วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

อำนาจเจริญ : รองผู้ว่าฯ อำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดการเสวนา เมืองธรรมะเกษตร (สังคมฮักแพงแบ่งปัน) ร่วมกับส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ณ ตลาดชุมชนน้อยแก่งคูณ

 อำนาจเจริญ : รองผู้ว่าฯ อำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดการเสวนา เมืองธรรมะเกษตร (สังคมฮักแพงแบ่งปัน) ร่วมกับส่วนราชการ และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ณ ตลาดชุมชนน้อยแก่งคูณ




เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. นายประทีป บริบูรณ์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ มาเป็นประธาน เสวนา เมืองธรรมะเกษตร (สังคมฮักแพงแบ่งปัน) ชุมชนน้อยแก่งคูณ ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมกับ นายวิรัตน์ สุขกุล ประธาน เมืองธรรมเกษตร  ประธานปปช.สตรอง วิจัยม.อุบลราชธานี ปลัดอาวุโส สาธารณสุขจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด เทศบาลเมือง อาสาและพี่น้องประชาชน.                                              




โดยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ที่ ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ศูนย์ธรรมะเกษตร ตั้งศูนย์จัดงานบุญ ขอรับบริจาค จากพี่น้องประชาชน ชาวโนนหนามแท่ง ได้สิ่งของเครื่องใช้ ข้าวสารอาหารแห้ง เงินจำนวนหนึ่ง ดังนี้ ข้าวสาร 1,135 กิโลกรัม เสื้อผ้าจำนวนมาก เงิน 33,505 บาท สังคมฮักแพงแบ่งปัน ชาวโนนหนามแท่ง เอ็นดูเอื้ออาทรซึ่งก็แล้วกันเป็นอย่างดี                 วันนี้  ณ ตลาดชุมชน น้อยแก่นคูน ตำบลบุ่ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจ เจริญได้นำสิ่งของที่ชาวโนนหนามแท่งบริจาคมา โดยนายประทีป บริบูรณ์รัตน์ พร้อมด้วยอาสาประชาชน มอบสิ่งของให้กับชาวชุมชนน้อยแก่นคูน จำนวน 48 คน แยกเป็นผู้สูงอายุ และติดเตียงจำนวน 13 คน ผู้สูงอายุยากจน จะต้องดูแลลูกหลานทางจิต ลูกหลานที่ติดยาเสพติด จำนวน 17 คน ผู้สูงอายุยากจน อยู่คนเดียวเพียงลำพัง ไม่มีใครดูแล บางครั้ง จะมีคนรอบข้าง มาดูแลเป็นครั้งเป็นคราว จำนวน 5 คน ผู้สูงอายุ พอที่จะมีอยู่มีกินจำนวน 15 คน ซึ่งทั้งหมดรวม 48 คนนี้ได้อาศัยเพียงเบี้ยยังชีพและเงินบริจาคจากทางราชการ 





หลังจากนั้นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญได้มอบสิ่งของเครื่องใช้ ข้าวสารอาหารแห้งให้กับพี่น้องประชาชนที่เข้าร่วมงาน สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงานในครั้งนี้  เพื่อแบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้รวมทั้งให้การช่วยเหลือ ให้กับผู้ด้อยโอกาส จึงส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยง และจัดกลไกการขับเคลื่อน งานพัฒนา ร่วมกันระหว่าง ขบวนการองค์กรชุมชน หน่วยงานภาคีต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคประชาชน ตลอดจนถึงการดำเนินการแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น โดยองค์กรชุมชนเป็นแกนหลัก ผ่านประเด็นงานพัฒนาที่หลากหลาย การส่งเสริมจัดทำแผนแม่บทชุมชน ฟื้นชุมชนท้องถิ่น และสวัสดิการชุมชน.                                                   


รัฐชพนฐ์ นันธ์ตวัน/ภาพ/ข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น