วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2566

ประชุมคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ครั้งที่ 2/2566 “ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์เสริม เติมเต็มด้วย ยุทธวิธีสู่ความสำเร็จ”

 ประชุมคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ครั้งที่ 2/2566 

“ยุทธศาสตร์หลัก ยุทธศาสตร์เสริม เติมเต็มด้วย ยุทธวิธีสู่ความสำเร็จ”



เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. นายอรรถการ ตฤษณารังสี นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ครั้งที่ 2/2566 ผู้เข้าร่วมประชุมนอกจากคณะกรรมการสภา ได้แก่ ผู้บริหารสถาบันฯ นำทีมโดยนายสมศักดิ์  บุญโพธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 และผู้บริหารวิทยาลัยในสังกัดสถาบัน 




สาระสำคัญของการประชุม ได้แก่ โครงการในอนาคตที่เป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษา เช่น โครงการพัฒนาผู้เรียน และบุคลากรสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ด้วยระบบ Coding ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีปทุมวัน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียน นักศึกษา จำนวน 500 คน โดยเมื่ออบรมเสร็จมีการแข่งขันเขียน Coding รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล เป็นเงินรางวัลละ 10,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศ 2 เป็นเงินรางวัลละ 5,000 รางวัล ชมเชย 5 รางวัล เป็นเงินรางวัลละ 2,000 บาท รวมรางวัลทั้งสิ้น 30,000 บาท  และโครงการความร่วมมือกับองค์กร IM Japan เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงด้วยระบบทวิภาคี ฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างฝึกงานนั้นก็ลงทะเบียนเรียนกับวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.) ซึ่งจะดำเนินการสร้างความเข้าใจกับองค์กร IM Japan ในรายละเอียดของสถานประกอบการที่ตรงกับสมรรถนะของสาขาวิชาที่เรียน รูปแบบการฝึกงานและการเรียนระบบทวิภาคี จากนั้นผู้แทนวิทยาลัยในสังกัดทั้ง 7 แห่งได้นำเสนอทบทวนแผนยุทธศาสตร์หลัก และยุทธศาสตร์เสริม จำนวนนักเรียน นักศึกษา ปีการศึกษา 2566 เทียบกับปีการศึกษา 2565 จำนวนผู้เรียนที่ออกกลางคัน และแนวทาง ยุทธวิธีในการแก้ปัญหาของแต่ละวิทยาลัย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ และคณะกรรมการสภาสถาบันได้ชื่นชม แล้วได้ให้ข้อแนะนำที่ประโยชน์ในการดำเนินงานของแต่ละวิทยาลัย โดยให้มุ่งเน้น ครู ผู้เรียน สังคม และประเทศชาติเป็นสำคัญ รวมถึงได้ทำข้อตกลงให้แต่ละวิทยาลัยมานำเสนอความก้าวหน้า ยุทธวิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จของแต่ละวิทยาลัยแก่คณะกรรมการสภาทุกระยะเวลา 3-4 เดือนต่อครั้งเพื่อให้สภาสถาบันให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อไป จากนั้นคณะกรรมการสภาได้พิจารณาอนุมัติผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ จำนวน 115 คน และเห็นชอบสาขาวิชาสัมพันธ์ในระดับปวส. เพื่อกำหนดเป็นคุณสมบัติผู้เข้าเรียนในหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ ของสถาบันในปีการศึกษา 2567 รวมถึงสร้างความเข้าใจแนวทางการทำงานของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 อย่างมีคุณภาพ เน้นการทำงานเป็นทีม การสื่อสาร การพัฒนา โดยต้องสร้างความเข้าใจ ไว้ใจ จริงใจ เชื่อใจ สบายใจ เทคนิคการตัดสินใจ ให้คำนึงถึงกระบวนการทำงาน วิเคราะห์ ตัดสินใจ การเข้าใจความเป็นจริง ถูกต้อง ครบถ้วน (อย่าคิดว่า นึกว่า เห็นว่า เชื่อว่า เขาว่า รู้ว่า ฟังว่า) การมอบหมายงานแล้วจะทำให้งานประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ต้องเร่งดำเนินการ รายงานกลับทุกครั้ง ติดตามผล ดำเนินการให้บรรลุผล รายงานผลกลับทุกครั้ง และการทำงานอย่างมีสติ “พุทธธรรมาภิบาล” เข้าใจ มีเมตตา จะสร้างความสุข ความสบายใจในการอยู่ร่วมกัน 






#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น