วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2567

ทุกภาคส่วนผนึกกำลัง ยื่นรัฐบาล 4 ข้อเสนอ เร่งเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในงาน ESG Symposium 2024

 ทุกภาคส่วนผนึกกำลัง ยื่นรัฐบาล 4 ข้อเสนอ เร่งเปลี่ยนไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในงาน ESG Symposium 2024



 กรุงเทพฯ: 30 กันยายน 2567 – รัฐบาลพร้อมผลักดันข้อเสนอเร่งเปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ เพิ่มโอกาส ชีวิตดี เศรษฐกิจโต สิ่งแวดล้อมยั่งยืน หลังรัฐ-เอกชน-ประชาสังคม กว่า 3,500 คน ร่วมแสดงพลังและระดมสมองในงาน ESG Symposium 2024 มุ่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เป็นพื้นที่ทดลองสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ โดยเร่งเดินหน้า 4 แนวทาง ได้แก่ ปลดล็อกกฎหมายและข้อกำหนด ผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว พัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว หนุนการปรับตัว เสริมศักยภาพ SMEs รัฐบาลเชื่อมั่นพลังความร่วมมือจะขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ




นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมงาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และรับฟังข้อเสนอร่วม-เร่ง-เปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ จากการระดมความคิดทุกภาคส่วน





นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา ทุกภาคส่วนรวมกว่า 3,500 คน ร่วมแสดงพลังและระดมสมองเพื่อหาแนวทางร่วม-เร่ง-เปลี่ยนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ต่อเนื่องจากการขับเคลื่อนในปีที่ผ่านมาซึ่งมีความคืบหน้าเป็นรูปธรรม ในงาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ และได้สรุปเป็นแนวทางนำเสนอต่อรัฐบาล เพื่อเร่งผลักดันให้เกิดขึ้น ผ่าน 2 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย 1.) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด พร้อมกับผลักดันระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน 2.) ใช้ ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ เมืองต้นแบบคาร์บอนต่ำแห่งแรกของประเทศไทย เป็นพื้นที่ทดลองแก้ปัญหาข้อติดขัด ทั้งในเชิงนโยบาย ระบบอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ควบคู่กับการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยสรุปเป็น 4 ข้อเสนอ ดังนี้



• ปลดล็อกกฎหมายและข้อกำหนด (Law & Regulations) โดยภาครัฐเร่งเปิดเสรีซื้อ-ขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดด้วยระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้าถึงง่ายขึ้น สำหรับโครงการพลังงานสะอาดขนาดใหญ่ กำหนดให้มีระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้า เพื่อความเสถียรยิ่งขึ้น ภาครัฐนำการจัดทำกฎหมายแม่บทว่าด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนครอบคลุมทั้งระบบ กระตุ้นการบริโภคอย่างยั่งยืน ส่งเสริมผู้ผลิตออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้วัสดุทดแทนหรือวัสดุรีไซเคิล และจัดการของเสีย กำหนดมาตรการจูงใจ เช่น ลดภาษีหรือเงินสนับสนุน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งเสริมนโยบาย ‘Green Priority’ ให้ความสำคัญกับการใช้สินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยภาครัฐนำร่องจัดซื้อ จัดจ้าง เพื่อส่งเสริมการใช้สินค้ากรีนและสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) เข้มแข็ง



• ผลักดันการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว (Green Finance) โดยสนับสนุนงบประมาณพัฒนาบุคลากรของผู้ประกอบการ เพื่อให้สามารถขึ้นทะเบียนคาร์บอน ที่เป็นมาตรฐานสากล และจัดตั้งหน่วยงานในประเทศให้สามารถรับรองมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการทำคาร์บอนเครดิต เพื่อนำไปขอเงินทุนสีเขียว โดยเอสซีจีพร้อมเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน และเป็นตัวกลางประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ



• พัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว (Technology & Green Infrastructure) โดยรัฐสนับสนุนการใช้และพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานรูปแบบต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่กักเก็บความร้อน (Heat Battery) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงโครงสร้างและผลักดันการใช้โครงสร้างพื้นฐานสีเขียวที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น นำพื้นที่ว่างมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพลังงานสะอาด และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานระบบสายส่งไฟฟ้าให้เพียงพอกับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด นอกจากนี้เร่งปรับปรุงระบบขนส่งสีเขียวครบวงจร ให้ใช้พลังงานสะอาดและประหยัดพลังงาน ลดต้นทุน ลดเวลา เช่น ใช้ระบบวิเคราะห์เส้นทาง วิเคราะห์การบรรทุกสินค้าที่เหมาะสม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกขยะ ส่งเสริมการแยกขยะเปียกและขยะแห้ง โดยจัดตั้งศูนย์คัดแยกและจัดการขยะที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม เช่น เทคโนโลยีการคัดแยก ระบบบำบัดและจัดการขยะเหลือทิ้ง



• สนับสนุนการปรับตัว เสริมศักยภาพการแข่งขัน SMEs พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดต้นทุน ส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์อัตโนมัติ (Automation) และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ SMEs


“อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าว จะเห็นผลเป็นรูปธรรมและเหมาะสมกับบริบทประเทศไทยยิ่งขึ้น หากรัฐบาลสนับสนุนการเดินหน้า ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ ต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำ ต่อเนื่องจากปีที่แล้ว เพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน (Public–Private–People Partnership) และนำทั้ง 4 ข้อเสนอมาปฏิบัติในพื้นที่จริง ซี่งจะทำให้เห็นโอกาสและข้อจำกัด แนวทางแก้ไข โดยรัฐบาลส่งเสริมกระจายอำนาจการตัดสินใจและการดำเนินงานสู่หน่วยงานในระดับพื้นที่ เพื่อลดขั้นตอนและความไม่ชัดเจนในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนทุกด้านมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะเป็นโอกาสขยายผลไปสู่จังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศในอนาคต”



นายธรรมศักดิ์ กล่าวต่อว่า “คณะจัดงานขอขอบคุณท่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่ให้เกียรติมาร่วมงาน และรับฟังข้อเสนอจากพวกเราทุกภาคส่วนในวันนี้ เพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนและมีศักยภาพทางการแข่งขันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่สละเวลา ทุ่มเท มุ่งมั่นแก้ปัญหาอย่างบูรณาการตลอดมา เอสซีจีและพันธมิตรทุกภาคส่วนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนข้อเสนอข้างต้นไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง”


นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า “ข้อเสนอในวันนี้ รัฐบาลจะรับไป สิ่งใดที่สามารถทำได้จะประสานงานโดยเร็ว สิ่งใดต้องการความร่วมมือกับส่วนที่เกี่ยวข้อง เรายินดีที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน นอกจากสิ่งที่รัฐจะทําแล้ว ภาคธุรกิจเองจะต้องปรับตัว แสวงหาโอกาส และเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อเป้าหมาย Net Zero โดยบูรณาการมาตรการเพื่อความยั่งยืน หรือ ESG เพื่อสร้างการเติบโตที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน เราทุกคนจะร่วมกันเปลี่ยนความท้าทาย แรงกดดัน และข้อจํากัด เป็นพลังในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในทุกมิติ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คือหัวใจแห่งความสําเร็จ รัฐบาลจะเร่งขับเคลื่อนทุก ๆ นโยบายสําคัญ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยไปสู่การเจริญเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”


งาน ‘ESG SYMPOSIUM 2024: Driving Inclusive Green Transition ยิ่งเร่งเปลี่ยน ยิ่งเพิ่มโอกาส’ จัดขึ้นวันที่ 30 กันยายน 2567 ณ Hall 1 ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา 11.00-16.30 น. โดยมีผู้เข้าร่วมงานจากทุกภาคส่วน และมีวิทยากรระดับโลกร่วมแบ่งปันประสบการณ์และตัวอย่างที่หลากหลายในการเปลี่ยนประเทศสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมชมนิทรรศการจำลองการใช้ชีวิตแบบโลว์คาร์บอน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.scg.com

_____


#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย

ร้อยเอ็ด-มอบบ้านตามโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ประจำปี 2567

 ร้อยเอ็ด-มอบบ้านตามโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ประจำปี 2567



         วันที่ 27 กันยายน 2567 เวลา 11.30 น.นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานมอบบ้านตามโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ประจำปี 2567

ณ บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 6 บ้านโนนเหลี่ยม ตำบลโนนตาล อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายสุรเดช วินทะไชย ผู้ใหญ่บ้านบ้านโนนเหลี่ยม หมู่ที่ 6 เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด กำนัน นายกเทศมนตรีตำบลโนนตาล พร้อมเจ้าหน้าที่ และ  อสม.ร่วมพิธีมอบ



        นายนพดล จอมเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า การมอบบ้าน ตามโครงการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย ประจำปี พ.ศ.2567 สร้างบ้านให้แก่ นางพรศิริ สอนโกษา ราษฎรบ้านโนนเหลี่ยม หมู่ที่ 6 ตำบลโนนตาล

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด นั้น เนื่องจากคุณครูส่งชื่อขอความช่วยเหลือน้องนักเรียนเด็กหญิงนนทิ

ชา สอนโกษา หลานสาวซึ่งอยู่ในความดูแลนางพรศิริ สอนโกษา ว่าได้รับความเดือดร้อนไม่มีที่อยู่

อาศัย ทางศูนย์ช่วยเหลือประชาชนตำบลโนนตาลจึงได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างบ้าน จากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อ

ส่งเสริม ช่วยเหลือครอบครัวผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาส ที่มีฐานะยากจน แต่เป็นคนดีของสังคม ซึ่งมี

ความเดือดร้อน ทางด้านที่อยู่อาศัย ที่มีความชำรุดทรุดโทรม หลังคารั่ว ให้มีความเป็นอยู่ และมี

คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงความสามัคคี และความร่วมมือร่วมใจ ในการช่วยเหลือ

สังคม ของภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ตำบลโนนตาล





        นายนพดลฯ กล่าวว่าอีก การปรับปรุงบ้านในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จำนวน 40,000 บาท เงินสมทบทุนจากผู้มีจิตศรัทธา 20,000 บาท และคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลโนนตาล สมาชิกสภาเทศบาล ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นพื้นที่ตำบลโนนตาล เพื่อจัดซื้อวัสดุและค่าก่อสร้างบ้าน และ ได้รับความร่วมมือจาก ฝ่ายปกครองท้องที่ ท้องถิ่น และจิตอาสาตำบลโนนตาล ในการสนับสนุนและจัดหาแรงงาน ตลอดจน กำกับดูแลการก่อสร้างบ้าน มีที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคงจนแล้วเสร็จ เพื่อให้ครอบครัวผู้ประสบปัญหาทางสังคม แข็งแรง และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สามารถลดปัญหาทางสังคม เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างเท่าเทียม

///

คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ

สวท.ร้อยเอ็ด

ชาติ มหาชน ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์ PSC TV news / รายงาน

#นครราชสีมา/ข่าวสีมามงคลจัดงานตักบาตรเทโว,แสงสีเสียงยิ่งใหญ่ จังหวัดมีมติเป็นงานท้องถิ่น

 #นครราชสีมา/ข่าวสีมามงคลจัดงานตักบาตรเทโว,แสงสีเสียงยิ่งใหญ่ จังหวัดมีมติเป็นงานท้องถิ่น




       เมื่อเช้า วันที่ 1  ตุลาคม 2567 นายวิโรจน์  ศรีสังข์ นายกเทศมนตรีตำบลสีมามงคล ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เผยว่า วานนี้( 30 กย.)คณะกรรมการพิจารณาจัดงานประเพณีท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา

โดยมีนายวิจิตร กิจวิรัตน์ รอง

ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบงานบุญพรรษา ตักบาตรเทโวโรหณะ ให้เป็นประเพณีท้องถิ่นของพื้นที่เทศบาลตำบลสีมามงคล ต.กลางดง ซึ่งพิจารณาแล้ว เป็นงานประเพณีที่มีการสืบทอดต่อกันมายาวนาน ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกปี รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่เป็นความเชื่อโดยรวม ไม่เป็นความเชื่อส่วนบุคคล และยังมีอัตลักษณ์ ในการจัดงาน จะจัดขึ้นในวันเสาร์แรกหลังวันออกพรรษา  มีพระพุทธสกลสีมามงคล (หลวงพ่อพระขาว) ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลทึ่ 9 ที่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่ตั้งอยู่บนยอดเขาสีเสียดอ้า ต.กลางดง มีบันไดขึ้นลงโดยรอบเป็นรูปใบโพธิ์ จำนวน 1,250 ขั้น เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนทั่วไป เป็นประเพณีท้องถิ่นในระดับจังหวัด ของจังหวัดนครราชสีมาด้วย





นายวิโรจน์ ศรีสังข์ ยังกล่าวอีกว่า งานบุญพรรษา ตักบาตรเทโวโรหณะ ที่วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานในพื้นที่โดยเทศบาลตำบลสีมามงคลเข้าไปร่วมจัดกิจกรรมตั้งแต่ ปี พ.ศ.2559 เนื่องจากช่วงเวลา นั้นพระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบต มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จสวรรค์คต จึงร่วมจัดงานเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่ออาณาประชาราษฎร์ จึงได้จัดงานประเพณีนี้จนมาถึงปัจจุบัน 

สำหรับปีนี้ กำหนดจัดงานบุญพรรษา ตักบาตรเทโวโรหณะ พระภิกษุสงฆ์ 159 รูป ในวันที่ 19 ตุลาคม 2567  ตั้งแต่เวลา 07.00 น.  ที่วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม ต.กลางดง อีกทั้งช่วงค่ำ 19 และ 20 ตุลาคม ยังมีการแสดงพุทธประวัติ งานบุญพรรษา ตักบาตรเทโวโรหณะ แสง สี เสียง ยิ่งใหญ่ สวยงาม อลังการกว่าเดิม  นักแสดงรวมกว่า หนึ่งร้อยชีวิต พร้อมการออกร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถซึมซับบรรยากาศงานประเพณี ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่น ของประชาชนในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลสีมามงคล 








จึงขอเชิญชวน 

ทุกท่านร่วมประเพณีบุญพรรษา ตักบาตรเทโวโรหณะ ในวันที่ 19 - 20 ตุลาคม นี้ ตั้งแต่เวลา07.00 น.เป็นต้นไป  ณ  วัดเทพพิทักษ์ปุณณราม (วัดหลวงพ่อพระขาว) ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา


#เทศบาลตำบลสีมามงคล

#สมาคมหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาคแห่งประเทศไทย