น.ต.วรวิทย์ เตชะสุภากูร ร.น. อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ โพสต์ FB ประเด็น AI ในมุมเด็กไทยจาก "ผู้ใช้สู่ผู้สร้าง" ว่า...
น้องๆกลัวพี่วิทย์ตกเทรนด์ AI เลยทำรูปมาให้..แล้วมันเกี่ยวอะไรกับอนาคตเด็กไทยจาก "ผู้ใช้สู่ผู้สร้างAI" บ้างลองมาอ่านกันครับ
2-3 วันนี้ มีเพื่อนๆน้องๆ ส่งรูปที่ใช้ App "Loopsie" ที่แต่งรูปธรรมดา ให้เป็นรูป มังงะ หรือ อนิเมะ (รูปการ์ตูนญี่ปุ่น) App นี้เป็นผลงานของวิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอิตาลี 3 คน ทำมาเมื่อปี 2561 โดยใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning ช่วยในการแปลงภาพไปเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง Appนี้ได้รางวัลจาก Apple ให้เข้า Google for startups ขยายธุรกิจได้อีกต่อไป
พี่วิทย์ชวนคุยต่อแล้วทำอย่างไร??? ให้เด็กไทย ปรับจาก "ผู้ใช้เป็นผู้สร้าง" ได้บ้าง
🖱มีผู้รู้เล่าว่าในรายงานของ World Economic Forum เรื่อง Defining Education 4.0 เสนอให้ภาคธุรกิจ แสวงหาการร่วมมือกับโรงเรียนและชุมชนถ่ายทอดเกี่ยวกับการใช้ในที่ทำงานจริง
ภาครัฐบาล เน้นปรับหลักสูตรให้ทันกับอนาคต และฝึกอบรมครู ส่วนผู้ปกครองควรตระหนักในทักษะใหม่ ๆ ตั้งแต่ลูกยังเล็ก
เป้าฯการพัฒนา AI น่าจะเพื่อ
1️⃣ให้เกิดประโยชน์กับชีวิต
2️⃣เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3️⃣พัฒนาสู่การเป็นผู้สร้าง AIได้
ทั้งนี้กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คงต้องทำงานร่วมกัน อย่างใกล้ชิด โดย"ไม่ลืมกลุ่มเปราะบาง ที่ด้อยโอกาส" ทั้งหลายด้วยครับ
🖱อีกเรื่อง คือ "จริยธรรมหรือจรรยาบรรณ" ของผู้ใช้ AI ที่สำคัญ คือ การเคารพให้เกียรติกับผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ที่มีเจ้าของอยู่แล้ว หลายๆครั้ง AI จะไปนำผลงาน ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะหรือ บทความงานเขียน ที่เผยแพร่อยู่แล้วในโซเชียล มาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ต่อยอด generate ออกมา เป็นผลงานชิ้นใหม่ ซึ่งถือว่า..ไม่ได้เป็นการสร้างสรรค์งานชิ้นใหม่ขึ้นด้วยฝีมือของตัวเองทั้งหมด
พี่วิทย์คิดว่า สุดท้ายคือ AI ยังเป็นเรื่องใหม่ ที่สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ หรือ generate สิ่งใหม่ๆ ได้อีกมากมาย ผ่านกรอบการกำกับดูแล ที่ไม่มากมายเกินไป แต่ไม่เลยไปละเมิด สิทธิเสรีภาพของคนในสังคมด้วยนะครับ ☺️
🍀#พี่วิทย์ #HumanLoveEarth #วรวิทย์เตชะสุภากูร #AI #startup #ยุคAI #ปัญญาประดิษฐ์ #Loopsie
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น