ตามนโยบายของรัฐบาล ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติกวดขันจับกุมกลุ่มชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยโดยการแฝงตัวเป็นนักท่องเที่ยว เพื่อเข้ามาก่ออาชญากรรมข้ามชาติและอาชญากรรมที่กระทบกับความมั่นคงต่อภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวของประเทศไทย นั้น
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้สนองนโยบายรัฐบาล ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และกองบัญชาการตำรวจนครบาล นำโดย พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. , พล.ต.ท.ธีรพล คุปตานนท์ ผบช.ทท. , พล.ต.ต.กฤตธาพล ยี่สาคร รอง ผบช.ทท. , พล.ต.ต.วรพงษ์ ทองไพบูลย์ ผบก.ทท.1 , พล.ต.ต.พนัญชัย ชื่นใจธรรม ผบก.สส.สตม. , พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง ผบก.ตม.3 , พ.ต.อ.ศารุติ แขวงโสภา รอง ผบก.ทท.1 , พ.ต.อ.เกื้อกมล ดวงประทีป ผกก.1 บก.ทท.1 , พ.ต.อ.อัครวุฒิ ธานีรัตน์ ผกก.สน.ลุมพินี ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจออกปฏิบัติการออกระดมกวาดล้างอาชญากรรม โดยการบูรณาการร่วมหน่วยต่าง ๆ
วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เจ้าหน้าที่ตำรวจ สตม. , เจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยว กก.1 บก.ทท.1 และ สน.ลุมพินี ร่วมกันจับกุมผู้ต้องหาแกงค์ล้วงกระเป๋า ชาวกัมพูชา จำนวน 6 คน คือ
1) นายโยบ ลี อายุ 39 ปี (หัวหน้าแกงค์-ดูต้นทาง)
2) นายคง สินาด อายุ 39 ปี (ดูต้นทาง,ซุกซ่อนทรัพย์สิน)
3) น.ส.รี คาม อายุ 31 ปี (ทำหน้าที่ ยืนล้อมผู้เสียหาย)
4) น.ส.พาด เซรอ อายุ 28 ปี (ทำหน้าที่ ยืนล้อมผู้เสียหาย)
5) น.ส.มูน มอม อายุ 25 ปี (ทำหน้าที่ ยืนล้อมผู้เสียหาย)
6) น.ส.เอ (นามสมมติ) อายุ 17 ปี (ทำหน้าที่ ลักเอาทรัพย์สินจากเหยื่อ)
ตรวจยึดของกลาง
- โทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อไอโฟน รุ่น 6 เอสพลัส จำนวน 1 เครื่อง (ราคาประมาณ 16,500 บาท)
โดยกล่าวหาว่ากระทำความผิดฐาน “ร่วมกันลักทรัพย์หรือรับของโจร”
ซึ่งเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 กลุ่มผู้ต้องหาข้ามแดนมาจากประเทศกัมพูชา แล้วนัดหมายเดินทางมาก่อเหตุที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอโศก โดยหาเหยื่อที่ไม่ได้ระมัดระวังทรัพย์สิน กระทั่งเวลาประมาณ 17.00 น. กลุ่มผู้ต้องหาพบผู้เสียหายเป็นผู้หญิงมาคนเดียว เห็นสบโอกาสจึงเข้าก่อเหตุล้วงเอาโทรศัพท์มือถือจากระเป๋าของผู้เสียหายแล้วหลบหนีไป หลังผู้เสียหายรู้ตัวจึงได้เข้าแจ้งความ หลังจากรับแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมได้ตรวจสอบภาพวงจรปิด และออกติดตามจนสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ ในวันที่ 7 ธ.ค.61 ขณะกำลังจะมาก่อเหตุซ้ำอีกครั้ง ที่บริเวณสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอโศก
จากการสอบถามผู้ก่อเหตุให้การว่า มักจะเลือกก่อเหตุล้วงกระเป๋าตามแหล่งท่องเที่ยวที่มีคนพลุกพล่าน เช่น ห้างสรรพสินค้า และตามสถานีรถไฟฟ้า โดยเลือกเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ไม่ทันระวังตัว และชาวต่างชาติ เนื่องจากไม่ค่อยแจ้งความดำเนินคดี
ข้อสังเกต
1) เป็นกรณีที่คนร้ายชาวต่างชาติ ก่อเหตุในประเทศไทย ที่ผ่านมามีการจับกุมแกงค์ล้วงกระเป๋าชาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มองโกเลีย เวียดนาม
2) การก่อเหตุดังกล่าวส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของประเทศ กระทบถึงการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทย
3) คนร้ายมักเลือกก่อเหตุกับชาวต่างชาติ เนื่องจากชาวต่างชาติมักจะไม่สามารถสื่อสารได้ง่าย หรือผู้ที่ไม่ได้ระมัดระวังทรัพย์สิน
4) เบี้ยประกันภัยทรัพย์สิน ที่นักท่องเที่ยวต้องจ่ายสูงขึ้น เนื่องจากมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
5) บางครั้งคนร้ายได้เปลี่ยนชื่อ-นามสกุล และหมายเลขพาสปอร์ต แล้วเดินทางเข้ามาก่อเหตุ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ หากมีการนำระบบไบโอเมทริกซ์ (Biometric) มาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันคนร้ายมากขึ้นพ.ต.ต.หญิงพัชรี ศรีเผือก สว.ฝอ.5 บก.อก.สตม.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น