วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ตรวจเยี่ยมโครงการชุมชนยั่งยืน แก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่ สน.หนองค้างพลู

 ตรวจเยี่ยมโครงการชุมชนยั่งยืน แก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่ สน.หนองค้างพลู




วันนี้  3  พ.ค.2566  เวลา  10.00  น.- 16.00  น.   พล.ต.ท.นพดล  ศรสำราญ  ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ  ตร. ,พล.ต.ต.สำเริง  สวนทอง  รอง ผบช.น.,พ.ต.อ.ธีรชัย  เด็ดขาด  รอง ผบก.น.9  ,พ.ต.อ.ไพโรจน์  นาเมืองรักษ์  ผกก.สน.หนองค้างพลู  ,นายอุดมชัย โลหะณุต ผอ.ปปส.กทม.,

นายนิมิตร นันตา  ผอ.ส่วนประสานพื้นที่  

,นางสาวนารีรัตน์ นุโยค  ป.ป.ส.กทม.,กต.ตร.สน.หนองค้างพลู นายบรรจง  แช่อึ้ง  ประธานชุมชนกองขยะหนองแขม และ ภาคีเครือข่ายเพื่อแก้ปัญหายาเสพติดแบบครบวงจร ตามยุทธศาสตร์ชาติตรวจเยี่ยมให้กำลังใจผู้ปฎิบัติงาน โครงการดำเนินงานชุมชนยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดซึ่ง

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาความมั่นคงที่ส่งผลกระทบต่อการบริหารและการพัฒนาประเทศทั้งในพื้นที่หมู่บ้านชุมชนทั้งปัญหาทางด้านสังคมเศรษฐกิจสาธารณสุขและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินการติดยาเสพติดเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนและอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อสังคมและประเทศชาติและมีการคาดการณ์แนวโน้มว่าจำนวนผู้เสพผู้ติดยาเสพติดจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมคือมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับปัญหาเศรษฐกิจการศึกษาโครงสร้างและสัมพันธภาพของครอบครัวการเลี้ยงดูความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆซึ่งปัญหาทางอาชญากรรมหลายประเภทที่เกิดขึ้นเช่นคดีข่มขืนฆ่าลักทรัพย์วิ่งราวชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ทำร้ายร่างกายเป็นต้น โดยผู้ก่อเหตุแต่ละคดีเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าจะฐานะเป็นผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้เสพหรือผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลัง





 ผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติดเป็นตัวบ่อนทำลายความสงบสุขของประชาชนในการดำรงชีวิต

อย่างปกติสุขในปัจจุบัน

ทางเราเล็งเห็นว่าเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ครอบครัวให้ตระหนักถึงโทษพิษภัยของยาเสพติดตลอดจนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน จึงเกิดโครงการชุมชนยั่งยืนกองขยะ ชอยเพชรเกษม 104 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร  เกิดขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติดโดยอันดับแรกในการแก้ไขเรื่องปัญหายาเสพติดนั้นต้องมาจากครอบครัว 




ครอบครัวถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อผลให้สมาชิกในครอบครัวเข้าสู่วงจรของปัญหายาเสพติดโดยจากการศึกษาเยาวชนในสถานพินิจที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดเปรียบเทียบกับเยาวชนในสถานศึกษาทั่วไปพบว่าพลังครอบครัวของเยาวชนในสถานพินิจมีความแตกต่างกับครอบครัวเยาวชนทั่วไปทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือด้านการเรียนการได้รับคำปรึกษาหารือหรือคำแนะนำจากผู้ปกครองการมีระเบียบกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนของครอบครัวการได้รับความรักและการสนับสนุนที่ดีจากครอบครัวเป็นต้น

จึงเห็นได้ว่าเยาวชนที่ประสบปัญหากับยาเสพติดส่วนหนึ่งมาจากการขาดพลังของครอบครัวที่จะคอยดูแลสมาชิกภายในครอบครัวให้ห่างไกลจากยาเสพติดดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ลูกหลานหรือสมาชิกภายในครอบครัวสามารถคุ้มภัยจากยาเสพติดได้


เพื่อการแก้ไขปัญหาอันจะนำไปสู่การลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหายาเสพติดในสังคมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและลดความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบดังกล่าวให้กับบุคคลชุมชนและสังคมและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติด ทุกพื้นที่ทั่วประเทศให้ลดลง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนและภาคีเครือข่าย สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยพื้นที่  โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเฝ้าระวังและสำรวจ ค้นหาผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดด้วยวิธีต่างๆตามความเหมาะสมนำไปบำบัดรักษาตามกระบวนการของหน่วยงานและดูแลช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาของแต่ละบุคคลต่อไป

ระยะเวลาดำเนินการตามโครงการฯ ตั้งแต่  1 เม.ย 2566 - 30 มิย.2566  จากจำนวนประชากรทั้งหมด  650  คน  เป้าหมายประชากร ที่ต้องผ่านการ เอกชเรย์  จำนวน  430 คน ผ่านการเอกชเรย์แล้ว  จำนวน  137  คน  สมัครใจบำบัดเอง  จำนวน 18  คน  ทำ  MOU  จำนวน  60  ครัวเรือน  จำนวนคุ้ม  7   คุ้มๆละ  30  คนโดยพื้นที่ชุมชนกองขยะมีเนื้อที่จำนวน  16  ไร่  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น