วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ วอนนายกเมตตาให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน



ด้วยเครือข่ายผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ ได้รับทราบปัญหาจากผู้ประกอบการรถตู้โดยสารประจำทาง ว่าได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราชการกำหนดเงื่อนไขของตัวรถและการเดินรถที่มีมากเกินความจำเป็น จนทำให้ประสบปัญหาต่างๆในการจัดการเดินรถอย่างมากมาย เกิดภาวะขาดทุนจากการประกอบกิจการ จนไม่สามารถจัดการเดินรถให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี มีมาตรฐานการขนส่งได้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะทั้ง ๔ หมวด และเกิดการพัฒนาด้านงานขนส่งผู้โดยสารประจำทางอย่างยั่งยืน อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางสังคม เครือข่ายฯจึงใคร่ขอให้รัฐบาลพิจารณาให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการรถตู้โดยสารสาธารณะ ดังนี้ ขอความกรุณาให้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเรื่องอายุการใช้งานของรถตู้(รถโดยสารมาตรฐาน ๒ จ(รถตู้) ให้เพิ่มขึ้น จากเดินที่ทางราชการกำหนดให้รถโดยสารมาตรฐาน ๒ จ(รถตู้) สามารถใช้งานได้เพียง ๑๐ ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรกและห้ามนำรถที่ได้จดทะเบียนแล้วและมีอายุการใช้งานมาแล้วเกิน ๒ ปี มาใช้เดินรถประจำทาง เป็น ให้สามารถใช้รถตู้โดยสารที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน ๑๕ ปีนับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก และให้สามารถนำรถที่จดทะเบียนและมีอายุการใช้งานมาแล้วไม่เกิน ๑๕ ปี สามารถนำมาใช้เดินรถประจำทางได้ แต่ต้องได้รับการตรวจสภาพรถให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานของกรมการขนส่งทางบก ขอให้ช่วยเหลือรถตู้กลุ่ม ม.๒ จ (ช) ซึ่งเคยได้รับการช่วยเหลือจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คชส) ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ ให้สามารถนำรถตู้ที่ผิดกฎหมายจัดการเดินรถโดยสารประจำทางได้ แต่มีกำหนดเงื่อนไขไว้ว่าให้มีสัญญาการเดินรถร่วมกับทางราชการได้เพียงตามอายุการใช้งานของรถ ๗ ปี แต่สัญญาเดินรถจะสูงสุดไม่เกิน ๗ ปี โดยขอให้ใช้เงื่อนไขเดียวกับ ข้อ ๑ ขอให้ทางราชการพิจารณาให้มีรถตู้ มาตรตราฐาน ๒ จ ไว้ในสาระบบมาตรฐานของรถโดยสารประจำทางขอให้พิจารณาคงสิทธิ์ให้แก่ผู้ประกอบการรถร่วม บริษัท ขนส่ง จำกัด ที่เคยร่วมเดินรถกับทางราชการและได้ยกเลิกสัญญาไปแล้ว เนื่องจากเงื่อนไขรถหมดอายุการใช้งานตามข้อกำหนดเดิมของทางราชการ ให้สามารถนำรถตามข้อ 1 มาร่วมเดินรถกับ บริษัท ขนส่ง จำกัด ได้ดังเดิมขอให้รัฐบาลพิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการร่วมหลายฝ่าย ซึ่งอาจประกอบด้วย ตัวแทนจากทางราชการ ตัวแทนจากรัฐวิสาหกิจเจ้าของสัญญาและผู้แทนจากผู้ประกอบการรถร่วม เพื่อรับทราบข้อมูล ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามประเมินผล ร่วมตรวจสอบ รวมทั้งร่วมการพิจารณาเปลี่ยนแปลง แก้ไข นโยบายต่างๆ เพื่อนำไปสู่ภาคปฏิบัติที่เป็นการยอมรับของทุกฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น