วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2565

เครือข่ายไฟฟ้าประปาและยา เพื่อชาติประชาชน (คฟปย.) แถลงการณ์ “รัฐวิสาหกิจ ไม่ทอดทิ้งประชาชน”

 



เครือข่ายไฟฟ้าประปาและยาเพื่อชาติประชาชน 

ฉบับที่ 1/2565 

เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) 

ตาม “พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 หมวด 4 สหภาพแรงงาน มาตรา 40 (4)  

ดำเนินการและให้ความร่วมมือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ” จึงเกิดการรวมตัวของ 

สหภาพแรงงานเป็นเครือข่ายไฟฟ้าประปาและยาเพื่อชาติประชาชน (คฟปย.) อันประกอบไปด้วยสหภาพแรงงานที่ 

เป็นองค์กร ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของชาติ ได้แก่ 

1. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) 

2. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สร.กฟภ.) 

3. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง (สภฟ.) 

4. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปานครหลวง (สร.กปน.) 

5. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการประปาส่วนภูมิภาค (สร.กปภ.) 

6. สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (สร.อภ.)




ด้วยความห่วงใยพี่น้องประชาชนอันเป็นภารกิจหลักของ คฟปย. ต่อสถานการณ์โรคโควิด -19 ที่ยังระบาด 

อย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังคงมีผลทำให้การดำรงชีพ การท ามาหากินเป็นไปอย่างยากลำบากต่อการครองชีพในปัจจุบัน 

คฟปย. จึงได้จัดประชุมเสวนาถึงสถานการณ์ในปัจจุบัน เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลต่อภาวะการครองชีพ ของ 

พี่น้องประชาชน การต่อสู้กับโรคโควิด 19 โดยรัฐบาลมีนโยบาย ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) การปล่อยให้เอกชนเข้า 

มาดำเนินการ ขายน้ำประปาในเขตภาคตะวันออก และการจัดหายา เวชภัณฑ์ ที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด 19 อันจะทำ 

ให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมากยิ่งขึ้น



โดยผลสรุปของการเสวนา ของ คฟปย. ขอเสนอต่อรัฐบาล ดังนี้ 

1 รัฐบาลต้องทบทวนนโยบายการขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) โดยเฉพาะเอกชนผู้ผลิต ต้องมีส่วนร่วม และเพิ่ม สัดส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้า ของภาครัฐตามรัฐธรรมนูญ  

2 รัฐบาลต้องคงไว้ซึ่งรัฐวิสาหกิจด้านสาธารณูปโภค รัฐจะต้องดูแลต้นทุนต่างๆ เช่น การเรียกเก็บ ค่าเช่าพื้นที่ใน การวางท่อประธานหรือท่อจ่ายน้ำ อย่างเช่น พื้นที่ของกรมทางหลวงและกรมธนารักษ์(วงเงินงบประมาณ 2 พันล้านบาท) ในเขตพื้นที่ภูมิภาค ในเรื่องน้ำประปา ที่ปล่อยให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในพื้นที่เศรษฐกิจ เช่น ภาคตะวันออก จังหวัด ปทุมธานี รัฐบาลต้องใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแล และกำหนดราคาที่เป็นธรรมต่อประชาชน ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม



3 รัฐบาลต้องมีนโยบายสนับสนุนให้องค์การเภสัชกรรม ผลิตยา วัคซีนและเวชภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนสามารถ เข้าถึงได้อย่างสะดวกมีคุณภาพและราคาถูก อย่างเพียงพอ 

4 รัฐบาลต้องไม่ขายรัฐวิสาหกิจ อันเป็นสมบัติของชาติและต้องไม่ทำให้รัฐวิสาหกิจอ่อนแอ จนไม่สามารถ 
ดำเนินกิจการได้เพื่อคงไว้ซึ่งกิจการของรัฐที่ต้องมีไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน เพราะรัฐบาลต้อง ใช้รัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือในการกำกับดูแล รับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบาย การพัฒนา และส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนความมั่นคงของประเทศ  ทั้งนี้คฟปย. ขอยืนยันเจตนารมย์เพื่อร่วมคัดค้านการแปรรูป รัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและ ทางอ้อม เพื่อรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติและประชาชนตลอดไป 

“รัฐวิสาหกิจ ไม่ทอดทิ้งประชาชน”


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น