ร้อยเอ็ด ประภัตร รมช.เกษตรฯ เปิดงานเทศกาลข้าวหอมมะลิโลกงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด ประจำปี 2566 และงาน Thai Rice Expo 2022 ยิ่งใหญ่
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 17.00 น.นาย ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 22 ณ บริเวณ โดมเวทีกลาง ลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด โดยมี นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ดร. รณวริทธิ์ ปริยฉัตรตระกูล สมาชิกวุฒิสภา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ข้าราชสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเอกชน ผู้ประกอบการค้าข้าวหอมมะลิ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน พ่อค้า ประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้มากที่สุด จำนวน 940,000 กว่าไร่ คิดเป็น 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ปลูกข้าว ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ การจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิและผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสินค้าการเกษตรอื่นๆ ที่สำคัญของจังหวัดและเชื่อมโยงการตลาดข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดจากกลุ่มเกษตรกรไปสู่ช่องทางการตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศให้หลากหลายช่องทาง นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในกระบวนการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ การแปรรูปข้าว และอุตสาหกรรมด้านอาหาร และสินค้าการเกษตรอื่นๆสู่การทำเกษตรมูลค่าสูง และสืบสานวัฒนธรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดร้อยเอ็ด
นาย ประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การพัฒนาและประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิอันทรงคุณค่าของผืนแผ่นดินไทย เพราะนี่ไม่ใช่เพียงความภาคภูมิใจของคนร้อยเอ็ด แต่ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจ ของ คนไทยทั้งชาติที่“ข้าวหอมมะลิ 105” ที่ปลูกในภาคอีสานของประเทศไทย เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ และถือเป็นสายพันธุ์ข้าวที่เป็นหนึ่งในโลก คนทั่วไป จะรู้จักจากคำนิยามว่า “หอม-เรียวยาว-ขาวนุ่ม” ซึ่งในบรรดา 5 จังหวัดในเขต ทุ่งกุลาร้องไห้ จังหวัดร้อยเอ็ดนับได้ว่า มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดถึงร้อยละ 46 หรือกว่า 9.4 แสนไร่ เป็นข้าวที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก จนได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI จะต้องส่งเสริมให้มีการทำการเกษตรมูลค่าสูง เน้น เรื่อง การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ได้มาตรฐานสูง และก่อให้เกิดรายได้สูง มุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรแบบอัจฉริยะ และอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง เน้นการสร้างความยั่งยืนทางการเกษตรด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG สนับสนุนการค้า อุตสาหกรรมยุคใหม่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล นำฐานข้อมูลทางเศรษฐกิจ มาใช้ประโยชน์ โดยพัฒนาการค้าทันสมัย ใช้เทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกร
ภายในงานมีการจัดกิจกรรมต่างๆ โดยส่วนราชการ และภาคเอกชน ประกอบด้วย การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการซื้อขายข้าวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ภายใต้การจัดกิจกรรมการเจรจาการค้าข้าวหอมมะลิและบันทึกข้อตกลงกว่า 1,000 ล้าน บาท การออกร้านนิทรรศการ และการจัดแสดงสินค้า นวัตกรรม และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ โดยหน่วยงานสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และร้อยเอ็ด งาน Thai Rice Expo โดยหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด
//////
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
ชาติ มหาชน ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์/รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น