วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

“ปณิธาน” ย้ำจากนี้การตัดสินใจเรื่องความมั่นคงจะกำหนดอนาคตประเทศ“กมธ.ทหารฯ วุฒิสภา” จัดเสวนา “ความมั่นคงกับอนาคตประเทศ” “วันวิชิต” ชม สว.กล้าตรวจสอบคลิปเสียงนายกฯ ด้าน “ปณิธาน” ย้ำการตัดสินใจเรื่องความมั่นคงกำหนดอนาคตประเทศ แนะรัฐบาลปรับสมดุลให้ดี

 “ปณิธาน” ย้ำจากนี้การตัดสินใจเรื่องความมั่นคงจะกำหนดอนาคตประเทศ“กมธ.ทหารฯ วุฒิสภา” จัดเสวนา “ความมั่นคงกับอนาคตประเทศ” “วันวิชิต” ชม สว.กล้าตรวจสอบคลิปเสียงนายกฯ ด้าน “ปณิธาน” ย้ำการตัดสินใจเรื่องความมั่นคงกำหนดอนาคตประเทศ แนะรัฐบาลปรับสมดุลให้ดี






เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 16 ก.ค. 2568 ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา จัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ “ความมั่นคงกับอนาคตประเทศไทย” มีตัวแทนกองทัพภาคที่ 2, กองบัญชาการกองทัพไทย, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.), สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.), ผู้แทนปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และตัวแทนเหล่าทัพ เข้าร่วม โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการอิสระด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ, นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์นโยบายและการเมือง, นายวันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดย พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา ประธานคณะ กมธ.การทหาร กล่าวอภิปรายเปิดการเสวนาตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะนี้ เป็นเรื่องที่ไม่ปกติ กมธ.ติดตามสถานการณ์ด้วยความไม่สบายใจมาตลอด เช่นเดียวกับพี่น้องประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ วุฒิสภาจึงเปิดเวทีนี้เพื่อถกแถลงข้อมูล นำไปสู่การเสนอแนะเชิงนโยบายกับรัฐบาล ด้วยความรู้ความสามารถของวิทยากร และทุกคนที่ร่วมการเสวนาในครั้งนี้ชื่นชม สว.กล้าตรวจสอบคลิปเสียง




ด้านนายวันวิชิต กล่าวว่า กมธ.นี้ได้รับการชื่นชมในการยื่นตรวจสอบนายกรัฐมนตรีต่อศาลรัฐธรรมนูญ เป็นการแสดงออกของเสาความมั่นคงในการตรวจสอบเพื่อคลายความหวาดระแวงเรื่องความมั่นคงของประเทศ ที่บทบาทด้านการป้องกันประเทศ และรักษาอธิปไตยไม่ใช่เฉพาะบทบาทของทหาร แต่พลเรือนมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงฝ่ายการเมืองที่ใช้พื้นที่แสดงบทบาทนี้ เพราะความมั่นคงชายแดนไทยมีปัญหารายล้อม ทั้งนี้บทบาทผู้นำทางการเมืองมีความสำคัญมาก ที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจงานด้านความมั่นคง จากสถิติช่วง 5 ปีของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตัวเลขงานด้านความมั่นคงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น ผู้นำทางการเมืองควรมีความรู้สอดประสานกับงานความมั่นคง แต่ปัจจุบันรัฐบาลพลเรือนให้ความสำคัญเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจเพื่อหวังคะแนนนิยม แตกต่างจากสายงานทหารที่ไม่ได้มองเรื่องความนิยมในอนาคต จึงทำงานด้านความมั่นคงอย่างเต็มที่ขณะที่นายปณิธาน กล่าวว่า การตัดสินใจเรื่องความมั่นคงนับจากนี้ไปจะกำหนดอนาคตประเทศไทย ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง การต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องความมั่นคงทั้งนั้น ดังนั้น รัฐบาลต้องตัดสินใจให้ดี ซึ่งขณะนี้ยังตัดสินใจไม่ดีเท่าไหร่ สถานการณ์ขณะนี้ไม่ปกติมากใน 3 เรื่อง คือ 


1.เรากำลังเคลื่อนเข้าสู่มหาสงคราม หรือสงครามแบบเบ็ดเสร็จ เราต้องทำให้การเคลื่อนนี้ช้าลง เพราะการกลับมาของสงครามแบบเบ็ดเสร็จครั้งนี้เกิดขึ้นรอบด้านในทุกสมรภูมิ สงครามโลกครั้งที่ 3 ใกล้กว่าที่คิด เราจำเป็นต้องปรามมัน ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคน


 2.สงครามยูเครน-รัสเซีย ไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นเรื่องที่มีเหตุผล และสงครามทุกพื้นที่ของทุกมุมโลกจะเกิดความยืดเยื้อซับซ้อนยิ่งขึ้น 


3.ภัยคุกคามสมัยใหม่ทั้งภัยการเมือง ภัยเศรษฐกิจ และภัยสิ่งแวดล้อม รัฐบาลต้องจัดลำดับความสำคัญให้ดี โดยเฉพาะที่ประชิดตัวเรามากที่สุดคือ สงครามการค้ากับสหรัฐฯ ที่เราโดนภาษีนำเข้า 36% เราต้องปรับสมดุลทางยุทธศาสตร์ใหม่ ต้องเข้าใจเรื่องความสมดุลที่ซับซ้อน อาทิประเด็นการตั้งฐานทัพในไทย ถ้าจะให้สหรัฐฯ มาตั้งฐานทัพคงทำไม่ได้แน่ เพราะขัดกติกาของเรา และขัดกติกาอาเซียน ถ้าจะให้เช่าทำได้ แต่จะทำอย่างไรให้จีนเข้าใจ จึงอยากเสนอแนะว่าระหว่างนี้ ยังไม่ต้องตัดสินใจหลายเรื่องก็ได้ แต่ต้องปรับสมดุลให้ดีก่อน


ใช้ สมช.แก้ปัญหาชายแดน




“ปัญหาด้านความมั่นคง อย่าทำให้ระบบที่มีอยู่ไม่ทำงาน โดยเฉพาะสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) วันนี้ระบบทุกอย่างมีอยู่แล้ว และไทยต้องประเมินใหม่ หากจะมีการรบกับกัมพูชา ทั้งทางการทูต ทางทหาร และการเมือง ต้องกระทำภายใต้ สมช.ทุกเรื่อง แต่ก็ยอมรับว่าภายใน สมช.เองก็มีปัญหามาก ตนเคยเสนอแก้ไขตั้งแต่ผมอายุ 30 ปี ตอนนี้อายุ 60 ปี ระบบยิ่งแย่กว่าเก่า ดังนั้น สมช.จะต้องมีการประชุมกันก่อนที่จะไปพูดคุย หรือเจรจากับทางกัมพูชา ไม่ใช่มอบหมายให้กองทัพบกแก้ปัญหา หรือพูดคุยเท่านั้น รวมถึงเสนอให้ไทยทบทวนเอ็มโอยู 43 เพื่อแก้ไขเป็นเอ็มโอยู 68 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาในปัจจุบัน” นายปณิธาน กล่าว“อิ๊งค์”ควรพ้นนายกฯก่อน



ส่วนนายธนพร กล่าวว่า วันนี้โจทย์ใหญ่ด้านความมั่นคงคือ ต้องเอานายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งก่อน ไม่ต้องกลัวการเปลี่ยนม้ากลางศึกแล้วจะแพ้ หากเปลี่ยนนายกฯ ก็ขอให้มาตามกระบวนการ จะเป็นใครก็ได้ โจทย์นี้ต้องฝาก สว.ทุกคนด้วย กระบวนการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ว่ากันไป แต่กระบวนการยื่นอภิปรายโดยไม่ลงมติของวุฒิสภาเป็นการตรวจสอบทางการเมือง ตนทราบว่า รัฐบาลพยายามล็อบบี้ไม่ให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น แต่ถามว่า สว. จะยอมหรือไม่ ถามว่าชาวบ้านจะได้เห็นการอภิปรายนี้เมื่อไหร่


ข่าวดีสังคมปฏิเสธรัฐประหาร



“ข่าวดีในเรื่องนี้พอมีอยู่บ้าง เพราะเราไม่คิดว่าเรื่องแบบนี้จบด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาก็เช่นกันไม่เคยเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามครรลองรัฐธรรมนูญ แม้กระทั่งวันที่เห็นการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีคำพูดที่ทำให้สังคมไม่สบายใจก็เกิดกระแสตีกลับ เพราะประชาชนไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงอะไรที่นอกเหนือจากครรลองตามรัฐธรรมนูญ ผมไม่ได้บอกว่า ผู้นำต้องมีไอคิว 180 ต้องรู้ทุกเรื่อง แต่ต้องมีคุณสมบัติความไว้เนื้อเชื่อใจเขาได้ หากเกิดความไว้วางใจจากประชาชนจะทำเรื่องอื่นต่อไปได้ แต่ปัญหาคือเราสูญเสียความไว้วางใจในตัวผู้นำจริงๆ” นายธนพร กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น