วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กรมบังคับคดีเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดีพบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.11

 กรมบังคับคดีเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดีพบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.11



เมื่อวันที่ 11 ต.ค. เวลา 13.30 น. นางทัศนีย์ เปาอินทร์ อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมกับ ดร.สาลินี ขจรไพร และคณะผู้วิจัย บริษัท พีเอเอส คอนชัลแทนท์ แอนด์ รีเซิร์ช จำกัด แถลงผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยผลจากการสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ย 9.11 คะแนน เชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวมซึ่งสูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2564



อธิบดีกรมบังคับคดี เปิดเผยว่า ภารกิจหลักของกรมบังคับคดีเป็นการบังคับคดี ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เป็นกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมาย ให้ความเป็นธรรม โปร่งใส และอำนวยความสะดวกแก่คู่ความทุกฝ่ายในคดี รวมถึงประชาชนผู้รับบริการ ตามแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 3 ปี (พ.ศ.2563-2565) ของกรมบังคับคดี กำหนดยุทธศาสตร์ การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์การและยกระดับธรรมาภิบาล โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีภาพลักษณ์องค์การ ที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส เป็นธรรม เสมอภาคและทันสมัยเป็นองค์การมีระบบการบังคับคดีที่มีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นถึงความต้องการ และความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลักสำคัญ และเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนา อย่างต่อเนื่องไปสู่ “การพัฒนาองค์กรตามนโยบาย Change Better To Be LED 5 G”

ดังนั้น การนำความเห็นจากผู้รับบริการผู้มีส่วนได้เสียมาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพของงานราชการ

และบริการประชาชน เพื่อเป็นการสนับสนุนการปรับปรุงการให้บริการโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง




ด้าน ดร.สาลิณี กล่าวว่าการวิจัยสำรวจครั้งนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบังคับคดี ใน 7 กระบวนการ ได้แก่ 1.กระบวนการบังคับคดีแพ่ง 2.กระบวนการบังคับคดีล้มละลาย 3.กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 4.กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี 5.กระบวนการติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย 6.กระบวนการประมูลซื้อทรัพย์/การขายทอดตลาด และ 7.กระบวนการวางทรัพย์ และสำรวจการรับรู้ การใช้และความพึงพอใจของเครื่องมือที่กรมบังคับคดีจัดทำขึ้น โดยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี จากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 2,587 รายทั่วประเทศ โดยการสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 ลักษณะ คือ การสำรวจด้วยแบบสอบถาม การจัดสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสรุปผลการสำรวจได้ ดังนี้

ความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม 9.11 คะแนน ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการวางทรัพย์ สูง​สุด 9.45 คะแนน ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดี โดยภาพรวม 9.32 คะแนนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการวางทรัพย์สูงสุด 9.62 คะแนน



จากผลการสำรวจการรับรู้บทบาทหน้าที่และการทำงานของกรมบังคับคดีที่ส่งผลดีหรือเป็นประโยชน์ 8.37 คะแนนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี เปิดโอกาสให้เข้าทางความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม, 8.31 คะแนน ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา (เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้) และ 8.24 คะแนน ช่วยส่งเสริมสภาพคล่อง และการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการผลักดันทรัพย์สินออกสู่ระบบ เช่น การขายทอดตลาด


ด้านอธิบดี​กรมบังคับคดี เปิดเผยว่าจากการประเมินเห็นได้ว่าการรับรู้ข่าวสารนั้นสำคัญที่สุด แม้ว่าปีที่ผ่านมากรมบังคับคดีสามารถ​ทำภารกิจได้สูงกว่าเป้าหมาย สามารถผลักดันทรัพย์สิน​ออกได้ 2แสนกว่าล้านบาท สามารถบังคับดำเนินคดีได้ 4 แสนกว่าคดี และสามารถไกล่เกลี่ยคดีกว่า




4 หมื่นครั้งคิดเป็นร้อยละ 97.5 แต่จากการประเมินทำให้เห็นว่าประชาชนยังไม่รับรู้ข่าวสารต่อกรมบังคับคดีเท่าที่ควร แม้ทางกรมจะจัดให้มีตลาดนัดไกล่เกลี่ยถึง 78 ครั้งก็ตาม จากนี้ไปจะต้องพัฒนาคน และพัฒนาระบบ นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเพิ่มมากขึ้นด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น