วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2567

"ผู้ใหญ่ใจดี" ส่งธารน้ำใจช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ในโครงการ BKK Food Bank ณ สำนักงานเขตบางขุนเทียน

 "ผู้ใหญ่ใจดี" ส่งธารน้ำใจช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ในโครงการ BKK Food Bank ณ สำนักงานเขตบางขุนเทียน



เวลา 15:00 น.วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2567 ณ สำนักงานเขตบางขุนเทียน เลขที่ 164 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร คณะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาเขตบางขุนเทียน (คคพ.) นำโดย นายนิพนธ์ อรรถวิโรจน์ ประธานคณะขับเคลื่อนฯ, คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ กรรมการฯ, นางสาวอิงฟ้า ประยูรสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน, ครูเอมอร วัฒนา ร่วมเป็นผู้แทนเข้ามอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นต้องใช้ในการดำรงค์ชีพ ซึ่งทางคณะฯ ได้ร่วมกับทางผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมให้การสนับสนุน โดยมี







☆ คุณอภิวิชญ์ กิจกำจาย

☆ คุณอดิศักดิ์ พนิตวงศ์ 

☆ คุณชาลี รัตนวชิรินทร์

☆ คุณเกรียงศักดิ์ เตียงพิทยากร

☆ คุณทวีศักดิ์ แก้วโมราเจริญ

☆ คุณพิเชษฐ พรอรุณธรรม 

☆ คุณสุพรรณี เอกพิพัฒนชัย 

☆ คุณศักดิ์ชัย ปัญญาวรกุลชัย 

☆ คุณเอกพันธ์ ปิติเศรษฐการ

☆ คุณวิชัย ชายเสรีล้ำเลิศ 

☆ ดร.พรทิพย์ เตชะผกาพงษ์

☆ คุณกำชัย เตชะวิเชียร

☆ คุณวรสิทธิ์ ปลื้มสัมพันธ์

☆ คุณมานพ จินานุวัฒนา 

☆ คุณอนันต์ ภูติกชกร 

☆ คุณเมียวดี ดีพูน รองผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก บางขุนเทียน

     ร่วมส่งมอบสิ่งของอุปโภค-บริโภค เข้าสนับสนุนในโครงการ BKK Food Bank ในครั้งนี้ โดยมีสิ่งของประกอบด้วย

☆ ข้าวสาร 300 ถุง

☆ แพมเพิส 10 ลังใหญ่ 

☆ น้ำดื่ม 1,200 ขวด

☆ ไอศครีมเจปัง 300 ชุด

☆ มาม่า 1,350 ซอง

☆ ปลากระป๋อง 350 กระป๋อง 

☆ น้ำปลาขวดใหญ่ 300 ขวด

☆ กระดาษทิชชู 300 ม้วน

     และในโอกาสนี้ นางภัสรา นทีทอง ผู้อำนวยการเขตบางขุนเทียน พร้อมด้วย นายสารัช ม่วงศิริ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางขุนเทียน, นางสาวฉันทนา งามถิ่น หัวหน้าฝ่ายปกครอง เป็นตัวแทนรับมอบ ข้าวสารอาหารแห้ง และสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่ทางคณะฯได้นำมามอบในวันนี้







     โครงการ BKK Food Bank มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ปัญหาอาหารเหลือทิ้ง (food waste) ที่ทำให้เกิดความเสียหายทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และหน่วยงานที่ดำเนินการอยู่เดิม รวบรวมส่งต่อวัตถุดิบและอาหารส่วนเกิน (food surplus) จากผู้ประกอบการและผู้ที่ต้องการส่งต่อความช่วยเหลือ (ผู้ให้) เช่น ผู้ประกอบการโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ตลาด คอมมิวนิตี้มอลล์ และศูนย์อาหาร (food court) สู่ผู้ที่ต้องการ เช่น กลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนจนเมือง หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติและสาธารณภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (food security) ให้แก่ประชาชนในกรุงเทพมหานครและสร้างกลไกส่งต่อความช่วยเหลือระหว่างผู้ให้และผู้รับอย่างยั่งยืนต่อไป


ขอขอบคุณ

คุณพิพัฒน์ กนกนิตย์อนันต์ กรรมการฯ/ ที่ปรึกษานิตยสารตำรวจเพื่อมวลชน

สนับสนุนข้อมูลข่าวสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น