วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567

บิ๊กเจี๊ยบต้อนรับนายกประจักษ์และบิ๊กปาน

 บิ๊กเจี๊ยบต้อนรับนายกประจักษ์และบิ๊กปาน




เมื่อวันที่ 31 ม.ค.67 

พลเรือโทสุภชิต นาวีสุรพล

 ผู้อำนวยการสำนักงานประสานภารกิจด้านความมั่นคงกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร  กองทัพเรือ (ผอ.สง.ปรมน.ทร.), 

พลเรือตรีชวเลิศ เลขะวัฒนะ 

รองผอ.สง.ปรมน.ทร. และ นาวาเอกสยาม ลายสาร รอง ผอ.สอก.สง.ปรมน.ทร. ให้การต้อนรับ คณะสมาคมนักธุรกิจรักษาความมั่นคงแห่งชาติ นำโดย 

นายประจักษ์ ภมรพล นายกสมาคมฯ, 

พลเรือเอกเชษฐา ใจเปี่ยม รองประธานที่ปรึกษาสมาคมฯ และ พลตรี อำนาจ จันทรนิมะ ที่ปรึกษาพิเศษ  เข้าพบเพื่อหารือเรื่องการประสานความร่วมมือ 

บูรณาการ และหาแนวทางร่วมกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และพร้อมสนับสนุนในภารกิจด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 
























   ทั้งนี้สมาคม กำลังเปิดรับสมัคร หลักสูตรนักธุรกิจรักษาความมั่นคงแห่งชาติ รุ่นที่ 75 ระหว่าง 23 มีนาคม ถึง 7 เมษายน 2567

คณะนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่อำเภอท่าฉาง ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย

 คณะนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่อำเภอท่าฉาง ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของสมาคมแม่บ้านมหาดไทย



เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 นางดาเรศ จิตรัตน์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานีประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่อำเภอท่าฉาง ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานตามนโยบายของสมาคมแม่บ้านมหาดไทยภายใต้การนำของ ดร.วันดี กุญชรยาคง จงเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ดังนี้

         เวลา 10.30 น. ตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าฉาง หมู่ที่ 4 ตำบลท่าฉาง อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบปะและให้กำลังใจคณะครู มอบนมและขนมให้กับนักเรียน จำนวน 228 คน ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าฉางได้น้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ส่งเสริมการสร้างสุขอนามัยให้แก่เด็กและแม่ เติบโตอย่างถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานสุขลักษณะ มีแปลงผักสวนครัวสร้างการเรียนรู้และสร้างความมั่นคงทางอาหาร และประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการขยะ และได้แนะนำให้ปลูกผักแบบยกชั้น นอกจากนี้ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่าฉางยังได้ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมผ้าไทย น้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตราชกัญญา “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” อีกด้วย



         เวลา 11.30 น. ติดตามการขับเคลื่อนการขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

อำเภอท่าฉาง บริเวณที่ว่าการอำเภอท่าฉาง หมู่ที่ 2 ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งอำเภอท่าฉางได้ขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอย่างต่อเนื่องควบคู่การการดำเนินโครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร น้อมนำแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” โครงการปลูกผักสวนครัวในทุกครัวเรือนและขยายผลโครงการ “ทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน” และโครงการ “ครอบครัวมหาดไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” โดยการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนเพื่อการคัดแยกขยะแห้ง ขยะเปียกเพื่อให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ และการจัดทำธนาคารขยะ 

บริเวณศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริอำเภอท่าฉาง มีการปลูกผักสวนครัว ไม้ผลต่าง ๆ หมาก พลู 

บ่อเลี้ยงปลา บ่อเลี้ยงแหนแดง โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงผึ้งโพรง ไว้สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้าง

ความมั่นคงด้านอาหาร สร้างรายได้ ประหยัดรายจ่าย พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากรให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน สืบสานพระราชปณิธาน 

และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

และขับเคลื่อนกิจกรรม “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง” ผู้นำต้องทำก่อน และขยายผลไปยังบ้านเรือนของข้าราชการ ประชาชน เพื่อจะได้มีอาหาร

ที่ปลอดภัยไว้รับประทาน  นับเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี  และได้ขยายผลไปยังหมู่บ้านเป้าหมายตามโครงการ

หนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนขยายผลโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ไปจนครบทุกหมู่บ้าน



       กิจกรรมประกอบด้วย

       1.ใส่ปุ๋ย ห่มฟาง รดน้ำหมัก 

       2.ให้อาหารปลา

       3.เก็บผักสวนครัว

       เวลา 13.30 น. ตรวจเยี่ยมและมอบเงิน จำนวน 10,000 บาท ช่วยเหลือครัวเรือนเปราะบาง ราย นายอำพร ชุมทับ อายุ 51 ปี ประกอบอาชีพรับจ้าง (ลอกใบจาก) ซึ่งได้รับผลกระทบจากไฟไหม้บ้านพักอาศัย เสียหายทั้งหลัง ซึ่งดำเนินการตามโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้ และนายกเหล่ากาชาดจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้กรุณาอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ “ปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยแก่ผู้ยากไร้ ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปีงบประมาณ 2567” งบประมาณ 100,000 บาท เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

       เวลา 14.20 น. เยี่ยมชมบ่อน้ำพุร้อนเค็มบ้านธารน้ำร้อน หมู่ที่ 1 ตำบลเขาถ่าน อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

       โดยมี นายสุกิจ มีพริ้ง นายอำเภอท่าฉาง ว่าที่ร้อยตรีกรณ์วรรธน์ ชูนาค ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง ปลัดอำเภอ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอท่าฉางที่ 19  (อส.) เครือข่าย “โคก หนอง นา พช.” ผู้นำ อช. ให้การต้อนรับ

       

//////

​สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่”

 ​สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00




​จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมากที่สุด มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 22.26 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมาก ร้อยละ 16.31 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 13.08 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 12.56 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อย และร้อยละ 9.40 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

​ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายใดเพื่อกำจัดการรับสินบนในระยะยาว พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.23 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปลูกฝังและให้ความรู้การต่อต้านการรับสินบนในโรงเรียน มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 16.84 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมการไม่รับสินบนในสังคม ร้อยละ 13.83 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการกำหนดกฎหมายบทลงโทษการรับสินบนอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 13.38 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเพิ่มโทษกรณีเจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน ร้อยละ 11.66 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ ร้อยละ 10.76 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการรับสินบน และ ร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น






​เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.92 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 17.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 16.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 14.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 8.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 49.55 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.45 เป็นเพศหญิง

​ตัวอย่าง ร้อยละ 18.57 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 16.08 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 16.92 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 22.26 อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 15.94 อายุ 56-65 ปี และร้อยละ 10.23 อายุ 65 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.87 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.33 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.80 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

​ตัวอย่าง ร้อยละ 25.12 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.68 สถานภาพสมรส และร้อยละ 11.20 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.85 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 42.93 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.66 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.98 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.58 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

​ตัวอย่าง ร้อยละ 10.07 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.51 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.33 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.68 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 23.01 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 9.40 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน

​ตัวอย่าง ร้อยละ 20.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.72 ไม่ระบุรายได้

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ 


จังหวัดราชบุรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่มอบนโยบายขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1

  จังหวัดราชบุรี อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ลงพื้นที่มอบนโยบายขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 



วันอังคาร ที่ 30 มกราคม 2567  ณ โรงแรม ณ เวลา อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี    นายชัยวัฒน์

 ชื่นโกสุม อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยรับตรวจรายไตรมาส เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี) โดยนายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผวจ.ราชบุรีมอบหมาย นายปิยพงศ์ ชูวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี กล่าวต้อนรับ มีนายอาทร พิมชะนก ผู้ตรวจราชการกรม นายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรม และผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายคือพัฒนาการจังหวัด ผู้อำนวยการกลุ่มงาน พัฒนาการอำเภอ และนักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัด ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 มีผู้ร่วมการประชุม จำนวน 227 คน นายชัยวัฒน์

ชื่นโกสุม ได้มอบนโยบาย การขับเคลื่อนภารกิจสำคัญกรมการพัฒนาชุมชน 10 + 1 ประเด็น ในระดับพื้นที่ ได้แก่ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา”  โครงการปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นการต่อยอดกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่อง เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน โครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกตามมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย อันเป็นสิ่งสำคัญที่ควรขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง การขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) เน้นย้ำการใช้ประโยชน์จากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า TPMAP และข้อมูล ThaiQM มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ การกระตุ้นยอดจำหน่ายโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)  ต่อมาประเด็นเรื่องกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การคำนึงถึงการวางแผนแก้ไขปัญหารการฟ้องร้องในกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี รวมถึงการตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการใช้ Click ชุมชน และการจัดเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) อันเป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างบูรณาการในพื้นที่พร้อมกับหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง กองทุนชุมชน ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นถึงความสำคัญของการออมเงิน และความเสี่ยงจากการไม่ริเริ่มออมเงิน การดำเนินงานบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ในแต่ละพื้นที่ และประเด็นสุดท้าย องค์กรคุณธรรม ให้ยึดหลักพอเพียง สมเหตุสมผล สุจริต ยึดหลักธรรมาภิบาล ทำงานด้วยระเบียบกฎหมาย ทำงานให้โปร่งใสซึ่งเป็นเกราะป้องกันการทำงานในการประชุมดังกล่าว 







นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ได้เยี่ยมชมนิทรรศการโมเดลต้นแบบอัตลักษณ์ของจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี พร้อมรับฟังการนำเสนอ Live Presentation Sandbox Model ณ จุดแสดงนิทรรศการ และร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและต่อยอดการพัฒนาอัตลักษณ์ของจังหวัดสู่การสร้างต้นแบบการพัฒนางาน (Role Model) โดยจังหวัดราชบุรีได้นำเสนอ ผ้าไทยชาติพันธุ์ของจังหวัดราชบุรี โดยมี นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี เป็นผู้นำเสนอแนวคิดและผลงาน ต่อมา 

นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม เยี่ยมชมการจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP และให้กำลังใจ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP จังหวัดราชบุรี โดยสินค้าOTOP ของดีจังหวัดราชบุรี ในวันนี้ ประกอบด้วย ผ้าซิ่นตีนจกหลานย่าซ้อนกำลังหาญ, ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านวัดนาหนอง, อามีนบาติก, อิมปานิ ผ้าขาวม้า, กระเป๋าหนังMarah, หมี่เตี๊ยวตรามังกร, แม่กิมฮวย และกลุ่มอาชีพครีมน้ำนม เซรัมบัวหิมะ  จากนั้น ได้มอบเงินสร้างบ้านตามโครงการบ้านห่วงใยจากใจ GLO ประจำปี 2566 เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง  ซึ่งสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดสร้างบ้านให้กับประชาชนที่มีบ้านพักอาศัยไม่มั่นคงถาวร และแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในระบบ TPMAP หลังคาเรือนละ 200,000 บาท ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี จำนวน 3 หลังคาเรือน และพิธีรับมอบเงินทุนอุปการะเด็กจากกองทุนพัฒนาเด็กชนบท ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 3 กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง จำนวน 72 ทุน ได้แก่ จังหวัดราชบุรี จำนวน 60 ทุน จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 7 ทุน และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 5 ทุน 


สุพจน์ วรสหวัฒน์/รายงาน


พช.ราชบุรี จัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ปี 2567 ภายใต้แนวคิด "รวมพลัง อช. สานพลังแก้จน พัฒนาคนอย่างยั่งยืน"

 พช.ราชบุรี จัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ปี 2567 ภายใต้แนวคิด "รวมพลัง อช. สานพลังแก้จน พัฒนาคนอย่างยั่งยืน"



วันจันทร์ที่ 29 มกราคม 2567 ณ วัดนาหนอง ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

 นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานดำเนินกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ภายใต้แนวคิด "รวมพลัง อช. สานพลังแก้จน พัฒนาคนอย่างยั่งยืน" โดยมี นางพรศรี ตรงศิริ ประธานแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดราชบุรี ประธานคณะกรรมการกลุ่มอาชีพและผู้ผลิตผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดราชบุรี ประธานคณะกรรมการเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินจังหวัดราชบุรี ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดราชบุรี ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนทั้ง 10 อำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจัดหวัด/อำเภอ รวมทั้ง ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชาชนในพื้นที่ ได้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 200 คน 


  

และได้รับเกียรติจาก พระครูวินัยธร อำนาจ อนุภทฺโท เจ้าอาวาสวัดนาหนอง ร่วมกิจกรรม โดยมีกิจกรรม ดังนี้

1. ประธานในพิธีอ่านสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปีโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนประจำปี พ.ศ. 2567

2. นายสัณฐิการณ์ จิตภูธโรจน์ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี นำกล่าวคำปฏิญาณตนของอาสาพัฒนาชุมชน/ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนและแสดงพลังอาสาพัฒนาชุมชน

3. การมอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแก่ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนที่มีผลงานดีเด่น ด้านการขับเคลื่อนงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2566 จำนวน 20 คน

4. การมอบพันธุ์กล้าไม้ให้กับโรงเรียนวัดนาหนอง และโรงเรียนวัดทุ่งหญ้าคมบาง

5. กิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อนำรายได้ร่วมทำบุญบริจาคให้กับวัดนาหนอง

6. กิจกรรมปลูกต้นไม้ บริเวณถนนเส้นทางหลังต๋าหลาด ไท-ยวน ระยะทาง 500 เมตร ขับเคลื่อนโครงการทางนี้มีผล ผู้คนรักกัน ถนนกินได้ 1,073 เส้นทาง 

เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567



 กรมการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2512 โดยการส่งเสริมให้ประชาชนที่มีจิตใจเสียสละ เข้ามาเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน(ผู้นำ อช.)และอาสาพัฒนาชุมชน(อช.) ทำหน้าที่เป็นแกนนำในการประสานงานระหว่างผู้นำองค์กรชุมชนและภาคีการพัฒนา เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการในด้านต่างๆ ในปีงบประมาณ 2567 กรมการพัฒนาชุมชนได้มอบหมายให้ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน(ผู้นำ อช.)และอาสาพัฒนาชุมชน(อช.) เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีร่วมกับชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี จึงได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันครบรอบ 55 ปี ในวันที่ 29 มกราคม 2567 ณ วัดนาหนอง ตำบลดอนแร่ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรีโดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

          1.เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติคุณแก่อาสาพัฒนาชุมชน

          2.เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคีแก่อาสาพัฒนาชุมชนในพื้นที่จังหวัดราชบุรี

          3.เพื่อส่งเสริมการใช้กระบวนการเรียนรู้การพัฒนาหมู่บ้านอาสาพัฒนาชุมชนและการใช้พลังอาสาพัฒนาชุมชนในการดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะร่วมกันอย่างสร้างสรรค์



 ทั้งนี้ นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี ได้กล่าวว่า อาสาพัฒนาชุมชน (อช.) และผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำอช.) ถือเป็นเพื่อนคู่คิดของพัฒนากร เป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข พัฒนาหมู่บ้านของตนเอง ช่วยเหลือ สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ หรือกิจกรรมพัฒนาหมู่บ้าน รวมทั้งเป็น ผู้ประสานงานระหว่างองค์กรประชาชน หน่วยงานภาครัฐ เอกชนต่าง ๆ และได้กล่าวขอบคุณ อาสาพัฒนาชุมชนและผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนทุกท่านที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมานะ อดทน เสียสละ และดำรงตนเป็นแบบอย่างให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่มาโดยตลอด ร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหา และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน/หมู่บ้าน ดั่งวิสัยทัศน์กรมการพัฒนาชุมชนที่ว่า “เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”


สุพจน์ วรสหวัฒน์/รายงาน

กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี คว้ารางวัล Top 12 บริษัทในฝันคนรุ่นใหม่ปี 2567 จาก WorkVenture 3 ปีซ้อน

 กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี คว้ารางวัล Top 12 บริษัทในฝันคนรุ่นใหม่ปี 2567 

จาก  WorkVenture 3 ปีซ้อน

   


กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี โดย คุณธีระ วีรธรรมสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกลุ่มบริษัท เป็นตัวแทนรับรางวัล "Top50 Companies in Thailand 2024" หรือ 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุด ประจำปี 2567 ในปีนี้ กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี (BJC Big C) ได้รับการโหวตให้อยู่ในอันดับที่ 12 และได้รับรางวัลดังกล่าว 3 ปีติดต่อกัน โดยข้อมูลมาจากผลสำรวจจากทั้งกลุ่มนักศึกษาและกลุ่มวัยทำงาน ช่วงอายุระหว่าง 20-35 ปี จำนวนกว่า 10,000 คน ผ่านการทำผลสำรวจแบบออนไลน์ จัดขึ้นโดย WorkVenture ที่ปรึกษาและผู้นำด้านการสร้างแบรนด์นายจ้างให้แก่องค์กรชั้นนำในไทยและผู้ให้บริการแพลตฟอร์มค้นหางานที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย โดยมี มร. เย็นส์ โพลด์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวิร์คเวนเจอร์ เทคโนโลจีส์ จำกัด เป็นผู้มอบรางวัล ณ ห้อง Fuji Grand Ballroom โรงแรม นิกโก้ กรุงเทพ



คุณธีระ วีรธรรมสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลกลุ่มบริษัท บริษัท เบอร์ลี่ 

ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC กล่าวว่า “ขอขอบคุณ WorkVenture และคนรุ่นใหม่ทุกคนที่ร่วมโหวตเพื่อให้กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี เป็นหนึ่งใน 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุด ประจำปี 2567 ทำให้กลุ่มบริษัทบีเจซี บิ๊กซี ได้รับรางวัลดังกล่าว 3 ปีติดต่อกัน และขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่ร่วมกันสร้างองค์กรในฝันสำหรับคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง ด้วยกลุ่มบริษัทมีธุรกิจที่หลากหลาย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้มุ่งมั่นส่งเสริมความหลากหลายในแง่ของการดูแล และเปิดกว้างด้านพนักงาน ทั้งอาชีพ ตำแหน่งงาน ศาสนา อายุ เพศ ความคิด และผลักดันนโยบายต่าง ๆ ที่เป็นการดูแลและตอบโจทย์ต่อพนักงานทุกกลุ่ม รวมถึงการปรับบาลานซ์ชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้สมดุลกันในยุคปัจจุบัน อาทิ ส่งเสริมการลาของสามี (พนักงานชาย) เพื่อช่วยภรรยาดูแลบุตรหลังคลอด และนโยบายวันลาเพื่อการเปลี่ยนผ่านเพศสภาวะให้พนักงานข้ามเพศ เป็นต้น”



###



#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ร้อยเอ็ด-แถลงผลจับนักค้ายาเสพติด ได้ 1,050 คน ของกลางยาบ้า จำนวน 859,820 เม็ด ไอซ์ 33.77 กรัม ยาเค 45.13 กรัม อาวุธปืน 35 กระบอกรวมมูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 12,958,287 บาท

 ร้อยเอ็ด-แถลงผลจับนักค้ายาเสพติด ได้ 1,050 คน ของกลางยาบ้า จำนวน 859,820 เม็ด ไอซ์ 33.77 กรัม ยาเค 45.13 กรัม อาวุธปืน 35 กระบอกรวมมูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 12,958,287 บาท



     วันที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 13.30 น. นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด แถลงผลการดำเนินการยุทธการไล่ล่านักค้าอีสานเหนือ 252 (เด็ดปีกนักค้า) No place for drug โดยมี พลตำรวจตรีทรงพล บริบาลประสิทธิ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย หน่วยงาน ทหาร ฝ่ายปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ที่ ตำรวจภูธรจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด



     ตามนโยบายเร่งด่วนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตำรวจภูธร ภาค 4 และสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการปราบปรามนักค้ายาเสพติดในพื้นที่ โดยปฏิบัติการเชิงรุก สอบสวนขยายผล รวบรวมพยานหลักฐาน และขอหมายค้นเข้าดำเนินการปิดล้อมจับกุม และยึดอายัดทรัพย์ บุคคลตามหมายจับ ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง 31 มกราคม 2567 ได้ ออกหมายจับผู้ค้าและผู้เกี่ยวในพื้นที่ตามหมายจับใหม่ จำนวน 39 คน ได้ปิดล้อมตรวจค้นจับกุมเป้าหมายได้ 33 คน และ สืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหาคดียาเสพติดตามหมายจับค้างเก่า ได้ 4 คน 




     ทั้งนี่ยังสามารถจับกุมผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งผู้ค้า ผู้เสพ ผู้มีหมายจับ ยึดและอายัดทรัพย์สินเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย จับกุมผู้ต้องหาคดียาเสพติด ได้ 1,050 คน ของกลางยาบ้า จำนวน 859,820 เม็ด ไอซ์ 33.77 กรัม ยาเค 45.13 กรัม อาวุธปืน 35 กระบอก เครื่องกระสุน 244 นัด รถยนต์ 44 คัน และทรัพย์สินอื่นๆ รวมมูลค่าทั้งสิ้น ประมาณ 12,958,287 บ




///


คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ

คืย์ อินธิราทร ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์/รายงาน 

ร้อยเอ็ด- จัดการแสดงมหกรรมดนตรี โหวด เมืองร้อยเอ็ด City of Music & Creative Cities Network

 ร้อยเอ็ด- จัดการแสดงมหกรรมดนตรี โหวด เมืองร้อยเอ็ด City of Music & Creative Cities Network 



วันที่ที่ 30 มกราคม 2567 เวลา 17.00 น. ณ เวทีกลางงานกาชาดจังหวัดร้อยเอ็ด ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด นายชัยวัฒน์ ชัยเวชพิสิฐ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานเปิดการแสดงมหกรรมดนตรี "โหวด” เมืองร้อยเอ็ด City of Music & Creative Cities Network โดยมี นายไพโรจน์ จิตจักร์ ปลัดจังหวัดร้อยเอ็ด, นายพิชัยยา ตุระซอง หัวหน้าสำนักงานจังหวัดร้อยเอ็ด, นายยุทธนา บุศเนตร วัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ และพี่น้องประชาชน ร่วมรับชม 



สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ ที่ทำการปกครองจังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดให้มีการแสดงมหกรรมดนตรี "โหวด” เมืองร้อยเอ็ด เพื่อให้ผู้มาร่วมงานกาขาดได้รับชมศิลปวัฒนธรรม อันเป็นอัตลักษณ์ และเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดการแสดง "วงโหวด" ให้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมเป็นเครือข่าย เมืองสร้างสรรค์ หรือ Creative Cities Network สาขาเมืองแห่งดนตรี City of Music ของยูเนสโก 



       สำหรับการแสดงมหกรรมดนตรี ในวันนี้ ได้รับความร่วมมือด้วยดี จากสถานศึกษา จำนวน 4 แห่ง นำวงดนตรีพื้นบ้าน วงโหวดอีสานมาร่วมทำการแสดง ประกอบด้วย "วงโหวดเมืองแสนล้านช้าง” โรงเรียนพนมไพรวิทยาคาร “วงโหวดไพรพะยอมศิลป์” โรงเรียนปทุมรัตต์พิทยาคม “วงโหวดหนองพอกเมืองงาม” โรงเรียนหนองพอกวิทยาลัย และ“วงโหวดลูกพ่อพลาญชัย" โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการออกร้านสาธิตการผลิตโหวด การผลิตแคน และจำหน่าย รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในเรื่องเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานให้แก่ประชาชน




////

คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ 

คีย์ อินธืราทร ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์/รายงาน