วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2564

“ศาลทุจริตกลาง”รับนัดไต่สวนมูลคดี“วิระชัย”ยื่นฟ้อง“อดีตผบก.กองวินัย”ทำชวดเก้าอี้“เจ้ากรมปทุมวัน”

 “ศาลทุจริตกลาง”รับนัดไต่สวนมูลคดี“วิระชัย”ยื่นฟ้อง“อดีตผบก.กองวินัย”ทำชวดเก้าอี้“เจ้ากรมปทุมวัน”



“ศาลทุจริตกลาง” นัดไต่สวนมูลฟ้อง ระหว่าง “พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา” ยื่นฟ้อง “พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์” แสดงข้อมูลเท็จทำชวดถูกส่งประกวด “ผบ.ตร.” สั่งหาหลักฐานประกอบคำฟ้องให้แน่นหนาภายใน 15 วัน 

วันที่ 10 ก.ย.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ย.64 ที่ผ่านมา ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องคดีหมายเลขดำที่ อท.81/2564  ระหว่าง พล.ต..อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โจทก์ พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ จำเลย กรณี พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ ขณะดำรงตำแหน่งเป็น ผู้บังคับการกองวินัย และได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 24/2563 ลงวันที่ 21 มกราคม 2563 ตามคำสั่งของ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ขณะดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในขณะนั้น ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ดังต่อไปนี้

1. เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2563 เวลากลางวัน พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ ทำหนังสือแสดงข้อความอันเป็นเท็จเสนอต่อ จเรตำรวจแห่งชาติ ผ่านผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี โดยไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาของนิติกรกองวินัย ตามหนังสือ กองวินัย ลับ ที่ 0006.2/3031 ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2563 อาทิ ว่า “พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา ...มีพฤติการณ์ให้ข่าว... ได้ตัดประเด็นเรื่องชู้สาวความขัดแย้งเรื่องส่วนตัว และขัดแย้งเรื่องธุรกิจ โดยเป็นการให้สัมภาษณ์มุ่งประเด็น Biometrics และเปิดเผยความลับเกี่ยวกับคดี ...เป็นการเสื่อมเสียชื่อเสียงต่อเกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง หน้าที่อย่างร้ายแรง พฤติการณ์และการกระทำเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง” ซึ่งความจริงแล้ว พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา มิได้ให้สัมภาษณ์ตัดประเด็นแต่อย่างใด ทั้งยังให้สัมภาษณ์ยืนยันอีกด้วยว่า “...ครับในเรื่องนี้เราก็ ดูทุกอย่างนะครับ ขณะนี้เนี่ยเราจะยังไม่ทิ้งประเด็นใดนะครับ แต่เพียงว่าประเด็นไหนให้น้ำหนักมากน้ำหนักน้อยเท่านั้นเองครับ แล้วก็ยังดูอยู่ทุกประเด็นครับ อย่างที่ท่านถามมาสักครู่นั้น เราก็ตรวจสอบอยู่เช่นเดียวกันครับ...” จึงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงสร้างหลักฐานอันเป็นเท็จเข้าสู่สำนวนการตรวจสอบข้อเท็จจริง

2. เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 ระหว่างเวลาประมาณ 13.30 น. ถึง 15.30 น. พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ ในฐานะ กรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 6/2563 ว่า “การที่ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา ให้สัมภาษณ์... มีเนื้อหาเป็นการ ตัดประเด็นเรื่องชู้สาว ความขัดแย้งเรื่อง ส่วนตัว และขัดแย้งเรื่องธุรกิจ โดยเป็นการให้สัมภาษณ์มุ่งประเด็น Biometrics ว่าอยู่ระหว่างสืบสวน...” ทั้งที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ไม่มีข้อความใดในคำสัมภาษณ์ที่โจทก์กล่าวถึง Biometrics ในคำสัมภาษณ์มีเพียงนักข่าวได้ถามถึงว่า “มีประเด็นเกี่ยวข้อง ว่าเกี่ยวข้องกับทุจริต Biometrics แล้วก็ทุจริตรถไฟฟ้าอัจฉริยะ มีประเด็นนี้หรือเปล่าครับ?” เท่านั้น ซึ่ง พล.ต.อ.วิระชัย ก็ได้ตอบปฏิเสธไปว่า “...ยังสืบไปไม่ถึง...”

3. พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ กับพวกร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต สรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา โดยได้ยืนยันข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ ทั้งที่ทราบดีว่า การกระทำของ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา ไม่ได้เป็นการกระทำผิดทั้งทางอาญาและวินัย

การกระทำของ พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ ทำให้ พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถูกตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรง ถูกสำรองราชการ ทำให้โจทก์ขาดคุณสมบัติในการได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง เสื่อมเสียต่อประวัติที่ทำคุณงามความดีต่อประเทศชาติมาอย่างยาวนานกว่า 40 ปี การกระทำของ พล.ต.ต.นพพร ศุภพัฒน์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 172,173, 267 และ มาตรา 157 ฐาน เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต หลายกรรมต่างวาระกัน

พล.ต.ต.วิระชัย ทรงเมตตา จึงฟ้องคดีนี้ เพื่อเสนอศาลพิจารณาและลงโทษตามกฎหมาย



โดยการไต่สวนมูลฟ้องของศาลเป็นกระบวนการของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดี ซึ่งจำเลยต้องหาตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิอาญา มาตรา2 (12) ประกอบกับในชั้นตรวจฟ้องคดี ศาลอาจใช้ข้อเท็จจริงในรายละเอียดตามฟ้องและตามเอกสารที่โจทก์ หน่วยงานหรือบุคคลอื่นส่งต่อศาลประกอบการสั่งฟ้องด้วย อีกทั้งในการไต่สวนมูลฟ้องตาม ม.17 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.วิ ทุจริตฯให้สิทธิ์แก่จำเลยที่จะแถลงให้ศาลทราบถึงข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอันสำคัญที่ศาลควรสั่งว่าคดีไม่มีมูลได้ จึงให้โจทก์ดำเนินการดังต่อไปนี้ภายใน 15 วันนับแต่วันนี้เป็นต้นไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น