วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

จ.ราชบุรี/พช.ราชบุรี (สพอ.บ้านคา) ร่วมกับ อ.บ้านคา รวมพลังสตรีสตรี จัดกิจกรรม‘ย้อนวันวาน สตรีอาสา 2567” สับปะรดหวานบ้านคา

 จ.ราชบุรี/พช.ราชบุรี (สพอ.บ้านคา) ร่วมกับ อ.บ้านคา รวมพลังสตรีสตรี จัดกิจกรรม‘ย้อนวันวาน สตรีอาสา 2567” สับปะรดหวานบ้านคา



เมื่อวันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 19.00 น. ณ เวทีหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านคา

 นายอดุลย์ ถาวรกุล นายอำเภอบ้านคา มอบหมายให้ นายชวลิต ประทีป ปลัดอาวุโสอำเภอบ้านคา รักษาราชการแทนนายอำเภอบ้านคา เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ย้อนวันวาน สตรีอาสา 2567” สับปะรดหวานบ้านคา โดยมี นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี นางสมพิศ หลวงแจ่ม พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดราชบุรี ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี นางสาวภัทรลภา สุริโย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นายณัฎฐิพล วงศ์เมธี ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน รักษาราชการแทนพัฒนาการอำเภอบ้านคา หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และประชาชนชาวบ้านคา ร่วมงาน และมี นางปราณี ร่มโพรีย์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีอำเภอบ้านคากล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน




 งาน “ย้อนวันวาน สตรีอาสา 2567” สับปะรดหวานบ้านคาในวันนี้ มีกิจกรรมประกอบด้วย ดนตรีรำวงย้อนยุค การกินเลี้ยงสังสรรค์ การมอบประกาศเกียรติคุณสตรีดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติเป็น 

“ คณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบลดีเด่น อำเภอบ้านคา ประจำปี 2567” จำนวน 9 คน มีรายนามดังนี้

1. นางลีระวรรณ เพียรกิจสกุล ตำบลบ้านบึง

2. นางสาวนันทิยา ห่วงทอง ตำบลบ้านบึง

3. นางสมศรี วรรณนะ ตำบลบ้านบึง

4. นางอนงค์ บุญวัดช้าง ตำบลหนองพันจันทร์

5. นางไผ่ล้อม บุญธรรม ตำบลหนองพันจันทร์

6. นางมณฑา ทัดทอง ตำบลหนองพันจันทร์

7. นางสังวาลย์  การสมทบ ตำบลบ้านคา

8. นางสาวศศิวรรณ  สามเสน ตำบลบ้านคา

9. นางกุหลาบ  อิรัชวา ตำบลบ้านคา




 ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้เริ่มดำเนินงานส่งเสริมการพัฒนาสตร์ในชนบท ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 จนถึงปัจจุบัน มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้สตรีมีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนของตนเองควบคู่ไปกับบุรุษ ในการจัดงานวันนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อเป็นการจัดหาทุนในการพัฒนาองค์กรสตรีทุกระดับ ส่งผลให้สตรีมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างความเชื่อมั่น ในตนเองสามารถช่วยเหลือสังคมได้

2. เพื่อแสดงพลังสตรีก่อให้เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ

3. เพื่อเชิดชูเกียรติสตรีที่ช่วยเหลือสังคม ให้บุคคลทั่วไปทราบ เป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ทำความดี




สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น