ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการดำเนินการยกระดับการให้บริการภาครัฐสู่ประชาชน ให้มีความทันสมัย โปร่งใส รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการนำภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ซึ่งจะสอดรับกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมให้การทำงาน การให้บริการของภาครัฐสามารถใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักได้ สนับสนุนการไปสู่รัฐบาลดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตามการปฏิรูปประเทศด้านการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ให้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อบริการสาธารณะและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์
กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์
รอง ผบ.ตร. จึงได้มอบหมายให้ สตม. โดย พล.ต.ท.ภาคภูมิภิภัทฒ์ สัจจพันธุ์ ผบช.สตม. ดำเนินการ
ยกระดับการให้บริการขออนุญาต
อยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e – Extension)
ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นการยกระดับและสร้างมาตรฐานการให้บริการนักท่องเที่ยว และชาว
ต่างชาติ รูปแบบใหม่ด้วยการยื่นคำร้องขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรและชำระเงินค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบ
อิเล็กทรอนิกส์
ระบบดังกล่าวนั้น จะเป็นการนำร่องการขออยู่ต่อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับคนต่างด้าวที่มีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงเทพฯ หรือมีสถานที่ทำงานของรัฐในเขตกรุงเทพ ฯ ซึ่งได้เปิดให้บริการในส่วนของเหตุผลหรือความจำเป็น ในการขออยู่ต่อฯ จำนวน 12 เหตุผล ดังนี้
1.เพื่อการท่องเที่ยว,
2.ครูในสถานศึกษาของรัฐ, 3.ศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ,
4.อยู่ปฏิบัติงานในส่วนราชการ,
5.เดิมคนไทย,
6.ครอบครัวผู้มีถิ่นที่อยู่,
7.สื่อมวลชน,
8.ฝึกสอน ค้นคว้าวิจัยในหน่วยงานของรัฐ,
9.ติดตั้งซ่อมแซมเครื่องจักร,
10.ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์,
11.ผู้ควบคุมพาหนะประจำพาหนะ
12.สถานทูตให้การรับรองและร้องขอ
“เนื่องจากในแต่ละปี ประเทศไทยมีคนต่างด้าวยื่นขออนุญาตอยู่ต่อในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เฉพาะในส่วนของเหตุผลหรือความจำเป็น 12 เหตุผลดังกล่าว มากกว่า 2 แสนคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพ ฯ มีผู้มาขอรับบริการเป็นจำนวนมาก ทำให้คนต่างด้าวใช้เวลาค่อนข้างนานในการขอรับบริการแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยต้องใช้เวลารอเข้ารับบริการประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง”
ในกรณีคนต่างด้าวเปลี่ยนมาขอรับบริการผ่านระบบ“e – Extension” (Electronics Extension of Temporary Stay in The Kingdom : e – Extension)
นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ
สามารถดำเนินการกรอกข้อมูลได้ด้วยตนเองตลอดเวลา ผ่านระบบออนไลน์บนอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บไซต์ และเข้ามาพบเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันตัวบุคคลและรับสติ๊กเกอร์วีซ่า
โดยใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3 - 5 นาทีต่อรายเท่านั้น
โครงการดังกล่าวลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ ทำให้คนต่างด้าวสามารถกำหนดนัดหมายวันเวลาขอรับสติ๊กเกอร์วีซ่าได้ด้วยตนเอง นับเป็นมิติใหม่ของการยื่นขออนุญาตอยู่ต่อในประเทศไทย บริการ “e – Extension” ได้มีการทดลองระบบโดยเปิดให้คนต่างด้าวขอรับบริการ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีคนต่างด้าวให้ความสนใจและเข้ามาทดลองใช้งานผ่านระบบเป็นจำนวนมาก ซึ่งระบบสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีจนได้รับความพึงพอใจจากผู้มารับบริการและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ และประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง นำโดย พล.ต.ต.ปิยะอนันต์ โตสกุลวงศ์ ผบก.ตม.1 , พ.ต.อ.ระพีพัฒน์ อุตสาหะ รอง ผบก.ตม.1
ดูแลอำนวยการ และบริหารงานตรวจคนเข้าเมืองทั้งระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้เร่งรัดสั่งการ
ให้ พ.ต.อ.กาจภณ ปฐมัง ผกก.สืบสวน บก.ตม.1 ระดมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์ ทั่วกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากพื้นที่ที่มีคนต่างชาติพักอาศัยหนาแน่น โรงแรม ย่านการค้าธุรกิจต่างๆ
ทั้งนี้ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ในฐานะหน่วยงานนำร่องการดำเนินการให้บริการ e- Extension
ขอเรียนประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นไปยังพี่น้องประชาชนคนไทย และชาวต่างชาติ ถึงความพร้อมในการยกระดับการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นที่ยอมรับ
ในระดับนานาชาติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น