วัดปราสาทจัด “ประเพณีปอยส่างลอง” บรรพชาสามเณรล้านนา ชาวไทยใหญ่ (บวชลูกแก้ว) ครั้งที่ 1
“ประเพณีปอยส่างลอง” หรืองานบวชลูกแก้ว เป็นงานประเพณีของชาวไตหรือไทใหญ่ คำว่าปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึงงานเทศกาล งานมงคลต่าง ๆ ส่วนคำว่า ส่าง แปลว่า พระหรือเณร และคำว่า ลอง นั้นมาจากคำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง งานบวชเณรของเด็กที่แต่งตัวอย่างกษัตริย์ ถือเป็นงานบุญใหญ่
.
ในครั้งนี้มีสามเณรเข้าร่วมพิธีบวชลูกแก้ว 26 รูป เป็นชาวไทยเชื้อสายไทยใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในจังหวัด นนทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งผู้เป็นพ่อแม่ตลอดจนญาติมิตรของส่างลอง (ผู้ที่จะบวชเป็นเณร) จะต้องเตรียมข้าวของประกอบพิธีและการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ โดยผู้ที่จะบวชจะมีการขี่ช้างม้าหรือนั่งบนบ่าโดยไม่ให้เท้าแตะพื้น และมีการแต่งการประดับประดาเสมือนเป็นกษัตริย์นั่นเอง จะมีพิธีโกนผมเด็กที่จะเข้ารับเป็นส่างลอง มีพิธีอาบน้ำเงินน้ำทอง และแต่งกายให้ส่างลองด้วยชุดเจ้าชาย
.
โดยพระคูรปลัดบุญใส รตนปุตโต ดร.เจ้าอาวาส วัดแคใน ตำแหน่งเลขานุการ เจ้าคณะตำบลบางกร่าง เป็นพระอุปัชฌาย์ ในการบรรพชาสามเณร ปอยส่างลอง จำนวน 26 รูป
.
การจัดประเพณีปอยส่างลองครั้งนี้ ยังถือเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม โดยมีความเชื่อว่าถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2566
#ปอยส่างลอง #ประเพณีปอยส่างลอง #บวชลูกแก้ว #บรรพชาสามเณรทางล้านนา #วัดปราสาท #นนทบุรี #จังหวัดนนทบุรี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น