วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สืบนครบาล รวบ หนุ่มนักตุ๋นแอบอ้างรู้จักบิ๊กตำรวจ หลอกว่าสามารถช่วยประกันตัวชาวจีนได้ สูญเงินกว่า 1.1 ล้านบาท

 สืบนครบาล รวบ หนุ่มนักตุ๋นแอบอ้างรู้จักบิ๊กตำรวจ หลอกว่าสามารถช่วยประกันตัวชาวจีนได้ สูญเงินกว่า 1.1 ล้านบาท

.


             ตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. , พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. ,พล.ต.ท.สำราญ นวลมา  ผู้ช่วย ผบ.ตร. ให้ปราบปรามกลุ่มเครือข่ายองค์กรอาชญากรรมที่กระทำความผิดทุกรูปแบบซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้สุจริต


         เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ,พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. ,พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น. , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย รอง ผบก สส.ฯ , พ.ต.อ.วิชิต  ถิรขจรวงศ์ ผกก.สส.1ฯ,พ.ต.ท.พีรบูรณ์ แก้วดู รอง ผกก.สส.1ฯ ,พ.ต.ท.เอกศิษฐ์ วรกิตติ์ฐากรณ์  รอง ผกก.สส.1ฯ ได้สั่งการให้ พ.ต.ท.พัฒน์พงษ์ กื้อมะโน สว.กก.สส.1ฯ พร้อมชุดปฎิบัติการที่ 2 ดำเนินการจับกุม



         นายธนจิตร มาลีบำรุง อายุ 27 ปี  ที่อยู่ 130 ม.2 ต.ขามเปี้ย อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ดนายธนจิตร อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลแขวงพระนครเหนือที่ 645/2566 ลงวันที่ เดือนธันวาคม 2566 

       ซึ่งต้องหากระทำความผิดฐาน "ฉ้อโกง" 

      จับกุมได้ที่ บริเวณหน้าห้องเช่า พัฒนาการ ซอย 10/1 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ

.


พฤติการณ์ เมื่อประมาณเดือน มีนาคม 2565 ผู้เสียหายชาวจีนได้รู้จักกับนายธนจิตร ผู้ต้องหา โดยมีเพื่อน

เป็นคนแนะนำให้รู้จัก ต่อมามีเพื่อนของผู้เสียหาย ซึ่งเป็นคนจีน ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการจับกุม ในความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ได้ถูกเจ้าที่หน้าที่ตำรวจตม.3 คุมขัง ซึ่งผู้เสียหายมีความประสงค์ที่จะประกันตัวเพื่อนออกมาต่อสู้คดี ทางนาย ธนจิตรฯ ผู้ต้องหาอ้างว่าตนเองสามารถช่วยเหลือ เรื่องประกันตัวได้ แล้วเสนอว่าพ่อของตนเองเป็นทหารยศพลตรี สนิทกับบิ๊กตำรวจสนิทกับรองผบช.สอบสวนกลาง ให้ความช่วยเหลือในเรื่องประกันตัวได้ และผู้เสียหายบอกนาย ธนจิตรฯ ผู้ต้องหาว่า มีงบในการประกันตัวอยู่ 500,000 บาท โดยเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2566 นายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา บอกให้ผู้เสียหายโอนเงิน จำนวน 50,000 บาท ว่าเป็นค่าเลี้ยงอาหารผู้ใหญ่เป็นรอง ผบช.สอบสวนกลาง ไปทานข้าว โดยผู้เสียหาย ให้เงินสดกับแฟนซึ่งเป็นคนไทย จากนั้นนำเงินไปเข้าบัญชีธนาคาร ทำการโอนเงินให้กับนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา โดยโอนเข้าบัญชีธนาคาร กรุงไทย ชื่อบัญชี นายนิรันดร  ซึ่งนาย ธนจิตรฯ ผู้ต้องหาแจ้งว่าเป็นบัญชีของพ่อของนายธนจิตรฯ โดยบอกว่าบัญชีธนาคารกรุงไทยของตนเอง กำลังปรับปรุงไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้ และในวันเดียวกันนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา แจ้งว่าให้โอนเงินมาให้ตนเองอีก จำนวน 42,600 บาทโดยให้โอนเงินมาเข้าอีกบัญชีหนึ่งเป็นบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ ชื่อบัญชีนายนภปก ผู้เสียหายจึงให้แฟนโอนเงินอีกจำนวน 44,200 บาท และจำนวน 400 บาท

      ต่อมา วันที่ 17 กันยายน 2565 นายธนจิตรฯ บอกว่า ต้องการเงินก่อนเป็นจำนวนเงิน400,000 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้เสียหายได้ให้เงินนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ไปแล้วเป็นจำนวน 92,600 บาท เหลืออีกจำนวน 307,400 บาท จากนั้นจึงให้เพื่อนของเพื่อน ช่วยโอนเงินไปให้นาย ธนจิตรฯอีกจำนวนเงิน 307,400 บาท ต่อมาวันที่ 20 กันยายน 2565 นายธนจิตรฯ แจ้งว่า รองผู้บังคับการตม.3 (พัทยา) ต้องการเงินอีก จำนวน

200,000 บาท ในการประกันตัว ถ้าไม่เช่นนั้น จะไม่ได้ประกันตัว ผู้เสียหายจึงให้แฟนของเพื่อน ทำการโอนเงินจำนวน 200,000 บาท ไปยังบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี นายนิรันดร แล้วนายธนจิตรฯ

บอกว่า วันที่ 5 ตุลาคม 2565 ให้ไปรับตัวเพื่อนได้เลย ต่อมาเมื่อถึงวันที่ 5 ตุลาคม2565 ก็ไม่สามารถประกันตัวได้อีก โดยนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา อ้างว่า ผู้บังคับการตม.3 ต้องการเงินเพิ่มอีก จำนวน

400,000 บาท จึงนัดหมายให้ส่งเงินกันในวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ถ้าให้เงินอีกจำนวน 400,000 บาท

โดยนัดหมายส่งมอบเงินกันที่ ห้างเดอะสตรีชรัชดา และในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ก็สามารถประกันตัวออกมาได้เลย  ต่อมาวันที่ 7 ตุลาคม 2565 ก็ได้นำเงินสดจำนวน 400,000 บาท ไปมอบให้กับนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา

กับพวกอีก 2 คน ที่ห้างเดอะสตรีช รัชดาฯ ต่อมาเมื่อถึงวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ก็ยังไม่สามารถประกันตัวเพื่อนได้อีกเลย โดยบอกว่า ผู้บังคับการ ตม.3 ต้องการเงินอีกจำนวน 600,000 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 1,000,000 บาท แต่ผู้เสียหายไม่ตกลงด้วย

.


จากนั้นนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ยังอ้างอีกว่า จะหาผู้ใหญ่คนอื่นมาช่วยอีก โดยอ้างว่า เป็นสจ. เป็นเจ้าของเกาะสีชัง ให้เงินอีกจำนวน 50,000 บาท เพื่อไปเลี้ยงข้าวผู้ใหญ่อีกต่อมาเมื่อถึงวันที่ 18 ตุลาคม 2565 จึงโอนเงินจำนวน 50,000 บาท ไปให้นายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ต่อมาวันที่ 24 ตุลาคม 2565 นายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ได้โทรศัพท์มาบอกข้าฯ ว่า ต้องการเงินอีกจำนวน 30,000 บาทไปเลี้ยงข้าว ผู้บังคับการตม.3 จึงให้แฟนของเพื่อน ทำการโอนเงินให้กับนายธนจิตรฯ

ผู้ต้องหา จากนั้น นายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ยัง

บอกผู้เสียหาย อีกว่า สจ. ต้องการเงินอีกจำนวน 500,000 บาท แต่ผู้เสียหายไม่ยอม นายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา จึงบอกว่าจะหาทนายความไปดำเนินการให้ โดยต้องจ่ายค่าจ้างให้กับ ทนายความเป็นจำนวนเงิน 70,000 บาท โดยได้ทำการโอนเงิน จำนวน 70,000 บาท ไปยังบัญชีธนาคารของนายธนจิตรฯ แต่ก็ไม่ได้ประกันตัว ทำให้เกิดความสงสัยว่า พ่อของนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ที่ชื่อนิรันดร ทำไม ไม่มียศพลตรี เมื่อโอนเงินให้บัญชีพ่อของ นายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา และต่อมาได้โทรติดต่อนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา ก็ไม่ค่อยจะรับสาย บ่ายเบี่ยงเรื่อยมาว่าติดธุระ จนถึงเมื่อวันที่ 28 เมษายน จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวง รวมเป็นเงินทั้งหมดที่ได้ถูกลวงหลอกให้โอนเงินเป็นเงินจำนวน 1,150,000 บาท จึงได้มาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีต่อ พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับนายธนจิตรฯ ผู้ต้องหา กับพวกตามกฎหมายให้ถึงที่สิ้นสุดต่อไป

.

ในชั้นจับกุม ผู้ต้องหานายธนจิตรฯรับสารภาพว่ารู้จักเพื่อนของผู้ต้องหาจริง และอ้างว่ารู้จักกับนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ และอ้างเพิ่มเติมว่าพ่อของตนเป็นนายทหารยศพลตรี สามารถให้ความช่วยเหลือได้ประกันตัว ผู้ต้องหาชาวจีนที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจตม.จับไปให้ออกมาได้  จากนั้นมีการออกอุบายให้โอนเงินผ่านนายนิรันดร ฯ บิดา จำนวนหลายแสนบาท และอีกจำนวนหลายก้อน แม้กระทั่งเงินสดที่อ้างว่านำไปเลี้ยงข้าวผู้ใหญ่ ซึ่งตนนำไปใช้ส่วนตัว และไม่ติดต่อผู้เสียหายเพราะตนได้หลบหนีไปอยู่ต่างจังหวัด  จนตัวเองกลับมาทำงานที่กรุงเทพมหานคร ได้เพียง 2 เดือน ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสืบนครบาลจับกุมตัวได้ และจากการสอบถาม พบว่าพ่อของผู้ต้องหาทำงานเชียร์แขกในสถานบันเทิงแห่งหนึ่ง ไม่ได้เป็นทหารตามกล่าวอ้างแต่อย่างใด จากนั้นได้นำตัว ส่ง สน.ห้วยขวาง ดำเนินการต่อไป

.

พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐไม่มีนโยบายให้การช่วยเหลือผู้ต้องหาในทางคดีอาญาในทุกคดี อย่าหลงเชื่อบุคคลที่แอบอ้างว่ารู้จักบิ๊กตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ หรือนักการเมืองใหญ่โต ดังที่ปรากฎตามหน้าข่าวปัจจุบัน ว่าสามารถให้การช่วยเหลือในคดีต่างๆได้ โดยที่ต้องใช้เงินในการวิ่งเต้นต่างๆ ขอให้ท่านมีสติ ต่อสู้ไปตามกระบวนการทางกฎหมาย สุดท้ายหากท่านพบการกระทำในลักษณะดังกล่าว ให้รีบโทรแจ้งเรื่องร้องเรียนที่เบอร์ 1599 สายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือแจ้งที่สถานีตำรวจใกล้บ้านของท่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น