วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567

​สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่”

 ​สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,330 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “สยามเทคโนโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และโปรแกรม Google Form โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00




​จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับนโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมากที่สุด มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 22.26 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับมาก ร้อยละ 16.31 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับปานกลาง ร้อยละ 13.08 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อยที่สุด ร้อยละ 12.56 ระบุว่า เชื่อว่านโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้ในระดับน้อย และร้อยละ 9.40 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

​ท้ายที่สุดเมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป เกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนว่ารัฐบาลควรมีนโยบายใดเพื่อกำจัดการรับสินบนในระยะยาว พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.23 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปลูกฝังและให้ความรู้การต่อต้านการรับสินบนในโรงเรียน มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 16.84 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมการไม่รับสินบนในสังคม ร้อยละ 13.83 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการกำหนดกฎหมายบทลงโทษการรับสินบนอย่างเด็ดขาด ร้อยละ 13.38 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเพิ่มโทษกรณีเจ้าหน้าที่รัฐรับสินบน ร้อยละ 11.66 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเพื่อให้ประชาชนร่วมตรวจสอบ ร้อยละ 10.76 ระบุว่า รัฐบาลควรมีนโยบายการปกป้องผู้แจ้งเบาะแสการรับสินบน และ ร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น






​เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 9.92 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 17.52 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 16.32 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 14.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 8.34 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 49.55 เป็นเพศชาย และร้อยละ 50.45 เป็นเพศหญิง

​ตัวอย่าง ร้อยละ 18.57 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 16.08 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 16.92 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 22.26 อายุ 46-55 ปี ร้อยละ 15.94 อายุ 56-65 ปี และร้อยละ 10.23 อายุ 65 ปี ขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.87 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.33 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.80 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ

​ตัวอย่าง ร้อยละ 25.12 สถานภาพโสด ร้อยละ 63.68 สถานภาพสมรส และร้อยละ 11.20 สถานภาพหม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 19.85 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 42.93 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.66 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 30.98 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.58 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

​ตัวอย่าง ร้อยละ 10.07 มีอาชีพหลักข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 24.51 มีอาชีพหลักพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.33 มีอาชีพหลักเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 10.68 มีอาชีพหลักเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 23.01 มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน และร้อยละ 9.40 มีอาชีพหลักพ่อบ้าน/แม่บ้าน/ว่างงาน

​ตัวอย่าง ร้อยละ 20.60 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 23.68 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.23 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 6.32 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.72 ไม่ระบุรายได้

สำนักวิจัยสยามเทคโนโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “นโยบายด้านจริยธรรมกำจัดสินบนได้หรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 23–30 มกราคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น