วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
คณะกรรมการวิสามัญ กทม.เร่งศึกษาแนวทางการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๒
คณะกรรมการวิสามัญ กทม.เร่งศึกษาแนวทางการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๒
วันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น ๘ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ๒ (ดินแดง)พล.ต.ต.ประสพโชค พร้อมมูล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญ ศึกษาแนวทางการพัฒนาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City)พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการ โครงการ Smart City กทม.โดยมีนายฐาวสุเหม เลิศสุรสีห์(พญาต่อ)นายกสมาคมสื่อมวลชน ดิจิทัล/บรรณาธิการบริหาร นสพ.เซเว่นเดย์นิวส์/เซเว่นเดย์นิวส์ ออนไลน์,นายประวิทย์ จุลวัฒนพงษ์, กรรมาธิการ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ดร.สกุลรัตน์ ทิพย์วรรณงาม,นายวงศ์วริศ ศิลป์ประสิทธิ์,นายคำมูล บุตแสน,นายณรงค์ ปานนอก,นางจินตนา ผ่องแผ้ว,นายพิเชษฐ์ ศรีวรกุล,และนางสาวสุนทรี เสริญสุขสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและฟื้นฟู,
การประชุมครั้งนี้มีระเบียบวาระการประชุม ๒ ระเบียบวาระ มีประเด็นสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
๑.การพัฒนาชุมชน การค้าภายใน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย สมาคมการผังเมืองไทย สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อผลักดันขับเคลื่อนให้เกิดการเป็นพื้นที่ Smart City ในกรุงเทพมหานคร
๒.๑ การนำเสนอข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กรมการพัฒนาชุมชน
ผู้แทนกรมการพัฒนาชุมชนนำเสนอข้อมูล OTOP ที่เป็นไปตามรัฐบาลได้กำหนดไว้เพื่อเป็นกลไกในด้านท่องเที่ยว เป็น OTOP ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน สู่สากล (INTER) โดยการบริการให้ลงทะเบียนได้ตลอดทั้งปี แนวความคิดในการดำเนินการจัดทำ OTOP คือ One Tumbon One Product
- กรมการค้าภายใน
ผู้แทนกรมการค้าภายในนำเสนอข้อมูลการผลิตสินค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ตามชาติ รสนิยม การบริโภคสินค้า OTOP จึงจำเป็นต้องแบ่งเกรดให้สอดคล้องกับตลาด ตัวบุคคล ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาสินค้าออนไลน์ เชื่อมต่อกับตลาดสดที่มีการประกวดให้มีความสะอาดและมีมาตรฐาน ตลาดชุมชน ตลาดประชารัฐ ตลาดต้องชมที่ร่วมมือกับภาคเอกชน ในกรุงเทพมหานคร มี ๖ การนำสินค้า Matching ระหว่างภาคในประเทศ และร่วมกันกับตลาดประชารัฐ ที่นำสินค้าผลิตภัณฑ์นำมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างภาคให้ทั่วถึงกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในมีการบริการคุ้มครองผู้บริโภคและสายด่วนบริการ
- บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)ผู้แทนบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำเสนอข้อมูลเครือข่ายของปตท ในแต่ละด้าน Faculties Management ด้านการบริหารจัดการมี Energy Complex Head Quarter โรงเรียนกำเนินวิทย์ โรงเรียนในระดับไฮสคูล และมหาวิทยาลัยในระดับปริญญาโทปริญญาเอก ทำหน้าที่มอบทุนให้เด็กที่เรียนดีเข้ามาศึกษาและจบไปเข้ามาทำงานในเครือ ปตท. สถาบันวิจัยน้ำมันพลังงานของ ปตท และกิจกรรมโครงการปลูกป่า พื้นที่ป่าในกรุงและให้ข้อมูลความรู้กับประชาชน ธุรกิจด้านกาแฟ ร้าน Amazon มูลนิธิด้านการวิจัย เครือบริษัทด้านการออกแบบอาคารที่มีการออกแบบอาคาร ภูมิทัศน์ที่ลดพลังงาน พลังงานสะอาด และชีวอนามัย
Energy Complex หรือศูนย์ เอ็นโก ด้านบนอาคารติด Zolar Cell การจัดการ Water Recycle การจัดการน้ำในสุขาและน้ำรดต้นไม้ Light Sensor และ Sensor Motion การจัดการเรื่องไฟฟ้า ลิฟท์ การบริการตามการ์ด การปรับอากาศให้อุนหภูมิในพื้นที่ที่ส่วนมีคนและบุคคลที่ให้อุนหภูมิไม่เหมือนกัน พลังงานที่มาจากเศษอาหารผลิตก๊าซธรรมชาติ และ EV Shutter Bus มีการจัดการคัดแยกขยะ
Bioplastic ที่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ช้อน แก้ว มีใช้ในพิ้นที่คาเฟ่ Amazon และ Major Cineplex
Electricity การขายไฟฟ้าจากแผงโซลาเซลล์ที่เป็นตัวผลิตมีแผนการติดตั้งทุกสถานีน้ำมัน ปตท
Mobility เรื่องของ E Bike / E Bus
Digital Solution การติดเซ็นเซอร์ที่ถังขยะ สามารถลดจำนวนแม่บ้าน
Digital Solution การจัดทำ Boat Tracking at Phasi Charoen Canal เซ็นเซอร์ติดตั้งแอพพลิเคชั่นการรอเรือโดยสาร และแอพพลิเคชั่นบริการรถที่สถานีหมอชิต PTT HQ Mo Chit Shuttle Van Dashboard
- สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยามนำเสนอข้อมูล Green City และ Smart City ที่สมาคมได้ทำการศึกษา และสมาคมได้มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ความอำนวยความสะดวก ด้านการออกแบบ การจัดการพื้นที่อาคาร เพื่อให้เป็น Smart City
- สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย
การดำเนินการสมาคมฯ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การทำให้พื้นที่เมืองมีอุณหภูมิที่ต่ำลง Reduce Heat Effect มุ่งเน้นเป็นพื้นที่สีเขียวที่ใช้งานได้จริง งานศึกษาด้านต้นไม้ลดมลพิษ ลดฝุ่น การเชื่อมต่อการสัญจร โดยการออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อระหว่าง Public Space พื้นที่เอกชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เน้นการวางผังแบบกระฉับ การฟื้นฟู Community Park เป็นบริเวณ เช่น พื้นที่ใต้ทางด่วน พัฒนาให้เป็นพื้นที่สีเขียวไม่ทรุดโทรม สวนเล็ก ๆ จุดตัดถนน ทางเท้า เกาะกลางถนน ที่ออกแบบ Linear Open Space เข้าหากันเพื่อความสวยงาม แนวคิด Vertical Green ประดับออกแบบในพื้นที่อาคาร ที่ลดการใช้พลังงานลงได้ สร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลักษณะ Green Surface และยังมุ่งเน้นเรื่อ Roof Green ซึ่งในต่างประเทศมีการส่งเสริมและมีผลตอบแทนทางด้าน FAR BONUS
- สมาคมการผังเมืองไทย
ติดภารกิจไม่ได้เข้ร่วมประชุม
- สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร
ผู้แทนจากสำนักการวางผังและพัฒนาเมืองนำเสนอข้อมูลระบบภูมิสารเสนเทศเพื่อการจัดการข้อมูลเมือง เพื่อใช้บริหารเชิงพื้นที่ การนำเสนอข้อมูล GIS ชั้นข้อมูลฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร การใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลภาพถ่ายอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียม ปี ๒๕๖๑ มีการบูรณาการข้อมูลในกรุงเทพมหานคร การพัฒนาแอพพลิเคชั่น การขออนุญาตอาคารและการปลูกสร้างตามประเภทสี ตามใบอนุญาต ข้อมูลการออกเลขรหัสประจำบ้าน การให้บริการภูมิสารสนเทศ บริการรังวัด และยังมีศูนย์ข้อมูลทางด้านภูมิสารสนเทศ การตรวจสอบผังเมืองรวม ระยะถอยร่น ขอบเขตแนวถนน การปลูกสร้าง ข้อกำหนด มีการบริการที่เสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย ขณะนี้อยู่ในการดำเนินการโครงการปรับปรุงข้อมูลแผนที่เชิงเลขมาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ และจัดทำข้อมูลภูมิประเทศ
นำเสนอแผนที่เขตปทุมวัน เขตบางรัก (สภากทมข้อเพิ่มเติมเขตวัฒนา) นำเสนอข้อมูลแผนที่ คือ แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินจำแนกตามสีกิจกรรม
ในที่ประชุมมีข้อคิดเห็นดังนี้
ทั้ง ๓ เขต คือ ปทุมวัน บางรัก สีลม นั้นเป็นอย่างไร และจะนำสมาร์ทซีตี้ทั้ง ๗ ด้านครอบลงไป แล้วจะทำอย่างไรจะแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ เรื่องสิ่งแวดล้อม การทิ้งขยะ หรือชุมชนแออัดได้อย่างไร ในลักษณะ Before และ After และทางสภากทม มีความต้องกสารที่จะดำเนินการจัดประชุมกับประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน ให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ และร่วมบูรณาการทุกภาคส่วนกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้ามาร่วมดำเนินการ เพื่อต้องการให้กรุงเทพมหานครในอนาคตว่าจะเจริญไปในทิศทางใด เพื่อที่จะได้นำเสนอสภา กทม ฝ่ายบริหาร กทม และนำเสนอรัฐบาล
คำว่า Road Map จะต้องมี Out Put ที่มีอำนาจวางผังเมือง และมีการมีส่วนร่วมประชาชนตามรัฐธรรมนูญ พันธกิจหลักของสำนักผังเมืองแม้ว่าจะไม่มี Road Map ก็จะต้องดำเนินการ การพัฒนาผังเมืองจะต้องดำเนินการแบบพลวัตร และดำเนินการร่วมกับสมาคมสถาปนิก ภูมิสถาปนิก และควบคุม รวมถึงสำนักการโยธา ที่ทำงานให้มี Road Map อย่างมีทิศทาง
- สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
จากข้อมูลที่ได้นำเสนอในสภากรุงเทพมหานคร โดยมีสำนักงานเขต ๒๐ เขต ได้มานำเสนอข้อมูลความสำคัญ พื้นที่การท่องเที่ยว สภาอุตสาหกรรมฯ มีพื้นที่เป้าหมายที่จะลงสำรวจพื้นที่ คือ สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักงานเขตพระนคร และสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยกำหนดแผนการดำเนินการที่จะประสานขอความร่วมมือดำเนินการกับสำนักงานเขต ๓ สำนักงานเขต โดยการจัดเส้นทางท่องเที่ยว หาพื้นที่จุดเด่นที่ดึงดูดและจะแยกในลักษณะการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ที่ดึงดูดแบบท่องเที่ยววัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร และยังได้มีการแยกพื้นที่ท่องเที่ยวออกเป็นระดับประเทศ และในประเทศ คำนึงถึงการสร้าง Campaign ที่ดึงดูด ระยะเวลาดำเนินการระยะเวลา ๒ เดือน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น