จากการสืบสวนทราบว่ามิจฉาชีพกลุ่มนี้ คือ บริษัท
มาร์เก็ตเทียร์ เซอร์วิส จำกัด โดย นายพิตตินันท์ มีธง
กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท , นายธนัตถ์ บวรภัทรนันท์
นายพิเชษฐ์ หรือพัชรนันท์
โรจนเสถียร กับพวก โดยนายธนัตถ์ฯ
และนายพิเชษฐ์ฯ กับพวก
มีหน้าที่ร่วมกันชักชวนหาผู้ลงทุนเกร็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ(Forex)
โดยการโพสต์เฟซบุ๊ค ชื่อ “EA ARBITRAGE” การันตีกำไร
ผลตอบแทนสูง ร้อยละ 25-40
ต่อเดือน หรือ ร้อยละ 5-15 ต่อสัปดาห์
ถ้าได้กำไรสามารถถอนกำไรได้ทุกสัปดาห์ หากขาดทุนจะเยียวยาให้เท่ากับเงินลงทุนที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนไป
จะต้องลงขั้นต่ำจำนวน 500-10,000 ดอลล่าห์สหรัฐ (คิดอัตรา 1 เหรียญต่อ 33.80 บาท) ถ้าได้ผลตอบแทน 100 เปอร์เซ็นต์ ผู้ลงทุนจะได้รับ 70 เปอร์เซ็นต์
หักค่าเทรดจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์ และค่าดูแลระบบคอมพิวเตอร์
เดือนละ 700 บาท
มีผู้เสียหายจำนวนมากหลงเชื่อโอนเงินไปยังบัญชีของกลุ่มผู้ต้องหา
ซึ่งในช่วงแรกได้รับผล ตอบแทนจริงตามที่กำหนด
ต่อมากลุ่มผู้ต้องหาไม่จ่ายผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้
ผู้เสียหายบางรายถูกเทรดจนพอร์ทการลงทุนติดลบ
บางรายไม่สามารถถอนผลกำไรจากพอร์ทการลงทุนได้ โดยกลุ่มผู้ต้องหาอ้างว่าระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหา
และหากผู้ลงทุนต้องการถอนผลกำไรจะต้องหาผู้ร่วมลงทุนได้เพิ่มเติมจึงจะถอนผลกำไรได้
หรือได้รับการเยียวยาคืนเงินต้นที่ลงทุนไป
และบางรายถูกกลุ่มผู้ต้องหาปิดพอร์ทการลงทุนไป
พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
ได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับผู้ต้องหาต่อศาลอาญา ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกง,ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน,โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง,ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
และนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน
หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”
ต่อมาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562
เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.)
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจภูธร
ภาค 1 , 5 และกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้บูรณาการกำลัง เข้าตรวจค้นที่ตั้งบริษัท มาร์เก็ตเทียร์ เซอร์วิส จำกัด บ้านพักผู้ต้องหา และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา จำนวน 6 จุดทั่วประเทศ จับกุมผู้ต้องหาทั้ง 3 รายในคดีนี้ ตรวจยึดทรัพย์สินมีค่าซึ่งเชื่อว่าได้มาจากการกระทำความผิด มูลค่าประมาณกว่า 22 ล้านบาท นำตัวผู้ต้องหาทั้งสองส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ความผิดฐาน
"ร่วมกันฉ้อโกง"ระวางโทษ "จำคุกไม่เกิน3 ปี
ปรับไม่เกิน 60,000บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ"ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 83 ความผิดฐาน
"ฉ้อโกงประชาชน" ระวางโทษ
"จำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ความผิดฐาน
"ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน" ระวางโทษ "จำคุก 5 - 10 ปี ปรับ 5แสน - 1 ล้านบาท
และปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่" ตาม
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 มาตรา 4 , 5 , 12
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ความผิดฐาน
"นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน
หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ
โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน" ระวางโทษ "จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ" ตาม
พ.ร.บ.ว่าด้วย การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2560 มาตรา 14(1)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น