วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ผบ.ตร. มอบหมายขับเคลื่อน ให้ คณะทำงานป้องกันและปราบปรามการขับขี่รถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น แข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนและสร้างความปลอดภัยในสังคม

 ผบ.ตร. มอบหมายขับเคลื่อน ให้ คณะทำงานป้องกันและปราบปรามการขับขี่รถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น แข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนและสร้างความปลอดภัยในสังคม





ในปี2567 ที่ผ่านมา  พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร.ได้ มอบหมายให้ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ  พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร.รับผิดชอบกำกับการบริหารราชการหน่วยงาน รวมทั้งสั่งและปฏิบัติราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในงานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามนโยบายของรัฐบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงแต่งตั้งคณะทำงานป้องกันและปราบปรามการขับขี่รถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น แข่งรถในทาง และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยให้ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ทั้งในระดับ ตร. บช.และ บก.หรือ ภ.จว. ในห้วง ตลอด 9 เดือนที่ผ่านมา



คณะทำงานฯ ได้ขับเคลื่อนอย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมาย ในการลดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน จากการขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ โดยในลักษณะก่อความเดือดร้อนรำคาญ ไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่น และความผิดต่างๆที่เกี่ยวข้องอันจะส่งผลต่อ การอาชญากรรมที่รุนแรงอื่นๆ เช่น ทะเลาะวิวาท หรือความผิดเกี่ยวกับ ทรัพย์ โดยเฉพาะ การลดความบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ



จากสถิติ ที่ผ่านมาตรวจสอบผลการรับแจ้งเหตุร้องเรียนเกี่ยวกับการขับขี่รถโดยไม่คำนึงถึง ความปลอดภัยฯ ผ่านทางสายด่วน 191 และ 1599 พบว่า มีการรับแจ้งเหตุร้องเรียนทั้งสิ้น จำนวน 3,489 ราย โดยหน่วยที่มีการผลการรับแจ้งเหตุน้อยที่สุด คือ ภ.5 จำนวน 115 ราย รองลงมา ได้แก่ ภ.6 จำนวน 151 ราย และ ภ.9 จำนวน 238 ราย มีสถิติการรับแจ้งดังกล่าว ลงจากค่าเฉลี่ยสามปีก่อน คือ 2564 2565และ 2566 ที่มียอดรับแจ้ง 4,645 ราย ถึง 1,156 ราย



จากนั้นคณะทำงานได้ประชุม วางมาตรการ ในการแก้ไขปัญหา ทุกมิติ ทั้ง การป้องกัน ปราบปราม สืบสวนขยายผล ประชาสัมพันธ์  โดยดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิด ในข้อหาหลัก ทั้งผู้ขับขี่และผู้สนับสนุน ทั้งสิ้นจำนวน 
491 ราย เป็นข้อหา แข่งรถในทาง 38 ราย พยายามแข่งรถในทาง 6 ราย ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยฯ หรือเดือดร้อนของผู้อื่น 150 ราย ขับรถโดยลักษณะผิดปกติวิสัย 24 ราย ดำเนินคดีกับบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง 203 ราย และดำเนินคดีกับร้านขาย/ดัดแปลงรถหรืออุปกรณ์ 61 ราย 



มีมาตรการจับกุมในข้อหารอง ด้วยการดำเนินการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรฯ (ระบบ PTM) ในความผิดที่เกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 176,947 ราย เป็นข้อหาขับขี่รถจักรยานยนต์ประมาทน่าหวาดเสียว 
487 ราย ขับรถประมาทหวาดเสียว 29,497 ราย ใช้รถที่มีส่วนควบคุมหรืออุปกรณ์ไม่ครบถ้วน จำนวน 91,794 ราย เปลี่ยนแปลงตัวรถฯ จากรายการที่จดทะเบียน 55,169 


ในด้านการป้องกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจพื้นที่ และถ้าหากพบ บุคคล เยาวชน ที่มีความเสี่ยงที่อาจกระทำความผิด ก็จะได้ บันทึกในระบบ การบันทึกข้อมูลกลุ่มเสี่ยง/ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงในระบบ CRIMES พบว่า มีการบันทึกข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 27,522 รายการ ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะวางแผนในการออกตรวจ สืบสวน หรือ จับกุมผู้กระทำความผิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลายกองบังคับการ ได้มีกิจกรรมให้ความรู้กับเยาวชนกลุ่มเสี่ยง ตามสถานศึกษา จากข้อมูลที่มี ในโครงการ “เปิดโรงเรียนเปิดโรงรถ” อันเป็นการยับยั้งการกระทำความผิดตั้งแต่ต้นทาง


นอกจากนั้น ยังมี การบันทึกข้อมูล ร้านซ่อมรถ ร้านแต่งรถหรือ ขายอุปกรณ์ ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบผลการบันทึกข้อมูลร้านขาย/ดัดแปลงรถฯ ในระบบ CRIMES พบว่า มีการบันทึกข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 21,499  และมีการตรวจ ตลอดจน ประชาสัมพันธ์ เพื่อมิให้สนับสนุน ส่งเสริมการกระทำความผิดด้วย


ในประเด็นสาระสำคัญของการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ให้ความสำคัญกับการดำเนินคดีอย่างเป็นระบบครบวงจรและนำผลการดำเนินคดีมาประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้พี่น้องประชาชนโดยเฉพาะบิดามารดาผู้ปกครองเพื่อให้รู้และเข้าใจถึงอัตราโทษซึ่งมีมาตรการในการริบรถจักรยานยนต์ของกลางด้วย อันจะเป็นการเพิ่มภาระยิ่งขึ้น เพราะปัจจุบันก็มีความบีบคั้นในเรื่องเศรษฐกิจมากอยู่แล้ว หากปล่อยปะละเลยจนลูกหลาน มากระทำความผิด ก็จะทำให้มีอัตราโทษที่ศาลจะลงโทษและริบรถจักรยานยนต์ของกลางในที่สุด


เมื่อแยกดูผลการปฏิบัติในระดับกองบัญชาการและข้อบังคับการนำตัวชี้วัดดังกล่าวมาคิดเป็นค่าคะแนนและประเมินขีดความสามารถในการป้องกันปราบปราม มีผลการปฏิบัติดังนี้


ระดับ บช./ภ. หน่วยที่มีผลการปฏิบัติ 3 อันดับแรก ประกอบด้วย

อันดับที่ 1 ได้แก่ ภ.3 

ผู้รับผิดชอบ พล.ต.ต.พรชัย  นลวชัย  รอง ผบช.ภ.3

อันดับที่ 2 ได้แก่ บช.น.

ผู้รับผิดชอบ พล.ต.ต.ชรินทร์  โกพัฒน์ตา  รอง ผบช.น.

อันดับที่ 3 ได้แก่ ภ.8

ผู้รับผิดชอบ พล.ต.ต.ศรัญญู  ชำนาญราช  รอง ผบช.ภ.8


ระดับ บก.น./ภ.จว. หน่วยที่มีผลการปฏิบัติ 5 อันดับแรก ประกอบด้วย

อันดับที่ 1 ได้แก่ ภ.จว.บุรีรัมย์

ผู้รับผิดชอบ พ.ต.อ.ชูสิทธิ์  หล่อแสง  รอง ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์

อันดับที่ 2 ได้แก่ ภ.จว.นครราชสีมา

ผู้รับผิดชอบ พ.ต.อ.ณรงค์  เสวก  รอง ผบก.ภ.จว.นครราชสีมา

อันดับที่ 3 ได้แก่ บก.น.2

ผู้รับผิดชอบ พ.ต.อ.ศักดิ์สิทธิ์  มีสวัสดิ์  รอง ผบก.น.2

อันดับที่ 4 ได้แก่ ภ.จว.นนทบุรี

ผู้รับผิดชอบ พ.ต.อ.ภูมิธัช  โฆษิตวนิชพงศ์ รอง ผบก.ภ.จว.นนทบุรี

อันดับที่ 5 ได้แก่ ภ.จว.สระแก้ว

ผู้รับผิดชอบ พ.ต.อ.ไกลเขต  บุรีรักษ์  รอง ผบก.ภ.จว.สระแก้ว

โดยจะได้นำผลการปฎิบัติที่ดีดังกล่าวประกอบการพิจารณาเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานต่อไป


จากการทำงานดังกล่าวเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายจะยังคงมีความเคร่งครัด เพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดความหวาดกลัวภัยที่เกิดจากอาชญากรรมทุกประเภทมอันจะนำมาสู่เป้าหมายสูงสุดคือความเชื่อมั่นศรัทธาที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น