วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กรมศุลกากร สกัดจับ น้ำมันดีเซล และ เฮโรอีน ลักลอบนำเข้าและส่งออกนอกประเทศ

 กรมศุลกากร สกัดจับ น้ำมันดีเซล และ เฮโรอีน 

ลักลอบนำเข้าและส่งออกนอกประเทศ



วันนี้ (วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม 2566) เวลา 14.30 น. นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ 

ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เป็นประธานในการแถลงข่าวกรณีกรมศุลกากรจับกุมน้ำมันดีเซลจำนวน 114,000 ลิตร มูลค่า 3,641,160 บาท ลักลอบนำเข้ามาราชอาณาจักร และยึดเฮโรอีนเตรียมส่งออกนอกราชอาณาจักรซุกซ่อนอยู่ภายในซองแผ่นประคบร้อน น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้ม 3.5 กิโลกรัม มูลค่า 10.5 ล้านบาท ณ บริเวณคลังของกลาง 

กรมศุลกากร



นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี

ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร ได้ให้ความสำคัญในการปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันโดยไม่ผ่านพิธีการศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ จึงมอบหมายให้นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร นายถวัลย์ รอดจิตต์ ผู้อำนวยการกองสืบสวนและปราบปราม พร้อมเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด จนเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 21.00 น. เจ้าหน้าที่กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปนม.ตร.) ได้ทำการตรวจค้นรถบรรทุกน้ำมันจำนวน 3 คัน ที่บริเวณริมถนนบางนา - ตราด ขาเข้า กม.37 ต.บางสมัคร อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เนื่องจากได้รับแจ้งจากสายลับว่าจะมีรถบรรทุกน้ำมัน โดยภายในรถมีน้ำมันที่มีเมืองกำเนิดต่างประเทศและไม่มีเอกสารการผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องจะขับผ่านมาบริเวณดังกล่าว



ผลการตรวจค้นพบน้ำมันดีเซล จำนวน 114,000 ลิตร มูลค่า 3,641,160 บาท เบื้องต้นไม่มีหลักฐานการผ่านพิธีการศุลกากรและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ 

จึงยึดน้ำมันของกลางและยานพาหนะที่ใช้กระทำความผิด จำนวน 3 คัน ซึ่งยานพาหนะมีมูลค่าประมาณ 7,700,000 บาท รวมมูลค่าของกลางทั้งหมดประมาน 11,341,160 บาท นำส่งกรมศุลกากร เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

   


       

กรณีดังกล่าวเป็นการนำของที่ยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร หรือช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ ซึ่งของอันตนพึงรู้ว่ามิได้ผ่านพิธีการศุลกากรอันเป็นกระทำความผิดตาม มาตรา 242  หรือ มาตรา 246 ประกอบ มาตรา 166 และ มาตรา 167 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 



สำหรับสถิติในการจับกุมการลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิง (ดีเซล) เข้ามา

ในราชอาณาจักร ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 – ปัจจุบัน (กรกฎาคม 2566) มีจำนวน 642 รายปริมาณ 440,168 ลิตร มูลค่ากว่า 10,834,000 บาท ทั้งนี้ กรมศุลกากรจะให้ความสำคัญกับการปราบปรามการลักลอบนำน้ำมันเชื้อเพลิง(ดีเซล)เข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อเป็นการปกป้องสังคมและสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจของประเทศต่อไป 



โฆษกกรมศุลกากร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า นอกจากนี้ กรมศุลกากรยังได้ให้ความสำคัญในภารกิจปกป้องสังคม ให้ปราศจากการลักลอบนำเข้าสิ่งผิดกฎหมายและยาเสพติด จึงให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกรมศุลกากร เพิ่มความเข้มงวดเป็นพิเศษในการป้องกัน สกัดกั้นยาเสพติดให้โทษ และบูรณาการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ไปรษณีย์สุวรรณภูมิ กรมศุลกากรพบกล่องพัสดุด่วนพิเศษระหว่างประเทศ ต้นทางจากเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ปลายทางเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 หีบห่อ มีความน่าสงสัยจึงให้เจ้าหน้าที่ภายใต้การกำกับดูแลของนายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดี รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร นายถวัลย์ รอดจิตต์ ผู้อำนวยการกองสืบสวนและปราบปราม และนายจักกฤช อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ร่วมกับชุดปฏิบัติการ AITF (AIRPORT INTERDICTION TASK FORCE) ประกอบด้วย กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ร่วมกันวิเคราะห์ความเสี่ยงในการลักลอบส่งของต้องห้ามต้องกำกัดออกนอกราชอาณาจักร และทำการตรวจสอบพัสดุดังกล่าว ซึ่งสำแดงชนิดสินค้าเป็น PILL PATCH , COUGH PILLS , SNACK น้ำหนักรวม 10.790 กิโลกรัม จากการตรวจสอบสินค้า PILL PATCH จำนวน 12 ถุง (แผ่นประคบร้อน) พบร่องรอยการถูกปิดผนึกใหม่ด้วยความร้อน โดยภายในแต่ละถุงบรรจุซองย่อยอีก จำนวน 4 ซอง รวมทั้งสิ้น 48 ซอง มีร่องรอยการปิดผนึกใหม่เช่นกันทุกซอง จึงได้เปิดซองออกตรวจสอบพบยาเสพติดให้โทษประเภท 1 เฮโรอีน (Heroine) ซุกซ่อนอยู่ภายใน น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้ม 3.5 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 10.5 ล้านบาท 

     


  

โดยการกระทำดังกล่าว เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 242,244 ประกอบมาตรา 252 ซึ่งเป็นของอันพึงต้องริบ ตามมาตรา 166 และ มาตรา 167 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร 

พ.ศ. 2560 และประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 จึงส่งให้ผู้ที่เกี่ยวของดำเนินคดีต่อไป

         

สำหรับสถิติจับกุมยาเสพติดกรมศุลกากร ตั้งแต่ประจำปีงบประมาณ 2566  – ปัจจุบัน (ตุลาคม - กรกฎาคม 2566)  มีจำนวน 148 ราย มูลค่า 1,022,513,880 บาท 



นอกจากประเด็นดังกล่าวข้างต้น โฆษกกรมศุลกากร ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 

การนำเงินตราไทยและเงินตราต่างประเทศ ออกไปนอก และเข้ามาในราชอาณาจักร ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น