พช.ราชบุรี” ตอน เดิน วิ่ง พิชิตยอดเขาแก่นจันทร์ กราบนมัสการพระสี่มุมเมือง
เปิดเฟส 3 ผู้นำต้องทำก่อน กับการขับเคลื่อนโครงการ “สร้างพลังกาย เสริมพลังใจ พัฒนาทีมงาน พช.ราชบุรี” ตอน เดิน วิ่ง พิชิตยอดเขาแก่นจันทร์ กราบนมัสการพระสี่มุมเมือง
วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 เวลา 17.00 น. ณ เขาแก่นจันทร์ อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
นางยุพิน เศรษฐศักดาศิริ พัฒนาการจังหวัดราชบุรี พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานการพัฒนาชุมชน นำ ช้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี เปิด เฟส 3 โครงการ“สร้างพลังกาย เสริมพลังใจ พัฒนาทีมงาน พช.ราชบุรี” ตอน เดิน วิ่ง พิชิตยอดเขาแก่นจันทร์ กราบนมัสการพระสี่มุมเมือง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีสุขภาพพลานามัยที่แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายตามที่ตนเองถนัดอย่างน้อยสัปดาห์ล่ะ 3 ครั้งๆละไม่น้อยกว่า 30 นาที เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วย ตลอดจนมีภูมิคุ้มกันต่อโรคภัยต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของทีมงานในการปฏิบัติราชการ
2. เพื่อให้บุคลากรในสังกัดสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการดูแลสุขภาพด้วยการคัดเลือกอาหารและสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยกำหนดเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อย่างน้อยคนล่ะ 5-10 ชนิด
3. บุคลากรมีทัศนคติในการใส่ใจดูแลสุขภาพยิ่งขึ้นจนเป็นวิถีชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และเกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะสำหรับการดำเนินกิจกรรม เดิน วิ่ง พิชิตเขาแก่นจันทร์ จังหวัดราชบุรี ภายใต้โครงการ สร้างพลังกาย เสริมพลังใจ พัฒนาทีมงาน พช.ราชบุรี ในครั้งนี้ มีระยะทางโดยรวมประมาณ 5 กิโลเมตร พร้อมทั้งกราบนมัสการพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ "พระสี่มุมเมือง" ซึ่งนอกจากเป็นการส่งเสริมให้ ข้าราชการพัฒนาชุมชน จังงหวัดราชบุรี ได้ดูแลรักษาสุขภาพ กาย ใจให้แข็งแรงและมีความพร้อมในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนให้ ข้าราชการพัฒนาชุมชนจังหวัดราชบุรีได้เรียนรู้ถึงสถานที่สำคัญแห่งนี้ โดยเขาแก่นจันทร์ซึ่งความสำคัญเดิมที่เรียกกันว่า "เขาจันทร์แดง" แห่งนี้ ไม่เพียงเป็นภูเขาสูงที่สุด ในราชบุรีเท่านั้น หากบนยอดเขายังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือที่รู้จักกันดีว่า "พระสี่มุมเมือง" อันเป็น 1 ใน 4 พระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแล้วพระราชทานไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองต่าง ๆ สี่เมืองสี่ภาคของไทยได้แก่ ลำปาง สระบุรี
พัทลุง และราชบุรี นอกจากจะได้สักการะพระสี่มุมเมืองเพื่อเสริมสิริมงคลแล้ว บนยอดเขายังเป็นจุดชมวิวราชบุรี ที่งดงามอีกมุมหนึ่ง และการขึ้นสู่ยอดเขาแก่นจันทน์นั้นสามารถนำรถยนต์ส่วนตัวขึ้นไปได้อย่างสะดวกสบาย อีกทั้งยังสามารถแวะสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชบริเวณเชิงเขา ที่ชาวราชบุรีได้พร้อมใจกันสร้างในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ตำนานแห่งพระสี่มุมเมือง พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศหรือพระพุทธรูปสี่มุมเมืองซึ่งมีอยู่ 4 องค์ในประเทศไทยนั้น สร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาที่จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศโดยเป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบจตุรพุทธปราการทำหน้าที่เป็นปราการทั้งสี่ด้านเพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรูปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายเสริมดวงชะตา บ้านเมืองและคุ้มครองพสกนิกรให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขทั้งนี้ พระพุทธลักษณะของพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบตามแบบศิลปะสุโขทัยมีพระพักตร์แจ่มใสพระเนตรเปิดพระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายพระบาทขวาทับพระบาทซ้ายหล่อด้วยสำริดขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้วประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปจัตุรมุขก่ออิฐถือปูนโครงสร้างสร้างคาเป็นเครื่องไม้มุงทับด้วยกระเบื้องอย่างไทยโบราณบานประตูหน้าต่างและหน้าลงรักปิดทองทั้งสี่ด้าน
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้ถือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) โดยเคร่งครัด
สุพจน์ วรสหวัฒน์จ.ราชบุรี/รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น