วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ป.ป.ช. นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ ตรวจสอบ กรณีได้รับแจ้งพบพิรุธโครงการจ้างเหมาตัดโค่นลำเลียงไม้ยางพาราของ กยท. ส่งเข้าโรงงานเอกชน

 ป.ป.ช. นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่ ตรวจสอบ กรณีได้รับแจ้งพบพิรุธโครงการจ้างเหมาตัดโค่นลำเลียงไม้ยางพาราของ กยท. ส่งเข้าโรงงานเอกชน





        เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 นาย จักรินทร์ ชุมจินดา 

ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช มอบหมายให้กลุ่มงานป้องกันการทุจริต ลงพื้นที่กรณีได้รับแจ้งจากศูนย์ป้องปรามการทุจริตแห่งชาติ (Corruption Deterrence Center : CDC) ได้เบาะแสข้อมูลจากเครือข่ายภาคประชาชนเฝ้าระวังการทุจริต เกี่ยวกับกรณี "พบพิรุธโครงการจ้างเหมาตัดโค่นลำเลียงไม้ยางพารา ของกยท. ส่งเข้าโรงงานเอกชน จี้ตรวจสอบ ชี้แจง..."  

 



       จากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ตั้งประเด็นตรวจสอบเบื้องต้นในกรณีดังกล่าวไว้ 3 ประเด็น ดังนี้


     1. การจ้างโดยไม่มีการประมูลงาน ทางกองจัดการโรงงานไม้ยาง ชี้แจงว่าใช้วิธีจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ เนื่องจากเป็นพัสดุที่ต้องการซื้อเร่งด่วน หากล่าช้า อาจจะเสียหายต่อ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับการพาณิชย์ พ.ศ. 2561 โดยอ้างว่าเป็นพัสดุที่ต้องการซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายต่อ กยท. และเป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อจากผู้ผลิตหรือผู้แทนโดยตรง โดยให้เหตุผลประกอบคำชี้แจงว่า

     - เนื่องจากต้องการผู้รับจ้างที่มีคุณสมบัติตรงตามหลักเกณฑ์ FSC ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล 

     - เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีอุปกรณ์ เครื่องมือ และคนงานพร้อม มีความน่าเชื่อถือ ไม่เสี่ยงต่อการทิ้งงาน 


     2. ราคากลาง ทางกองจัดการโรงงานไม้ยาง ชี้แจงดังนี้

     2.1 การกำหนดราคากลางในการจ้างเหมาตัด โค่น และลำเลียงวัตถุดิบไม้ยางพาราจากกองจัดการสวนยาง 1 แปลงที่ 1 เนื้อที่ 1,360.33 ไร่ ส่งถึงกองจัดการโรงงานไม้ยาง และจ้างเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก รวม 10,637,502 บาท โดยสืบราคาจากผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3 ราย (ในอัตราสูงสุด .50 บาทต่อกิโลกรัม และต่ำสุดในราคาต่ำสุด .45 บาทต่อกิโลกรัม) โดยชำระค่าจ้างตามปริมาณไม้ที่ตัดโค่นและลำเลียงมาส่งที่กองจัดการโรงงานไม้ยาง ในกิโลกรรมละ .45 บาท 

     2.2 การกำหนดราคากลางในการขาย ไม้ยางพาราส่วนอื่น ๆ ที่ไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ เช่น ไม้ท่อนที่ไม่ผ่านการคัดคุณภาพ (ไม้ลาย), เศษไม้, ปลายไม้, และส่วนประกอบอื่น ๆ ของต้นยาง เป็นต้น และรวมถึงไม้ยางพาราคุณภาพดีที่เกินกำลังผลิตของกองจัดการโรงงานไม้ยาง (ประมาณ 70 ตันต่อวัน) เป็นอัตราที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป ซึ่งกองจัดการโรงงานไม้ยางชี้แจงว่า ราคากลางดังกล่าวเป็นราคาที่ได้หักลบต้นทุนแล้ว 


     3. กระบวนการลำเลียงไม้ จากแปลงมาจนถึงกองจัดการโรงงานไม้ยางนั้น กองจัดการโรงงานไม้ยาง ชี้แจงว่า




     - การตัด โค่นและลำเลียงไม้ยาง โดยรถบรรทุกลำเลียงไม้ทุกคัน ต้องรับเอกสารใบขนส่งลำเลียงไม้ยางจากแปลงตัดโค่น โดยมีผู้ควบคุมการชั่งน้ำหนักร่วมกันระหว่าง ตัวแทนเจ้าหน้าที่ กยท. และตัวแทนคู่สัญญา ในการชั่งน้ำหนักขาออกจากแปลงตัดโค่น ซึ่งระหว่างขั้นตอนการจัดเรียงไม้ยางขึ้นรถบรรทุก ต้องผ่านการตรวจคุณภาพและลงบันทึกรายละเอียดในเอกสารใบขนส่งลำเสียงไม้ยางจากแปลงตัดโค่น ซึ่งผู้ควบคุมตรวจสอบคุณภาพไม้ยาง ได้ให้ผู้ขับรถบรรทุกแสดงเอกสารดังกล่าวแก่ผู้ควบคุมการชั่งน้ำหนัก ก่อนชั่งน้ำหนักรถบรรทุกขาออกทุกครั้ง




       จากประเด็นเบาะแสในภาพข่าว กองจัดการโรงงานไม้ยาง ชี้แจงว่า ไม้บนรถบรรทุกที่ปรา

กฎในภาพข่าวดังกล่าว เป็นประเภทไม้ยางพาราส่วนอื่น ๆ ที่ไม่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ ตามข้อ 2.2 ซึ่งถือเป็นสินค้าของกองจัดการโรงงานไม้ยางที่ขายให้กับคู่สัญญา โดยอ้างว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับการพาณิชย์ พ.ศ. 2561

  

     ทั้งนี้ สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รวบรวมเอกสารหลักฐานประกอบคำชี้แจงทุกประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานผลการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งหากพบเหตุสงสัย หรือพบพฤติการณ์ใดที่เข้าข่าย

การทุจริตต่อหน้าที่ ก็จะดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น