วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ร่วมกับสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ จัดทำแนวทางการบริหาร จัดการหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ

 สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ร่วมกับสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ จัดทำแนวทางการบริหาร จัดการหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ



เมื่อวันที่ 19-21 มิถุนายน 2567  สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ร่วมกับสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ และผู้แทนสถาบันการอาชีวศึกษา 23 แห่ง ร่วมจัดทำแนวทางการบริหาร จัดการหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ โดยนายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ได้ร่วมให้ข้อคิด แนวทางการทำงานแก่คณะทำงาน เน้นการทำงานต้องประกอบด้วย 4 มิติ เชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การอ่าน การฟัง การมองเห็น การลงมือทำ (จิตะปุริ) การจัดการศึกษาเพื่อนำไปการสู่การปฏิบัติตามกฏหมายและระเบียบกำหนด ซึ่งต้องสอดคล้องกับการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม สามารถปฏิบัติได้จริง สอดคล้องตามบริบทผู้ประกอบการ และหลักสูตรการศึกษา มาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้



โครงการดังกล่าวเป็นการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีและสายปฏิบัติการของสถาบันการอาชีวศึกษาซึ่งประกอบด้วย ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติในการบริหารหลักสูตรระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ รายละเอียดของรายวิชาในสถานศึกษา และรายละเอียดของรายวิชาในสถานประกอบการให้ชัดเจน โดยให้สอดคล้องกับประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรี สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งรายละเอียดของหลักสูตร ต้องมุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การกำหนดคณะกรรมการพัฒนาหรือปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตร และวิพากษ์หลักสูตร กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของหลักสูตร แบบฟอร์มสำหรับการตรวจสอบสอบหลักสูตร และคู่มือบริหารจัดการหลักสูตร โดยกำหนดขั้นตอนเป็น Flow Chart ซึ่งจะทำเห็นภาพกระบวนการพัฒนาหลักสูตรปริญญาตรีของสถาบันการอาชีวศึกษา ภาพรวมอย่างชัดเจน./







#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น