วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

"กรมบังคับคดี เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบสูงถึงร้อยละ 90.2!!

 "กรมบังคับคดี เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบสูงถึงร้อยละ 90.2!!

​​       

วันที่ 5 ตุลาคม 2563 เวลา 09.15 น.นางอรัญญา ทองน้ำตะโก อธิบดีกรมบังคับคดี ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการสำรวจ ฯ บริษัท ซูเปอร์โพล จำกัด แถลงผลการวิจัยโครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยผลจากการสำรวจพบว่าร้อยละ 90.2 เชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม ซึ่งสูงกว่า ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ที่มีผลความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม ร้อยละ 88.2




​​        

นางอรัญญา ทองน้ำตะโก อธิบดีกรมบังคับคดี แถลงว่า ภารกิจหลักของกรมบังคับคดีเป็นการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล เป็นกระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง ดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด เพื่อสร้างความเป็นธรรม และอำนวยความสะดวกแก่คู่ความทุกฝ่ายในคดี รวมถึงประชาชนผู้รับบริการ ตามแผนปฏิบัติราชการ 3 ปี (พ.ศ.2563 – 2565) กรมบังคับคดีกำหนดยุทธศาสตร์การเสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรและยกระดับธรรมาภิบาล เพื่อให้มีภาพลักษณ์องค์กรที่น่าเชื่อถือ โปร่งใส เป็นธรรม เสมอภาค และทันสมัย เป็นองค์กรที่มีระบบการบังคับคดีที่มีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ โดยมุ่งเน้นถึงความต้องการและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการเป็นหลักสำคัญ และเพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่ LED - Thailand 4.0 ยกระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนตามนโยบายการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน เสริมสร้างความเชื่อมั่นของการบังคับคดี สนับสนุนให้ประเทศ ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมั่งคั่ง ยั่งยืน จึงทำให้กรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานภาครัฐต้นแบบการสร้างและพัฒนากำลังคนภาครัฐเชิงกลยุทธ์เพื่อนำไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์  ดังนั้น การนำความเห็นจากผู้รับบริการผู้มีส่วนได้เสียมาปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพของงานราชการและบริการประชาชน เพื่อเป็นการสนับสนุนการปรับปรุงการให้บริการโดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง จึงให้มีการสำรวจวิจัย "โครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563" โดยมอบหมายให้บริษัท ซูเปอร์โพล จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตามโครงการนี้ เพื่อให้การสำรวจมีความเป็นมาตรฐาน น่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับ มีความเป็นกลาง และปราศจากอคติ ในการสำรวจจึงต้องมีผู้ประเมินอิสระจากหน่วยงานภายนอกเป็นผู้ดำเนินการ




          

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพดล กรรณิกา หัวหน้าโครงการสำรวจ ฯ แถลงว่า การวิจัยสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบังคับคดี ใน 7 กระบวนการ ได้แก่ 

1.กระบวนการบังคับคดีแพ่ง 

2.กระบวนการบังคับคดีล้มละลาย 3.กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ 

4.กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี 

5.กระบวนการติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย 

6.กระบวนการประมูลซื้อทรัพย์/

ขายทอดตลาด และ 

7.กระบวนการวางทรัพย์

           

โดยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี จากกลุ่มประชากรเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 3,458 รายทั่วประเทศ โดยการสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการเก็บข้อมูล 3 ส่วน คือ

การสัมภาษณ์แบบเผชิญหน้า (Face-to-face Interview) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยสรุปผลการสำรวจได้ ดังนี้





​​1.ความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม 

▪️ร้อยละ 90.2 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวน การบังคับคดีโดยภาพรวม

▪ร้อยละ 89.7 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีแพ่ง

▪ ร้อยละ 85.6 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีล้มละลาย

▪ ร้อยละ 84.7 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

▪ ร้อยละ 86.2 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

▪ ร้อยละ 84.6 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย

▪ ร้อยละ 87.0 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการประมูลซื้อทรัพย์/การขายทอดตลาด

▪ ร้อยละ 85.7 มีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการวางทรัพย์

   

2.ความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดี ในแต่ละกระบวนการ

▪ ร้อยละ 90.4 กระบวนการบังคับคดีแพ่ง

▪ ร้อยละ 88.9 กระบวนการบังคับคดีล้มละลาย

▪ ร้อยละ 89.7 กระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้

▪ ร้อยละ 87.5 กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี

▪ ร้อยละ 90.3 กระบวนการติดตามและเฉลี่ยทรัพย์สินในคดีล้มละลาย

▪ ร้อยละ 89.7 กระบวนการประมูลซื้อทรัพย์ การขายทอดตลาด

▪ ร้อยละ 90.1 กระบวนการวางทรัพย์


3. ความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม

▪ ร้อยละ 86.8 ความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดีในภาพรวม

▪ ร้อยละ 86.6 มีความโปร่งใสในทุกขั้นตอนของการดำเนินการและบริการ

▪ ร้อยละ 87.3 ยึดหลักกฎหมายในการดำเนินการและบริการ

▪ ร้อยละ 87.4 การบังคับคดีตามคำพิพากษา หรือคำสั่งศาล เพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระหนี้

▪ ร้อยละ 89.1 ดำเนินการขายฯด้วยความโปร่งใส และไม่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ใด

 



ทั้งนี้ กรมบังคับคดีจะได้สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการที่มีต่อกระบวนการบังคับคดี อย่างต่อเนื่องต่อไปในทุกๆปี เพื่อพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความพึงพอใจให้กับประชาชนผู้รับบริการ รวมถึงเพื่อเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมบังคับคดีที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ในการเสริมสร้างการรับรู้ความเข้าใจ ความเชื่อมั่นและการสนับสนุนของสาธารณชนต่อภารกิจสำคัญในกระบวนการบังคับคดี!!

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น