วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

วัดอรุณราชวราราม ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๕

    

วันพฤหัสบดี ที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ณ วัดอรุณราชวราราม เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร ได้มีการประกอบพิธีทางศาสนา เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา ประจำปี ๒๕๖๕ โดยพระเดชพระคุณ พระพรหมวัชรเมธี เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ได้เมตตาโปรดให้จัดพิธีขึ้นตามประพณีวันเข้าพรรษาทุกๆปี และในปีนี้วันเข้าพรรษาซึ่งเป็นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ตรงกับวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๕ มีการประกอบพิธีดังนี้

- เวลา ๑๒.๐๐ น. ทุกฝ่ายพร้อมกันที่พระวิหาร วัดอรุณราชวราราม จากนั้น พระเดชพระคุณ พระพรหมวัชรเมธี

เจ้าคณะภาค ๙ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย จากนั้น

- เวลา ๑๒.๓๐ น. ถวายสลากภัตร และผ้าอาบน้ำฝน ณ พระวิหาร



- เวลา ๑๕.๐๐ น. สัญญาณระฆังดังขึ้น

- เวลา ๑๕.๓๐ น.พระภิกษุอธิษฐานพรรษา ณ พระอุโบสถ เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีฯ





     กล่าวท้าวความถึงประเพณีการเข้าพรรษา คือเป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นและสำคัญมาก ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน วันเข้าพรรษาเป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ จนถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ วันเข้าพรรษาที่ทรงบัญัติไว้ในสมัยพระพุทกาลมีอยู่ ๒ วันคือ

๑. วันเข้าปุริมพรรษา คือวันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑

๒. วันเข้าปัจฉิมพรรษา คือวันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ไปจนถึง ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒



เมื่อเข้าพรรษาแล้วหากภิกษุมีกิจธุระจำเป็น ชอบด้วยพระวินัย ตามที่ได้มีบัญัติในสมัยพุทธกาล ก็ทรงนุญาตให้ไปได้ โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่จำพรรษาเดิมภายใน ๗ วัน ที่เรียกว่า สัตตาหกรณียะ ดังต่อไปนี้

๑. เมื่อทายกทาบิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้

๒. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้

๓. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้

๔. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้

๕. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟใหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้

๖. เมื่อชาวบ้นถูกโจรปลัน อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกซาวบ้านได้โดยให้ไปกับขาวบ้านที่มีความเสื่อมใสศรัทธา สามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้

๗. เมื่อใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำารุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้

๘. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้

๙. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกันหรีอมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้





   ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยจะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ความเชื่อในการกระทำความดีในช่วงเข้าพรรษา ซึ่งก็นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอสำหรับความตั้งใจสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น อันมีอานิสงส์ทำให้ตนเอง ครอบครัวและสังคมเกิดความสุข สงบร่มเย็น ในประเพณีวันเข้าพรรษา จะมีการหล่อเทียนพรรษาที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือน มาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำ ทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็น และในการนี้จะต้องมีธูป เทียนจุดบูชาด้วยพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุด ถือเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว

     อัตลักษณ์ (ที่โดดเด่น) วันเข้าพรรษานี้ มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชน และเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้

๑. พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยัง

สถานที่อื่นๆ แต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ

๒. การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตร ที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป

๓. เป็นเทศกาลที่พระพุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุข และความชั่วต่าง ๆ เช่น การดื่มสุราสิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น

๔. นอกจากเป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วในกิเลสต่าง ๆ แล้ว ในช่วงเวลาพรรษา พุทธศาสนิกชนทั่วไป จะบำเพ็ญหาน รักษาศีลฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น



ความสำคัญ และคุณค่าทางสังคม และทางจิตใจที่มีในวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชน นั้นๆ

สมัยก่อนประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร้ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาลพอ พระสงฆ์เข้าพรรษาก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก กอรปกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนองเต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไป ชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคจำเป็นแก่สมณะนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ใกล้

บ้านตน พระภิกษุสงฆ์แนะนำสั่งสอนให้เกิด ศรัทธาในการปฏิบัติ ตามหลักทานศีล และภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่นฯ และได้มีพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยที่ถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันสำรวจพฤดิกรรมของตนที่ผ่านมา และตั้งจิตอธิษฐานที่จะลด ละ เลิกสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ เช่น เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ การพูดจาหยาบคาย ฯลฯ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ๓ เดือน โดยใช้วันนี้เป็นวันเริ่มต้นใน

การกระทำดิ่ ซึ่งก็นับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอสำหรับความตั้งใจสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้น อันมีอานิสงส์ ทำให้ตนเอง ครอบครัว และสังคมเกิดความสุข สงบร่มเย็น สืบไป


ขอกราบอนุโมทนาบุญ

ท่าน พระครูปลัดดิลกวัฒน์ (ชุมพรนิติสาโร)

🙏พระเลขาเจ้าคณะภาค 9

🙏ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม

🙏เลขานุการวัดอรุณราชวราราม

แหล่งที่มาข้อมูลข่าวสาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น