วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2568

“ส.พ.ส.” นำนักศึกษาป.โท “มจร.”บินลัดฟ้า ศึกษาดูระบบมาตรฐานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบครบวงจรของสิงคโปร์

 “ส.พ.ส.” นำนักศึกษาป.โท “มจร.”บินลัดฟ้า ศึกษาดูระบบมาตรฐานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแบบครบวงจรของสิงคโปร์



ระหว่างวันที่ 22-25 มกราคม 2568 นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความชัดแย้งด้วยสันติวิธี (ส.พ.ส.) พร้อมคณะกรรมการ และที่ปรึกษา ร่วมกับ พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทะโกวิทโท ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (มจร.) ศึกษาดูงานระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประเทศสิงคโปร์ โดยมี คณะผู้เข้าร่วม 19 รูป/คน ประกอบด้วยพระภิกษุสงฆ์ นักศึกษา ผู้ใกล่เกลี่ย 

ผู้ประนีประนอม 



การศึกษาดูงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใน

ระดับประเทศ และระหว่างประเทศของสิงคโปร์ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารองค์กรที่

เกี่ยวข้อง โดยคณะผู้เข้าร่วมยังได้เข้าเยี่ยมคารวะเอกอัครรราชทูตไทยประจำสิงคโปร์ นางอรีรัชต์ เจริญโต เพื่อรับฟังการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับ "สันติภาพ ระบบการศึกษา และมิติทางสังคมในสิงคโปร์" ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างความยึดหยุ่นในสังคม และการบริหารจัดการความ

Maxwell Chambers เป็นศูนย์แก้ไขข้อพิพาทแบบครบวงจรที่ทันสมัยที่สุดในโลก 



โดยศูนย์แห่งนี้ให้บริการด้านการไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการ โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ห้องประชุม ที่ออกแบบพิเศษสำหรับการไกล่เกลี่ย โต๊ะที่เชื่อมต่อกันเป็นวงกลม สะท้อนถึงการทำงานร่วมกันและความเป็น

SIMC เป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยระหว่างประเทศที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2014 เพื่อสนับสนุนการแก้ไขข้อพิพาททาง

การค้าระหว่างประเทศ ด้วยความยึดหยุ่น ความรวดเร็ว และการรักษาความลับ โดยกระบวนการไกล่เกลี่ยของ SIMC มุ่งเน้นการหาข้อยุติที่เป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างคู่กรณี 



นางประกายรัตน์ กล่าวถึงการศึกษาดูงานครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบการไกล่เกลี่ยในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นต้นต้นแบบ

ของการแก้ไขข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกลาง และยังยืน องค์กรต่างๆ เช่น SIMC, SMC, SIMI, FIDReC, CMC, TADM และ CASE ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่ครอบคลุมทุกมิติของข้อพิพาท ทั้งในระดับ ชุมชน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ การนำแนวปฏิบัติของสิงคโปร์มาปรับใช้ในประเทศไทย อาจช่วยพัฒนากระบวนการไกล่เกลียข้อพิพาทในประเทศให้มีความก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป 





//


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น