“อลงกรณ์”ตอบโจทย์”หอการค้า”-“สภาอุตสาหกรรมฯ.”ประเด็นนโยบายรัฐบาลใหม่และปัญหาตั้งรัฐบาลล่าช้า
ยืนยัน”ประชาธิปัตย์”หนุนตั้งรัฐบาลเร็วป้องกันสูญญากาศการเมืองบั่นทอนเสถียรภาพประเทศ
พร้อมเดินหน้านโยบายสร้างเงินแก้หนี้แก้จนลดเหลื่อมล้ำเพิ่มศักยภาพคนยกระดับรายได้ประเทศอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจระบบใหม่
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรคในฐานะทีมเศรษฐกิจพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อกังวลเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)วันนี้ว่า พรรคประชาธิปัตย์ให้ความมั่นใจว่าจะช่วยให้การจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งเป็นไปโดยราบรื่นภายใต้วิถีทางประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะอยู่ในฐานะเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อยเพื่อให้รัฐบาลใหม่เข้ามารับผิดชอบบริหารประเทศต่อไปโดยรวดเร็ว
ต้องไม่ให้เกิดสูญญากาศทางการเมืองที่จะมาบั่นทอนเสถียรภาพของประเทศ การเปลี่ยนผ่านรัฐบาลจะต้องเป็นไปอย่างราบรื่น”
สำหรับข้อเสนอแนะของภาคเอกชนส่วนใหญ่ตรงกับนโยบายเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์และผลงาน4ปีที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ดำเนินการมาในช่วงเป็นพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้งนโยบายใหม่ๆของพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นโยบายเศรษฐกิจฐานราก นโยบายเศรษฐกิจทันสมัย นโยบายเศรษฐกิจมหภาค การตั้งเป้าหมายการเติบโตของ GDP ไม่ต่ำกว่า 5%ต่อปี การอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ1ล้านล้านเพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยภาพรวม การยกระดับภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสู่เกษตรมูลค่าสูงโดยจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมทุกจังหวัดเป็นครั้งแรก , นโยบายตลาดนำการผลิต , การยกระดับภาครัฐสู่รัฐบาลดิจิตอล( Digital Government)เช่นนโยบายดิจิตอล ทรานฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation)ของกระทรวงเกษตรฯ. การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เอื้อต่อการค้าและการลงทุน, การบริหารจัดการต้นทุนด้านพลังงาน การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพมีการใช้จ่ายต่อหัวที่สูงและรักษาสิ่งแวดล้อม การเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะ RCEPและ Mini FTA การสร้างโอกาสจากการฟื้นสัมพันธ์กับประเทศต่างๆเช่นซาอุดีอาระเบีย
การยกระดับการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และโค้ดดิ้งก์(Coding) การพัฒนาแรงงานให้มีทักษะสูง
,การสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) และยานยนต์ไร้คนขับ การพัฒนาอีอีซี.และนโยบายบีซีจี.รวมทั้งการใช้พลังงานสะอาด
การดึงการลงทุนจากต่างประเทศ การคว้าโอกาสการย้ายฐานผลิต ทั้งจากจีนและยุโรปบางส่วนเนื่องจากโรงงานประสบปัญหาวิกฤติด้านพลังงาน
การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตและส่งออกไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่แข่งขันได้ในอนาคตโดยเฉพาะนโยบาย12 อุตสาหกรรมใหม่(12S-Curve) นโยบายการสร้างนิคมอุตสาหกรรมใหม่ใน18 กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศที่กระทรวงเกษตรฯโดยการนำของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ.ดำเนินการร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯ.ใน3ปีกว่าที่ผ่านมาและการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจใหม่ๆตอบโจทย์ความท้าทายของอนาคตซึ่งเป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ที่ทำมาก่อนและจะเดินหน้าต่อเช่นนโยบายพลังงานทดแทน นโยบายคาร์บอนเครดิต นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เศรษฐกิจดิจิตอล (Digital Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เศรษฐกิจสูงวัย(Silver Economy)และเศรษฐกิจเพื่อสังคม(Social Economy)
“นโยบายเหล่านี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้หลุดพ้นจากความยากจนและหนี้สิน แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ แก้ปัญหาหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือน การฟื้นฟูเศรษฐกิจปากท้องของประชาชนต้องเร่งทำทันทีเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วภายใต้แนวทางสร้างเงินสร้างคนสร้างชาติของพรรคประชาธิปัตย์ในยุคอุดมการณ์-ทันสมัย
4ปีที่ผ่านมา เราสร้างเงินให้ประเทศจากการส่งออกกว่า 30 ล้านล้านบาทซึ่งนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ เป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงเป็นหลักประกันในผลงานที่ทำได้ไวทำได้จริงและเราพร้อมร่วมมือกับหอการค้า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)และทุกภาคส่วนในการนำประเทศเดินไปข้างหน้าอย่างมีเสถียรภาพเพื่อคนไทยทุกคน.นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น