วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดสัมมนา SME หัวข้อ “พลิกความคิด...วัสดุเหลือใช้ สู่กำไรที่มองไม่เห็น”






สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
จัดสัมมนา SME หัวข้อ “พลิกความคิด...วัสดุเหลือใช้ สู่กำไรที่มองไม่เห็น”
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จัดสัมมนา SME หัวข้อ “พลิกความคิด...วัสดุเหลือใช้ สู่กำไรที่มองไม่เห็น ภายใต้งานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center)” เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการให้ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ และสาระต่างๆ ที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับการนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจต่อไป โดยมี นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ที่ห้องศาลาไทย โรงแรมแอมบาสเดอร์





นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา SME หัวข้อ พลิกความคิด...วัสดุเหลือใช้ สู่กำไรที่มองไม่เห็น ภายใต้กิจกรรมงานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SME (Knowledge Center) ว่า สสว. พร้อมสนับสนุนแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการ SME เพราะเชื่อว่า ทุนมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดสิ่งดีๆ และมีนวัตกรรมได้ในทุกมิติของกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมงานสัมมนา ภายใต้โครงการ SME KNOWLEDGE CENTER จะเป็นหนึ่งในผู้ช่วยให้ผู้ประกอบการ SME ก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่งได้ ซึ่ง สสว. ก็พร้อมช่วยส่งเสริม พัฒนา และช่วยเหลือผู้ประกอบการให้รู้ลึก รู้จริงในทุกเรื่องที่อยากรู้ไปพร้อมกัน









สสว.คาดหวังว่า คลังข้อมูลองค์ความรู้สำหรับผู้ประกอบการ หรือ SME Knowledge Center นี้ จะเป็นศูนย์รวมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือให้คำปรึกษาด้านธุรกิจตามที่ผู้ประกอบการมีความต้องการ โดยคาดว่า จะมีผู้เข้ารับการพัฒนาองค์ความรู้ตลอดทั้งปี 2562 ไม่น้อยกว่า 4,000 ราย ซึ่งคาดว่าในปีแรกนี้ จำนวนการเข้าใช้บริการคลังข้อมูลองค์ความรู้ ไม่ต่ำกกว่า 200,000 ครั้ง
โครงการนี้มีสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยร่วมดำเนินงาน ซึ่ง สวทช. ก็มีแนวคิดในการศึกษาด้านนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าและการบริหารจัดการของเสียและวัสดุเหลือทิ้งในอุตสาหกรรมการผลิต ช่วยก่อให้เกิดรายได้จากการเพิ่มมูลค่ากากของเสีย นับว่า เป็นการพลิกจากปัญหาสู่โอกาสอย่างแท้จริง และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและ ถือว่า เป็นการตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจตามหลัก Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก
ด้าน นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า งานสัมมนาครั้งนี้ เกิดจาก สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการผลิตผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมไทยได้เห็นถึงปัญหาและความต้องการในเรื่องการบริหารจัดการและการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม จึงเกิดแนวความคิด





ต้องการนำเทคโนโลยีและงานวิจัยและพัฒนาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งไปใช้ประโยชน์ในรูปพลังงาน หรือ แปลงเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้แนวคิด “พลิกความคิด” ทั้งนี้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและความยั่งยืนในท้ายที่สุด ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งของรัฐบาลที่มีแนวคิดในการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG” โดย B ย่อมาจาก Bioeconomy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ C ย่อมาจาก Circular economy ก็คือ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ G ย่อมาจาก Green economy นั่นก็คือ เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งรัฐบาลมุ่งมั่นจะนำแนวคิดเศรษฐกิจ ทั้ง 3 มาหลอมรวมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และตอบรับการดำเนินธุรกิจตามหลัก Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน
ส่วน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็ได้กล่าวถึงเรื่อง Upcycling : “การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยดีไซน์สร้างสรรค์” และการนำเสนอ “นวัตกรรมผลงานวิจัย สวทช. การเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร” NSTDA Innovative Research from Industrial and Agricultural Waste ว่า การปรับเอาวัสดุเหลือใช้มาสร้างสรรค์ ด้วยการแปลงวัสดุเหลือใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามหน้าที่เดิมให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สูงขึ้น ช่วยชุบชีวิตสิ่งของเหลือใช้ที่ดูไร้ค่าให้กลับมามีราคาและมีความหมาย หรือการนำเศษวัสดุมาสร้างสรรค์ สร้างไอเดียต่อยอดสินค้าจนเปี่ยมด้วยคุณค่ามากขึ้น
และ ดร.ธัญญวัฒน์ เกษมสุวรรณ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม (Global Innovation Incubator) บริษัท ไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตผลพลอยได้ของอาหารทะเลผ่านนวัตกรรม Creating Seafood Co-Product Value Through Innovation เนื่องจากประเทศไทย มีศักยภาพที่จะผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมในด้านอุตสาหกรรมอาหารโลก ด้วยจุดแข็งด้านวัตถุดิบที่หลากหลาย รวมถึงผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารทะเลผ่านนวัตกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น