วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568

คณะผู้บริหารสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน เดินทางเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

 คณะผู้บริหารสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน เดินทางเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง





เมื่อเวลา 15:30 น.วันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2568 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ถนนราชดำเนินกลาง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารสมาคมวิเทศพาณิชย์ ไทย-จีน ประกอบด้วย

☆ คุณกิตติพงษ์ เตรัตนชัย 鄭岳龍  / นายกกิตติมศักดิ์เกียรติคุณถาวร 永遠榮譽理事長

☆ คุณไชยไว พูนลาภมงคล 林齊銳  / นายกกิตติมศักดิ์เกียรติคุณถาวร 永遠榮譽理事長

☆ คุณเจริญ รุจิราโสภณ 馬志聯 / ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ 名譽顧問

☆ คุณวีระ วาณิชยพิทักษ์ 林俊然 / นายก 理事長

☆ คุณสุรพันธุ์ ชัยลิมปมนตรี 蔡培鑫  / อุปนายก 副理事長

☆ คุณสมชาย สินธวารยัน 马学光  / อุปนายก 副理事長

☆ คุณเกรียงศักดิ์ สุรางค์ศรีรัฐ 劉國強  / อุปนายก 副理事長

☆ คุณสรรพกฤต พรหมบันดาลกุล 蔡樹民  / อุปนายก 副理事長

☆ คุณชัยวุฒิ เล็กศรีสกุล 陸少濱 / เลขาธิการ 常務秘書

☆ คุณประวิทย์ กาญจนาปิ่นโชติ 鄭書光  / กรรมการผู้ตรวจสอบ 常務稽核

☆ คุณพรทิพย์ เจริญอาภรณ์วัฒนา 劉玉環  / กรรมการปฏิคม 常務交際

☆ คุณธนทัต ชวาลดิฐ 邵偉涵 / กรรมการบริหาร 常務理事

☆ คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ 文國華  / กรรมการบริหาร 常務理事

☆ คุณสมศักดิ์ เชิญวิริยะกุล  陳德仁  / กรรมการ 理事

เดินทางเข้าเป็นเจ้าภาพร่วมในพิธีสวดเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมด้วยถวายจตุปัจจัย












     จากนั้น คณะผู้บริหารสมาคมฯ เข้าร่วมในการเดินเวียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ ( พระเขี้ยวแก้ว ) พร้อมสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และเข้าชมนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยบริเวณมณฑลพิธีฯ แบ่งออกเป็น 5 โซนด้วยกัน ประกอบด้วย

[ โซนที่ 1 ] (ดับขันธปรินิพพาน มกุฎพันธนเจดียสถาน) โดยมีการนำเสนอเรื่องราวพุทธประวัติในการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จปรินิพพาน

[ โซนที่ 2 ) (พุทธะบารมีพระสรีระธาตุ) โดยมีการนำเสนอเรื่องราวประวัติของพระสรีระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุที่ได้อัญเชิญไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโลก

[ โซนที่ 3 ] (พระเขี้ยวแก้ว) โดยมีการนำเสนอเรื่องราวประวัติ ความสำคัญ และความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว)

[ โซนที่ 4 ] (ใต้ร่มเศวตฉัตร ทศมรัช พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว) โดยในส่วนนี้จัดแสดงเป็นนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยที่ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกและมีพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา สืบสานราชประเพณีสืบเนื่องมาจนเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

[ โซนที่ 5 ] (ความสัมพันธ์ ไทย-จีน) โดยมีการนำเสนอเรื่องราวและเหตุการณ์สำคัญที่สร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศจีนในด้านต่าง ๆ สะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ส่งเสริมคำว่า “จีนไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”












     เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และครบรอบ 50 ปี แห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน รัฐบาลจีนให้รัฐบาลไทย อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว จากวัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มาประดิษฐานในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่วคราว ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2567

     โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระเขี้ยวแก้ว จากสาธารณรัฐประชาชนจีนมาสู่ประเทศไทยเมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2567 และจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) กลับสู่สาธารณรัฐประชาชนจีนใน วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568












     ประวัติ พระเขี้ยวแก้ว วัดหลิงกวง ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นพระบรมสารีริกธาตุที่สำคัญของพระพุทธศาสนา เชื่อว่าเป็นพระทันตราตุศักดิ์สิทธิ์ (ฟัน) ของพระพุทธเจ้าซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ.1955 ภายในเจดีย์โบราณใกล้เมืองซีอาน และถูกนำมาประดิษฐานในอาคารพิเศษที่ วัดหลิงกวง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางแห่งศรัทธาในกรุงปักกิ่ง พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปริสลักขณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่ง กล่าวถึงลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคล ผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้เชื่อกันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์ โดยมี

1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์

2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกลิงคะ แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกาทวีป (วัดพระเขี้ยวแก้วประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน)

3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน (ซีอาน) โดยพระภิกษุฟาเหียน เมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายัง

อินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง

4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพพญานาค

     เป็นที่เชื่อกันว่าบนโลกมนุษย์ของเรานี้ มีพระเขี้ยวแก้ว ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ 2 องค์ นอกจากนี้ พระเขี้ยวแก้วยังจัดเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจาย องค์มีลักษณะแข็งแกร่งรวมกันแน่น พุทธศาสนิกชนจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระเขี้ยวแก้วเป็นอย่างมาก

     ความเป็นมาของ "พระเขี้ยวแก้ว" ที่มีเพียง 2 องค์ในโลก พระเขี้ยวแก้ว คือพระทันตธาตุส่วนเขี้ยวของพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎภภาษาบาลี มีการกล่าวถึง "มหาปุริสลักขณะ" หรือผู้ที่เกิดมามีลักษณะพิเศษของบุคคลสำคัญไว้ มีระบุถึงลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของมหาบุรุษว่า "เขี้ยวทั้งสี่งามบริสุทธิ์" และมีความเชื่อกันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์ด้วยกัน แล้วเหตุใดพระเขี้ยวแก้วจึงมีเพียง 2 องค์ในโลก เพราะเชื่อกันว่าพระเขี้ยวแก้วอีก 2 องค์ ได้ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และที่ภพพญานาค แห่งละ 1 องค์นั่นเอง ส่วนพระเขี้ยวแก้วที่ประดิษฐานอยู่บนโลกนั้นมีอยู่ 2 องค์ ได้แก่

(องค์ที่ 1) พระเขี้ยวแก้วที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว กลางเมืองแดนดี้ ที่ศรีลังกา เรียกกันว่าพระเขี้ยวแก้วศรีลังกา

(องค์ที่ 2) พระเขี้ยวแก้วที่วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน วัดที่มีความเป็นมาอันยาวนานกว่า 1,000 ปี ซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ.1955 ภายในเจดีย์โบราณใกล้เมืองซีอาน ก่อนนำมาประดิษฐานวัดหลินกวง และมีการอัญเชิญไปประดิษฐานในประเทศต่าง ๆ มาแล้ว 16 ครั้ง โดยประเทศไทยเคยได้ประดิษฐานครั้งแรกเมื่อปี 2545 เมื่อครั้งในสมัยรัชกาลที่ 9 ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์สำคัญ อันเป็นสิริมงคลหนึ่งของประเทศไทย

     พระเขี้ยวแก้ว สัญลักษณ์แห่งอำนาจและปัญญา ตำนานความเชื่อเกี่ยวกับพระเขียวแก้วเนื่องจากมีด้วยกัน 2 องค์ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงมีความเชื่อหลัก ๆ แบ่งเป็น 2 ทาง ได้แก่ พระเขี้ยวแก้วศรีลังกา และพระเขี้ยวแก้วจีน ซึ่งมีรายละเอียดแตก

ต่างกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วเชื่อกันว่าพระเขียวแก้วคือสิ่งสำคัญสูงสุดหนึ่งอันเป็นที่เคารพสักกา

ระของชาวพุทธ


     สำหรับพระเขี้ยวแก้วศรีลังกา มีที่มาความเชื่อจากคัมภีร์มหาวงศ์ ที่บันทึกถึงการมาเยือนศรีลังกาของพระพุทธเจ้าเอาไว้ 3 ครั้ง ถือเป็นรากฐานศาสนาพุทธมาจนถึงปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วที่เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าจึงเชื่อกันว่า หากผู้ใดครอบครองจะเป็นผู้มีอำนาจดุจราชา ด้วยเหตุนี้ พระเขี้ยวแก้วศรีลังกาจึงประดิษฐานอยู่ประเทศศรีลังกามายาวนานกว่า 1,700 ปี และมีผู้คนเข้ามาสักการะอยู่เสมอ และไม่เคยถูกนำไปประดิษฐานที่อื่นเลยแม้แต่ครั้งเดียว













     ในส่วนของพระเขี้ยวแก้วจากวัดหลินกวง เชื่อกันว่า ผู้คนต่างมองเห็นพระเขี้ยวแก้วในลักษณะและสีที่แตกต่างกัน บางคนเห็นเป็นสีทองล้วน บ้างเห็นเป็นสีขาวล้วนหรือขาวหม่น ขึ้นอยู่กับกรรมของแต่ละคน นอกจากนี้ยังเชื่อว่า พระเขี้ยวแก้วถือเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเดิม เป็นสัญลักษณ์แห่งพระปัญญาและการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเขี้ยวแก้วจากวัดหลิงกวง สาธารณรัฐประชาชนจีน มาประดิษฐานที่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราว เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และในโอกาสครบรอบ 50 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - จีน โดยมีกำหนดเปิดให้ประชาชนสักการะระหว่าง วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2567 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568 เป็นระยะเวลา 73 วัน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ตั้งแต่เวลา 07.00 - 20.00 น.และจะมีกำหนดอัญเชิญกลับประเทศจีนในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568

     ทั้งนี้ พิธีสักการะจะมีขึ้นทุกวันแบ่งเป็น พิธีเจริญพระพุทธมนต์ช่วงเช้า เวลา 10.00 - 12.00 น.

และช่วงเย็น เวลา 16.00 น.เป็นต้นไป และพิธีเจริญจิตตภาวนาซึ่งจะมีขึ้นทุกวันพระ

     นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมตามวันสำคัญ ได้แก่ กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี, กิจกรรมวันปีใหม่, กิจกรรมวันตรุษจีน (วันขึ้นปีใหม่จีน) และกิจกรรมวันมาฆบูชา

     โอกาสนี้จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนที่มีจิตศรัทธา สามารถเดินทางไปสักการะได้ตามวันและเวลาที่กำหนด

     มาทำความรู้จักกับวัดหลิงกวงกันครับ วัดหลิงกวงมีที่ตั้งอยู่บนเชิงเขาทางทิศตะวันออกของเทือกเขาด้านตะวันตกของกรุงปักกิ่ง มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,000 ปี โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและบรรยากาศที่สงบงดงาม มีชื่อเสียงในฐานะสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระเขี้ยวแก้วของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นหนึ่งในสถานที่แสวงบุญสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั้งในจีนและจากต่างประเทศเมื่อปี ค.ศ.1983 วัดหลิงกวง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวัดพุทธสำคัญในพื้นที่วัฒนธรรมจีนฮั่นโดยคณะรัฐมนตรีจีน ปัจจุบันอยู่ภายใต้การบริหารของคณะสงฆ์ซึ่งพุทธสมาคมจีน มอบหมายแต่งตั้งพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) ที่วัดหลิงกวง ประดิษฐานอยู่ภายในพระสถูปทองคำประดับอัญมณี องค์พระเขี้ยวแก้วมีขนาดยาวประมาณ 1 นิ้ว เชื่อกันว่าบุคคลต่าง ๆ มองเห็นองค์พระเขี้ยวแก้ว มีสีต่างกันไป บ้างเห็นเป็นสีขาวล้วน บ้างเห็นเป็นสีทอง บ้างเห็นเป็นสีขาวหม่น ซึ่งเป็นไปตามกรรมที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล แม้องค์พระบรมสารีริกธาตุจะมิใช่สภาวธรรมที่เป็นแก่นของพระพุทธศาสนาแต่ก็เป็นเครื่องชี้ทางและสะพานให้พุทธศาสนิกชนเดินหน้าไปสู่เป้าหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาได้ เป็นสัญลักษณ์แห่งพระปัญญาตรัสรู้แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระเขี้ยวแก้วเป็นศูนย์รวมศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกที่เดินทางมาสักการะและแสวงบุญเพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้าพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาและแรงบันดาลใจบนเส้นทางธรรม

     ทั้งนี้ สำหรับศาสนิกชนชาวไทยและต่างชาติสามารถเดินทางมาร่วมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) จากวัดหลิงกวง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อความเป็นสิริมงคลในชีวิตได้ ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07.00 - 20.00 น. ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร


ขอขอบคุณ

คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์

กรรมการบริหารสมาคมฯ/ ที่ปรึกษานิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน

สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น