"ผบช.สอท.(CCIB)ร่วมกับเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย เปิดตัวเพจมายซิสบอท ช่วยหลือผู้ประสบความรุนแรงในครอบคร้ว ล่วงละเมิดทางเพศ!!
วันที่ 9 ธ.ค.2563 ที่ห้อง ICONLUXE LOUNGE ชั้น 1 ICONSIAM พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท.(CCIB)ร่วมกับเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่าย (สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TJ) ดีแทค และ ChangeFusion )เปิดตัวเพจ"มายซิสบอท" MySis Bot โดยการพัฒนาระบบ AI Chatbot ผ่าน facebook เพื่อช่วยเหลือผู้หญิง เด็ก และเพศทางเลือกที่ประสบความรุนแรงในครอบครั้ว รวมถึงผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศให้สามารถพูดคุย สอบถามปัญหาและแจ้งเหตุออนไลน์ผ่านเพจมายซิสบอก ตลอด 24 ชม.
พล.ต.ท.กรไชย กล่าวว่า อาชญา กรรมทางคอมพิว เตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน สามารถเกิดขึ้นจากที่ใดก็ได้ไร้พรหมแดน จึงเป็นความท้าทายของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโน โลยี เพื่อที่จะป้องกันและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ในยุคที่เรียกว่าดิจิตอลดิสรัปชั่น คือเปลี่ยนผ่านจากสังคมยุดอะพาล๊อค ไปสู่ยุคดิจิตอลอย่างเฉียบพลัน
โครงการมายซิสบอทเป็นการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่มีความเปราะบาง ได้แก่ สตรีและเด็ก โดย ใช้เป็นช่องทางใน
การสื่อสาร ให้แก่ผู้ที่ประสบเหตุความรุนแรงในครอบครัวความผิดเกี่ยวกับเพศ และภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน โดย ใช้เอไอให้คำปรึกษาแทนเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมงในเบื้องต้น และสอดรับกับการปรับตัว ในยุค new normal หรือยุควิถี ใหม่ที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทาง ไปขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในสถานีตำรวจ แต่สามารถขอคำแนะนำจากแชทบอทได้ก่อน และเมื่อผู้ใช้ได้รับคำปรึกษาในเบื้องต้นแล้ว ถ้ามีรายละเอียดมากขึ้น และหากประสงค์จะขอรับคำปรึกษา นอกเหนือจากการโทร สายด่วน ก็จะมีช่องทางขอรับความช่วยเหลือ เพื่อให้มีการประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำการช่วยเหลือต่อไป มายซิสแชทบอท จึงเป็นเสมือนแพลต ฟอร์ม ในการเชื่อมการทำงานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมเข้าด้วยกัน เช่น หน่วยงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อัยการ สหวิชาชีพที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กและสตรี เพื่อให้การทำงานเป็นระบบ ไม่ซ้ำซ้อน ด้วยแนวคิด ในการนำนวัตกรรมทางดิจิตอลมาใช้ จึงเป็นโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลง ขจัดปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และเป็นโมเดลในการประสานการทำงาน ของทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนสำคัญ ในการขับเคลื่อน ให้เกิดความยุติธรรม โดยหลักการทำงานยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลาง.!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น