เยาวชนไทย ส่งจดหมายน้อยถึงนายกรัฐมนตรี ขอยื่นมือช่วยชาติสู้ภัยโควิด-19 ผุดไอเดีย Startup สร้างธนาคารหน้ากาก ร่วมกับอาสาสมัครกว่าแสนคน ระดมทุนรับบริจาค เพื่อเปิดโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย N95 สําหรับ แพทย์ พยาบาล และหน้ากาก N95 สําหรับเด็ก แห่งแรกของประเทศไทยโดยคนไทย เพื่อบรรเทาปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน แม้ตนเองไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี 1ใน 20 ของประเทศก็ตาม
จดหมายเปิดผนึกของคุณฟ้า ปรางพิสุทธิ์ แดงเดช ผู้ก่อตั้งโครงการธนาคารหน้ากาก ที่ต้องการส่งถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอความช่วยเหลือรัฐบาลในการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในการรับมือกับวิกฤติโควิด-19 ครั้งนี้ โดยคุณฟ้า ระบุว่า จากวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ภาระงานของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่คนไทยทุก คนต้องร่วมมือกัน ซึ่งคุณฟ้าเอง อาจไม่ได้เป็นมหาเศรษฐี 1ใน 20 ของประเทศ แต่ในฐานะเยาวชนไทยคนหนึ่ง เชื่อว่าการบ่นว่ารัฐบาลไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น เราจึงควรลงมือทำ และช่วยรัฐบาลเท่าที่ทำได้ จึงขอใช้แนวคิด แบบ Startup สร้างธนาคารหน้ากาก (Mask Bank) ร่วมกับอาสาสมัคร พร้อมทั้งประชาชนกว่าแสนคน ที่ร่วมระดมทุน และบริจาค (Crowdfunding & Donation ) เปิดโรงงานผลิตหน้ากากอนามัย N95 สําหรับ แพทย์ พยาบาล และหน้ากาก N95 สําหรับเด็ก แห่งแรกของประเทศไทยโดยคนไทย เพื่อแพทย์ชนบท 800 โรงพยาบาลทั่วประเทศ เนื่องด้วยความจำเป็นในการใช้หน้ากากอนามัย N95 ของแพทย์พยาบาล ที่ทํางานใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 ทำให้หน้ากากอนามัย N95 ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งโรงงานดังกล่าว คุณฟ้า ตั้งใจเปิดให้ทันในเดือนมิถุนายนนี้ และเพื่อรับมือการเปิดภาคเรียนของเยาวชน น้องๆ ที่ต้องไปโรงเรียนในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งการผลิตหน้ากากอนามัยทางการแพทย์อยู่ในการกำกับดูแลของ อย. และปัจจุบันมีผู้ผลิตในประเทศ 10 แห่ง แต่หน้ากากอนามัย N95 ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งกับแพทย์และพยาบาลที่ทํางานใกล้ชิด ผู้ป่วยโควิด-19 มีผู้ผลิตในประเทศเพียงรายเดียว และมีพันธกิจ BOI ที่ต้องส่งออกทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้นำเข้าหน้ากากอนามัย N95 ที่ถูกต้องผ่านการรับรองของ อย. มีเพียง 1 ราย และในปัจจุบันผู้นำเข้า รวมถึงผู้ผลิตดังกล่าวซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติก็ได้รับผลกระทบจากนโยบาย American First ในการส่งสินค้าให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นลําดับแรก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ผลิต และผู้นำเข้าทั้ง 2 ราย จะได้ให้ความช่วยเหลือ แบ่งปันสินค้าให้มีใช้ในประเทศไทยเท่าที่สามารถทำได้แล้ว แต่ปริมาณหน้ากากอนามัย N95 ก็ยังไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการนำเข้าแบบผิดกฎหมาย และขายสินค้าในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง อีกทั้งหน้ากากยังมีคุณภาพต่ำหรือทำปลอม โดยไม่คำนึงถึงปัญหาที่จะเกิดจากการใช้งานหน้ากากที่ไม่ได้คุณภาพเหล่านั้น
และจากการเปิดเผยของนายแพทย์ วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม เกี่ยวกับการกระจายเวชภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในการรับมือกับสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 มี รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 2-15 เมษายนที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรมได้จัดสรรกระจาย หน้ากากอนามัยให้กับโรงพยาบาลทั้งของรัฐ และเอกชนไปแล้ว จำนวน 18 ล้านชิ้น ซึ่งในปัจจุบันมีหน้ากากอนามัยอยู่กว่า 11 ล้านชิ้น มีอัตราการใช้งาน 4 แสนชิ้นต่อวัน ขณะที่หน้ากากอนามัย N95 ที่มี ความต้องการ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าไว้จำนวน 5 ล้านชิ้น ซึ่งทางองค์การเภสัชกรรมจัดสรรหาได้ ประมาณ 580,000 ชิ้น และเพื่อให้แผนการผลิตหน้ากากอนามัย N95 ดังกล่าวเป็นไปได้ตามเป้าหมาย ทางธนาคาร หน้ากาก จึงเปิดให้จองซื้อหน้ากากอนามัย N95 ได้ใน ราคา 580 บาท ต่อ 20 ชิ้น โดยเฉลี่ยราคาเพียงชิ้นละ 29 บาท ซึ่งปัจจุบันราคาขายทั่วไปอยู่ที่ชิ้นละ 60-210 บาทเพราะไม่มีการควบคุมราคา จึงทำให้ประชาชนเดือดร้อนกันถ้วนหน้า ซึ่งการจองซื้อหน้ากากอนามัย N95 จากทางโครงการจะเป็นการซื้อเพื่อการ บริจาคให้แพทย์ชนบท และเพื่อใช้งานเองในสัดส่วน #ให้1ใช้1 (ซื้อบริจาค 10 ชิ้น: ซื้อใช้เอง 10 ชิ้น) เพื่อสร้างสังคมแห่งการแบ่งปัน และสามารถจองซื้อเพื่อการบริจาค 100% ให้แพทย์ พยาบาลที่ ต้องทำงานใกล้ชิดผู้ป่วยได้มีหน้ากากอนามัย N95 ใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ อีกทั้งในระยะยาว หน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยที่มีคุณ สมบัติในการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหาที่ประชาชนยังคงต้องเผชิญต่อไป แม้ว่าจะหมดปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วก็ตาม
สำหรับโครงการธนาคารหน้ากากนี้ ก่อตั้งขึ้นมาจากปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวแบบ Startup ด้วยการเปิดระดมทุนโดยประชาชนสามารถจอง ซื้อหน้ากากอนามัยได้ในราคาชิ้นละ 2.50 บาท (ราคาควบคุมที่กรมการค้าภายในประกาศ แต่ ประชาชนหาซื้อไม่ได้จริง ต้องไปซื้อออนไลน์ในราคาสูงกว่า 8เท่าตัว) ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อใช้งานเอง และเพื่อบริจาคให้หน่วยงานสาธารณสุข ตลอดจนองค์กรการกุศลต่างๆ ในสัดส่วน 1:1 (#ใช้ 1ให้1)
ทั้งนี้ หลังจากการเปิดตัวของธนาคารหน้ากากภายใต้แคมเปญรณรงค์ #หน้ากาก 2 บาท 50 มีจริงส่งถึงบ้าน และ #ใช้1ให้1 โครงการได้รับการสนับสนุนจากประชาชนจองซื้อหน้ากากอนามัยเข้ามาจำนวนมาก ทำให้ขณะนี้โครงการสามารถสั่งเครื่องจักรในการผลิตจำนวน 4 ชุด ซึ่งจะมีกำลังการผลิต 400,000 ชิ้น ต่อวัน ส่วนปัญหาสำคัญที่สุดในกระบวนการผลิตได้แก่ปัญหาวัตถุดิบที่ขาดแคลนทั่วโลก ทางโครงการฯ ได้ประสานขอความช่วยเหลือจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่งมีสารตั้งต้นในการผลิตชิ้นส่วน สำคัญของหน้ากาก และได้รับความช่วยเหลือในการสั่งวัตถุดิบจากบริษัทผู้ผลิตใยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะทยอยส่งมอบหน้ากากให้ผู้จองซื้อ และผู้รับบริจาคได้ปลายเดือนมิถุนายนนี้ และเมื่อทางโครงการฯ ผลิตหน้ากากอนามัยให้กับผู้จองซื้อได้ครบแล้ว ธนาคารหน้ากากก็จะทำหน้าที่เป็นคลังสำรองหน้ากากอนามัย เพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และให้ประชาชนมีโอกาสใช้หน้ากากอนามัยในราคาที่เป็นธรรม แม้ว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะหมดลง แต่ปัญหาโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ และปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จะยังคงมีอยู่ ดังนั้นหน้ากากอนามัยจึงยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับยาสามัญประจำบ้านสำหรับทุกครัว เรือน ซึ่งในขณะนี้ธนาคารหน้ากากอยู่ในระหว่างการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) แบบไม่ แสวงหากำไร (Non-profit Organization) การดำเนินงานของโครงการในระหว่างนี้ เพื่อเป็นการทำงานร่วมกัน ของทีมอาสาสมัคร และการสนับสนุนของหน่วยงานรัฐ และเอกชน อาทิ ธนาคารออมสินให้การสนับสนุนในการเปิดบัญชีโครงการธนาคารหน้ากาก รวมทั้งการช่วยเหลือในการให้สินเชื่อ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ให้การสนับสนุนด้านการทำ AI image processing เพื่อควบคุมคุณภาพของหน้ากาก ,บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนด้านการจัดส่งหน้ากากจากโรงงานผลิตส่งถึงบ้าน และสมาคมร้านขายยาให้การสนับสนุนเรื่องการให้ความรู้ และคัดกรองโรคแก่ประชาชนทั่วไป โดยในระยะยาวธนาคารหน้ากาก มีแผนที่จะกระจายสินค้าผ่านสมาคมร้านขายยาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหน้ากากในราคาเป็นธรรม เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนหน้ากากที่มีผลกระทบกับผู้คนทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ และแนวคิดของธนาคารหน้ากากมีโอกาสขยายไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก เพื่อช่วยเหลือคนอื่นตามหลักมนุษยธรรมต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น