วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2567

จังหวัดสุราษฎร์ธานีสนองนโยบายกระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล ปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ

 จังหวัดสุราษฎร์ธานีสนองนโยบายกระทรวงมหาดไทยขับเคลื่อนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล ปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ 





  บ่ายวันนี้ (22 มี.ค.67)  นายเจษฎา  จิตรัตน์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  มอบหมายให้นายมนตรา  พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นประธานเปิดกิจกรรมในงาน “MOI Waste Bank Week - มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ”  ที่จัดขึ้น ณ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ตามนโยบายกระทรวงมหาดไทย ในการขับเคลื่อนการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนคัดแยกขยะรีไซเคิลในครัวเรือน และสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำแนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ภายใต้หลักการ 3R คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่ รณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลดปริมาณขยะ และคัดแยกขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลไปจำหน่าย เพื่อให้มีรายได้กลับคืนสู่ชุมชน สามารถพัฒนาเป็นการจัดสวัสดิการในรูปแบบต่างๆ ให้กับสมาชิกธนาคาร เช่น ทุนการศึกษา ประกันชีวิต ฌาปณกิจสงเคราะห์ เป็นต้น 




  ในการนี้จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดฯ  ได้พิจารณาคัดเลือกเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีผลการดำเนินงานขับเคลื่อนธนาคารขยะที่โดดเด่น และเป็นตัวแทนของจังหวัดนำเสนอผลงาน “MOI Waste Bank Week – มหาดไทยปักธงประกาศความสำเร็จ 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 ธนาคารขยะ” ระดับจังหวัด ขึ้นในวันนี้ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากร พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด นักเรียน นักศึกษา ประชาชนผู้สนใจ และอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกเข้าร่วมงาน เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ เป็นแบบอย่างที่ดี และกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญของการคัดแยกขยะที่ต้นทาง 

 



นายมนตรา พรมสินธุ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นวาระสำคัญของประเทศ ที่ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพของประชาชน จึงจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การขับเคลื่อนการดำเนินงานธนาคารขยะ ภายใต้กระทรวงมหาดไทยเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญ ที่สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ โดยมีเป้าหมายการลดการเกิดของเสียและการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านกระบวนการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 137 แห่ง ได้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารขยะครบถ้วนทุกแห่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีถือเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีผลการบริหารจัดการขยะในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้นแบบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นได้เป็นอย่างดี 

 



สำหรับการดำเนินการธนาคารขยะของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี นอกจากจะได้ดำเนินการรับฝากขยะ/ขยะแลกของ เพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่ทุกวันศุกร์แล้ว ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี กำหนดกิจกรรม “ธนาคารขยะ สัญจร” เพื่อรับฝากขยะรีไซเคิลจากบุคลากรในสังกัดส่วนราชการ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ปฏิบัติภายในศูนย์ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เช่นกัน.


​________


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น