ได้ปรับเปลี่ยนการปลูกแบบใหม่




ด้วยการเอาล้อยางรถยนต์เก่า มาตัดแก้มยางออก ให้เหลือเฉพาะวงล้อรถยนต์ จากนั้นขุดดินใส่ในวงล้อรถยนต์ แล้วปลูกอ้อย สาเหตุที่ทำแบบนี้เพราะป้องกันวัชพืช ดูแลง่าย ตัดหญ้าโดยรอบง่ายไม่ต้องกลัวไปโดนต้นอ้อย ที่สำคัญเวลารดน้ำกับใส่ปู๋ย จะไม่กระจายไปที่อื่น 




นายสุเทพ เล่าด้วยว่า หลังจากอ้อยโตพร้อมตัด ก็จะเตรียมเครื่องคั้นที่ซื้อมาไว้รอ พ่วงกับรถไถนา ออกไปตระเวนรีดอ้อยขายน้ำอ้อยขวดละ 10 บาท มีรายได้วันละ ประมาณ 500 บาท ปีละประมาณ 180,000  บาท เมื่อหักต้นทุนออกแล้วใน 1 ปีจะมีกำไรจากการขายน้ำอ้อยประมาณ 100,000 บาท


รายได้ดังกล่าวถือเป็นรายได้ดีพอใช้ได้หากเปรียบเทียบกับอายุ เพราะงานไม่หนักเหมือนปลูกพืชชนิดอื่น 


สิ่งที่ตนอยากจะฝากไปถึงรัฐบาลชุดใหม่คืออยากให้ส่งเสริมให้เกษตรกรกลุ่มนี้ เช่นสนับสนุนวิทยากรมาให้ความรู้ด้านการผลิต หรือการตลาด หรือหาตลาดให้มั่นคงกว่านี้โดยไม่ต้องออกไปเร่ขาย เพราะอาชีพนี้เป็นอาชีพพื้นบ้านที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ประกอบกับผู้สูงอายุซึ่งมีเพิ่งขึ้นให้รัฐออกมาส่งเสริมให้ทำเป็นอาชีพเสริมในเวลาว่างให้มีรายได้เพิ่มขึ้น////////////


ธีรยุทธ์ ชำนาญกอง 

ผู้สื่อข่าว จ.บุรีรัมย์ รายงาน


คิวภาพ//ต้นอ้อย//วิธีการดูแล//การคั้นอ้อย//เสียงเกษตรกร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น