“อลงกรณ์”ดึง”อตก.”ผนึก”กทม.”และ”การเคหะ”เร่งเปิดตลาดเกษตรกร(Farmer Market) 50 เขตและตลาดน้ำคลองบางซื่อภายใต้โครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง(Urban Agriculture)เน้นเกษตรปลอดภัยอาหารปลอดภัย
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมฯ ครั้งที่ 5/2565 ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting วันนี้ว่าที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. ความคืบหน้าโครงการปลูกต้นไม้ล้านต้นและการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบัน กทม. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน ภาคประชาชน ปลูกต้นไม้ในพื้นที่ กทม. แล้ว 177,246 ต้น โดยมีเป้าหมายปลูกให้ครบ 1 ล้านต้น ภายใน 4 ปี ในพื้นที่ทั้ง 50 เขต รวมทั้งพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตสวนสาธารณะของ กทม.ด้วย ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดพื้นที่กรุงเทพมหานคร คณะกรรมการกรรมการโครงการธนาคารสีเขียว(Green Bank)รวมทั้งมอบหมายให้คณะทำงานอื่นๆเช่นคณะทำงานโรงเรียน-วิทยาลัยสีเขียว(Green School-Green College) คณะทำงานมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) เป็นต้นร่วมสนับสนุนโครงการปลูกต้นไม้ในกรุงเทพมหานครและอาจเพิ่มโครงการเป็น2ล้านต้นตามข้อเสนอของผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
2. การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการปลูกผักสวนครัวเกษตรพอเพียงในสวนสาธารณะนำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ 1) สวนจตุจักร เขตจตุจักร มีการทำศูนย์เรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร และเลี้ยงไก่ 2) สวนเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา (ฝั่งพระนคร) เขตบางคอแหลม มีการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ผัก และให้ความรู้ แก่ผู้ที่สนใจ 3) สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง ศูนย์เรียนรู้ปลูกพืชผักสวนครัว 4) สวนสราญรมย์ เขตพระนคร เปิดเป็นศูนย์เรียนรู้และศึกษาดูงานแก่ประชาชนและผู้ที่สนใจ 5) สวนสันติภาพ เขตราชเทวี เป็นแหล่งเรียนรู้และเปิดรับแลกขยะรีไซเคิล
3. ความคืบหน้าการดำเนินงานโครงการตลาดเกษตรกรหรือฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต (Farmer Market )ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีการขยายตลาดในรูปแบบตลาดเกษตรกรให้ครอบคลุม 50 เขต ซึ่งอยู่ระหว่างการเสนอผู้ว่าราชการฯ ซึ่งมอบหมายสำนักงานสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขต 50 เขต ให้พิจารณาสถานที่ที่เหมาะสม และโครงการปลูกพืชผักเกษตรปลอดสารพิษ 200 แปลง อีกทั้ง กิจกรรม Bangkok Green Market ตลาดสุขใจ “Green Clean Craft” มียอดจำหน่ายในช่วงเดือนตุลาคม – 20 พฤศจิกายน รวม 250,961 บาท ร้านค้าผู้ประกอบการ 185 ร้าน และผู้ใช้บริการฝึกอาชีพจำนวน 1,560 คน
4. ผู้แทนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ประชาสัมพันธ์และเชิญร่วมงานวันคล้ายวันสถาปนาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่จะมีขึ้นในวันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน นี้ ซึ่งมีการจัดแสดงสินค้าผลผลิตเกษตร และมอบกระเช้าของขวัญแก่ผู้บริหาร และผู้ร่วมงาน ซี่งเป็นผลผลิตจากการดำเนินโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
5.ผู้ช่วยผู้ว่าการเคหะแห่งชาติแจ้งว่าการเคหะพร้อมสนับสนุนการจัดตั้งตลาดเกษตรกรในโครงการการเคหะดินแดงซึ่งมีผู้อยู่อาศัย6,000ยูนิต
รวมทั้งโครงการอื่นๆ
ทั้งนี้ประธานฯ.แจ้งว่าจะประสานกับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.)และคณะอนุกรรมการธุรกิจเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ.ให้มาสนับสนุนโครงการตลาดเกษตรกรหรือฟาร์มเมอร์ มาร์เก็ต(Farmer Market) 50 เขตในกรุงเทพมหานครรวมทั้งการร่วมพัฒนาโครงการตลาดน้ำของอตก.ในคลองบางซื่อเป็นตลาดเกษตรกรประเภทตลาดน้ำซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คของกรุงเทพฯ.โดยให้ฝ่ายเลขาประสานงานการลงพื้นที่พร้อมกับผู้ว่ากทม.และผู้ว่าการเคหะฯ.สำรวจพื้นที่ตลาดน้ำอตก.และโครงการเคหะดินแดง
นอกจากนี้ยังเสนอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมขับเคลื่อนงานกับคณะทำงานโครงการวัดสีเขียว( Green Temple )เพื่อสำรวจวัดที่พร้อมจะดำเนินงานโครงการฯ เพิ่มเติม ตามแนวทาง “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน หลังจากนำร่องโครงการไปแล้วที่วัดพระยาสุเรนท์และวัดพระรามเก้า
รวมทั้งให้ประสานานกับคณะอนุกรรมการเกษตรอินทรีย์และสภาเกษตรอินทรีย์PGSแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนโครงการเคหะดินแดงซึ่งเป็นอีกพื้นที่ที่การเคหะพร้อมเปิดตลาดเกษตรปลอดภัยเกษตรอินทรีย์านกับคณะอนุกรรมการเกษตรอินทรีย์และสภาเกษตรอินทรีย์PGSแห่งประเทศไทยเพื่อให้เกิดความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เชื่อมโยงการทำงานในการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเป็นการสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
สำหรับการประชุมครั้งนี้มี นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย นายดุลมลชัย วิวัฒน์บวรวงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ นายเอนก โคตรพรมศรี ผอ.กองจัดการสิ่งแวดล้อม ฝ่านนโยบายและแผน การทางพิเศษแห่งประเทศไทย นางฉวีวัณณ์ วิชชุภานันท์ ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม และที่ปรึกษาอาวุโส SCG พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมธนารักษ์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร สำนักพัฒนาสังคม สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุม โดยมีนางศนิษา พงษ์พิทักษ์ หัวหน้าสวนจตุจักร ทำหน้าที่แทนเลขานุการฯ .
พิสิษฐ์รื่น เกษมข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์โทร 099-339-6444 รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น