วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562


ต่อหน้าที่โดยไม่ดำเนินการกับสุนัขจรจัดที่อยู่บริเวณบ่อขยะของผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ และ ๓ มีนาคม ๒๕๕๔ ถึงผู้ถูกฟ้องคดี เพื่อขอให้ดำเนินการกับสุนัขจรจัดดังกล่าว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดียังคงได้รับความเดือดร้อนเสียหายตลอด มาจนถึงวันที่ยื่นฟ้องคดีนี้ เมื่อผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องเมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้ยื่นฟ้องภายในระยะเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย กำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผลแล้วแต่กรณี เว้นแต่จะมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อหาที่ ๒ ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันยื่นฟ้องคดี แต่เนื่องจากช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๔ เป็นการยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา ๕๑ แห่งพะราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธี พิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ผู้ฟ้องคดีคงฟ้องเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้เฉพาะในช่วงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ อันเป็นวันที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีนี้เท่านั้น
ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า สุนัขเป็นสัตว์ควบคุมตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งควรจะต้องมีเครื่องหมายประจำตัวสัตว์  เมื่อมีการพบเห็นสุนัขในบริเวณบ่อขยะของผู้ถูกฟ้องคดี โดยไม่ปรากฏเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมี อำนาจจับสัตว์ควบคุมนั้น เพื่อกักขัง ถ้าไม่มีเจ้าของมาขอรับคืนภายในห้าวัน พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายสัตว์ควบคุมนั้นได้ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้ดำเนินการควบคุมสุนัขจรจัดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ตามมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือเพื่อป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ หรือคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อบำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา ๖๗ และมาตรา ๖๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ แต่อย่างใด กรณีจึงถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
เมื่อสุนัขจรจัดเข้ามารบกวน ทำให้นกกระจอกเทศออกไข่ได้เพียง ๖๐๖ ฟอง หรือโดยเฉลี่ย ๓๔ ฟองต่อตัวต่อปี ในขณะที่คำชี้แจงของปศุสัตว์อำเภอพัฒนานิคม และปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ได้ความว่า ปกติแม่นกกระจอกเทศ ๑ ตัว จะออกไข่ปีละ ๔๐ ฟอง ถึง ๘๐ ฟอง หรืออาจได้สูงสุดถึง ๑๐๐ ฟอง ทำให้ผู้ฟ้องคดีมีรายได้จากการประกอบอาชีพลดลง อันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี



ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า แม่นกกระจอกเทศ ๑ ตัวจะออกไข่โดยเฉลี่ยปีละ ๖๐ ฟอง ผู้ฟ้องคดีมีนกกระจอกเทศแม่พันธ์ จำนวน ๑๘ ตัว จำนวนไข่ที่ได้รับในระยะเวลา ๑ ปี คือ ๑,๐๘๐ ฟอง แต่เมื่อมีสุนัขจรจัดเข้ามารบกวนการออกไข่ของนกกระจอกเทศ จนไม่ออกไข่ตามปกติ พิจารณาจากบันทึกการเก็บไข่ในระหว่างวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ ปรากฏว่าเก็บไข่ได้เพียง ๖๐๙ ฟอง ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงขาดไข่ที่ควรได้รับอีก ๔๑๖ ฟอง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำไปขายให้แก่บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อีสาน จำกัด(มหาชน) ในราคาฟองละ ๓๐๐ บาท ผู้ฟ้องคดีจึงมีค่าเสียหายที่ขาดรายได้จากการขายไข่นกกระจอกเทศตามจำนวนที่ควรจะได้ คิดเป็นเงินจำนวน ๑๓๘,๓๐๐ บาท
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากการขาดรายได้ในการขายไข่นกกระจอกเทศเป็นเงิน ๑๓๘,๓๐๐ บาท นอกจากที่แก้ให้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และให้คืนค่าธรรมเนียมศาลในชั้นต้นให้แก่ผู้ฟ้องคดี และในชั้นอุทธรณ์ให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีตามส่วนของการชนะคดี
จากแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดทั้งสองคดีดังกล่าว สรุปได้ว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๗ เป็นผู้รับผิดชอบในกรณีสุนัขจรจัดรุมกัดเด็ก
นอกจากกฎหมายที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่กำหนดให้เจ้าของสัตว์ต้องจัดการให้สัตว์ควบคุม ซึ่งหมายถึง สุนัขหรือสัตว์อื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องได้รับการฉีดวัคซีน และมีเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ ซึ่งแสดงว่าได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีนแก่เจ้าของสัตว์ควบคุม โดยให้อำนาจสัตวแพทย์ และพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงการทำลายสัตว์ควบคุมที่มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้าด้วย และในที่สาธารณะ ถ้าปรากฏว่าสัตว์ควบคุมใดมีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายสัตว์ควบคุมได้


กฎหมายที่อาจนำมาใช้ในการจัดการกับสุนัขจรจัดได้อีกหนึ่งฉบับ คือ พระราชบัญญัติโรค ระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งให้ความหมายคำว่า "สัตว์" หมายความว่า ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ แพะ แกะ กวาง สุกร หมูป่า สุนัข แมว กระต่าย ลิง ชนี รวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ และเอ็มบริโอ(ตัวอ่อน)ของสัตว์เหล่านั้นด้วย หมายความถึงสัตว์ปีกจำพวกนก ไก่ เป็ด ห่าน รวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ และไข่สำหรับใช้ทำพันธุ์ด้วย และสัตว์ชนิดอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด และรวมถึงน้ำเชื้อสำหรับผสมพันธุ์ เอ็มบริโอ และไข่ สำหรับใช้ทำพันธุ์ของสัตว์ชนิดนั้นด้วย โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์มีอำนาจประกาศให้ท้องที่ใดทั้งหมดหรือบางส่วน ที่เห็นสมควรให้มีการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ชนิดใด ต้องมีการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับสัตว์หรือซากสัตว์ชนิดนั้น ซึ่งเจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามระบบการป้องกันและควบคุมโรคระบาด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดจำนวนสัตว์ หรือซากสัตว์ ลักษณะของยานพาหนะ และอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ และมีอำนาจประกาศเขตโรคระบาดสัตว์ด้วย เมื่อมีสัตว์ตาย เจ้าของสัตว์ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตร หรือสัตวแพทย์ ภายในเวลาสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่ทราบว่าสัตว์ป่วยหรือตาย ไม่ว่าจะรู้ว่าตายเพราะเป็นโรคระบาด หรือไม่รู้สาเหตุ หรือในหมู่บ้านเดียวกัน หรือบริเวณใกล้เคียงกัน มีสัตว์ป่วยหรือตายมีอาการคล้ายคลึงกันในระยะเวลาห่างกันไม่เกินเจ็ดวัน ในกรณีที่สัตว์ไม่ปรากฏเจ้าของป่วยหรือตายในที่ดินของบุคคลใด โดยรู้ว่าเป็นโรค ระบาด หรือไม่รู้สาเหตุ เจ้าของที่ดินมีหน้าที่แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สารวัตร หรือสัตวแพทย์ และสัตวแพทย์มีอำนาจตรวจสัตว์หรือซากสัตว์ รวมถึงการออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์หรือซากสัตว์ กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ป่วย หรือสงสัยว่าป่วย, ฝัง หรือเผาซากสัตว์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน, กักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ที่อยู่ร่วมฝูง หรือเคยอยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยหรือตาย, ทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาด หรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด,กำจัดเชื้อโรคที่อาหารสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด และทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคระบาดในที่ที่มีเชื้อโรคระบาดหรือสงสัยว่ามีเชื้อโรคระบาด เป็นต้น
กฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว ใช้จัดการกับสุนัขจรจัดที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า หรือป่วยเป็นโรคระบาดสัตว์ได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น