วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567

รองเลขาฯอาชีวะเปิด" โครงการฝึกอบรม In - Country Program " ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 รองเลขาฯอาชีวะเปิด" โครงการฝึกอบรม In - Country Program " ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567




เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 29 ม.ค.67 ที่ห้องประชุมทิวลิป โรงแรมนิภาการ์เด้น อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ดร. ประพัทธ์ รัตนอรุณ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Dr. Mian Khuram Ahsan, ผู้เชี่ยวชาญโครงการของ CPSC ดร. ฉันทนา โพธิครูประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี นายลักษศักดิ์ ยางสามัญ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา ร่วมเปิดโครงการฝึกอบรม In - Country Program ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในหัวข้อ "Greening TVET for Sustainable Development" โดยมีตัวแทนจากวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาเข้าร่วมจำนวน 45 คน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567




ดร. ประพัทธ์ กล่าวว่า การจัดโครงการ"Greening TVET for Sustainable Development" สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำตาปีอ่าวไทย และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ว่าเป็นจุดเริ่มต้นไปยังเกาะสมุย เกาะเต่า และ เกาะพะงัน เป็นศูนย์กลางการค้าระดับภูมิภาค โดยมีท่าเรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์หลักของจังหวัด คือ ยางพารา มะพร้าว และอาหารทะเลเพื่อให้ทุกท่าน มีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพภูมิอากาศ การศึกษาและการฝึกอบรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม




จึงกลายเป็นเทรนด์ระดับโลก และมีการริเริ่ม "Greening TVET" เพื่อเพิ่มพูนความรู้ของผู้เรียน ผู้สอน และการบริหารจัดการวิทยาลัยเกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนชุมชน ธุรกิจในการเป็นมิตรที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อมการฝึกอบรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมอบรมจากสถาบันอาชีวศึกษาและวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทั่วประเทศจำนวน 45 คน โดยจะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2567 โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น และมีโอกาสเรียนรู้และแบ่งปันประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญ และวิทยากร 




ดร. ประพัทธ์ กล่าวต่อว่า โครงการ "Greening TVETเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน" ดำเนินการจัดโดย วิทยาลัยนักบริหารการศึกษาช่างเทคนิคแผนโคล้มโบสำนักนโยบายและแผน และวิทยาลัยสารพัดช่างสุราษฎร์ธานี  โดยมี Dr. Mian Khuram Ahsan, Prof. Wickramasinghe และ CPSC ให้การสนับสนุนโปรแกรมการฝึกอบรมใน 5 วันระบบการศึกษาและการฝึกอบรมด้านเทคนิคและอาชีวศึกษา (TVET) มีบทบาทสำคัญในการเตรียมเยาวชนให้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการจ้างงาน การเป็นผู้ประกอบการ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในบริบทของการพัฒนาในปัจจุบัน TVET สามารถจัดเตรียมเยาวชนด้วยทักษะที่จำเป็นในการเข้าถึงโลกแห่งการทำงาน รวมถึงทักษะในการประกอบอาชีพอิสระ สามารถพัฒนา และปรับปรุงการตอบสนองต่อความต้องการของบริษัทและชุมชนเพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มระดับค่าตอบแทน

ปัจจุบันเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากองค์การ

สหประชาชาติในปี พ.ศ. 2558 ให้เป็นกรอบการทำงานระดับโลกในการบรรลุรูปแบบการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบบูรณาการสำหรับปี พ.ศ. 2573 ระหว่างประเทศสมาชิก TVET เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนจะต้องช่วยสร้างเสริม และเผยแพร่วิธีคิดและการกระทำอย่างยั่งยืนตามสาขาวิชาของอาชีวศึกษา ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อกำหนดด้านทักษะอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การบรรลุเศรษฐกิจสีเขียวจำเป็นที่จะต้องบูรณาการทักษะ และนโยบายการพัฒนาการจ้างงานให้กลายเป็นวาระเศรษฐกิจสีเขียวมากขึ้น TVET เปิดกว้างต่อการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงาน และประเด็นการสนับสนุนทางนิเวศวิทยา การเปลี่ยนแปลงนโยบาย การสร้างคุณสมบัติใหม่ และการได้มาซึ่งทักษะใหม่ๆ ที่ตรงตามข้อกำหนดของเศรษฐกิจดิจิทัล และเศรษฐกิจล้วนจำเป็นสำหรับกาสร้างระบบที่ยั่งยืน และการเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลง

ดิจิทัล และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการฝึกอบรมครั้งนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมอบรมทุกท่าน เพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ และทักษะในการประยุกต์ใช้กับหลักสูตร TVET การจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ และความรู้อันมีคุณค่าเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาในภาพรวมต่อไป





/////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น