ประธานมูลนิธิอุ่นไอรัก เผย นำหลักศาสนาบำบัดกลัดเกลาจิตใจให้เข็มแข็ง ควบคู่กับการเสริมอาชีพ เพื่อมอบอนาคตที่ดีแก่ผู้ติดยาเสพติด
ที่มูลนิธิบ้านอุ่นไอรัก ม.1 ต.บาโลย อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบให้ นายธีรวิทย์ เธียรฆโรจน์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาเพื่อความมั่นคง ศอ.บต. นายอิบรอเหม เบ็ญนา นักจัดการงานทั่วไป ชำนาญการพิเศษ ศอ.บต. เดินทางลงพื้นที่เพื่อพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ นายอาหามะพัดลี ยูโซะ ประธานมูลนิธิบ้านอุ่นไอรัก เพื่อวางมาตรการร่วมกันในการแก้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามนโยบาย "ปฏิบัติการ 120 วัน วาระการควบคุมการใช้พืชกระท่อมในทางที่ผิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้" เพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนจากการใช้พืชกระท่อมในทางที่ผิด พร้อมทั้งได้ติดตามการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ภายในมูลนิธิอุ่นไอรัก เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านสถานที่ รวมถึงอาคารที่ใช้เสริมทักษะการฝึกอาชีพ ด้านต่าง ๆ ให้กับผู้ติดยาเสพติดที่ต้องการเข้ามาฟื้นฟูบำบัดยาดเสพติดในสถานที่แห่งนี้ โดยมาตรการในการบำบัดผู้ติดยาเสพติดแห่งนี้ ใช้หลักการ 3 ประการณ์ ก็คือ ศาสนาบำบัด ส่งเสริมด้านกีฬา และ ส่งเสริมด้านอาชีพ
ทางด้านนายอาหามะพัดลี ยูโซะ ประธานมูลนิธิบ้านอุ่นไอรัก เปิดเผยว่า บ้านอุ่นไอรักเป็นบ้านที่สร้างความรัก ความรักจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากไม่ได้มีความรักในครอบครัว ฉะนั้น บ้านอุ่นไอรักเป็นสถานที่เพื่อสร้างความรักในครอบครัวเพื่อให้หลุดพ้นจากห่วงอันตรายของยาเสพติด บ้านอุ่นไอรัก จะเน้นการใช้มาตรการ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ 1 ใช้ศาสนาในการบำบัด เพราะคนเราจะดีหรือชั่วขึ้นอยู่กับหัวใจของตัวเอง จะเล่นยาหรือไม่เล่นยา เล่นอบายมุขต่าง ๆ เมื่อหัวใจแกว่งไปในทางที่ไม่ดี ก็ทำในสิ่งที่ไม่ดีได้ ดังนั้น เอาศาสนามาขัดเกลาหัวใจ ให้หัวใจสะอาด เมื่อหัวใจสะอาดแล้วก็สามารถนำพาบุคคลนั้น หรือ กลุ่มคนนั้นไปในแนวทางที่ดีได้ 2 ใช้กีฬาบำบัด เมื่อหัวใจเข้มแข็งแล้ว หลังจากใช้ศาสนากลัดเกลาจิตใจ เราก็เอากีฬามาเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เมื่อหัวใจแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง ก็สามารถเดินต่อในชุมชนได้ และมาตาการที่ 3 ก็คือ การฝึกอาชีพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทาง ศอ.บต. และ ทางศูนย์ฝึกอาชีพ ที่มาสนับสนุนและต่อยอดให้น้อง ๆ สามารถกลับไปใช้ชีวิตต่อที่บ้าน บางคนที่อยู่ที่นี้บางรายก็มีอาชีพอยู่แล้ว เช่นเป็นช่างเชื่อม ช่างก็สร้าง บางรายเป็นผู้รับเหมา แต่เพราะฤทธิ์ของยาเสพติดทำให้กลายเป็นคนละคนไปเลย ฉะนั้น เราก็ใช้ความรู้ที่คนเหล่านี้มีอยู่ มาสนับสนุนและส่งเสริมตามที่คนเหล่านั้นต้องการ อย่าลืมว่า ทุกคนที่อยู่ตรงนี้ ก็ต้องการกลับบ้าน แต่เราจะผลักดันบุคคลเหล่านั้นกลับบ้านโดยไม่ประสิทธิภาพไม่ได้ เราต้องพัฒนาและส่งเสริมความรู้ให้บุคคลเหล่านั้นได้มีประสิทธิภาพ เพื่อกลับไปพัฒนาชุมชนต่อไป ดังนั้นเราจึงจัดความรู้ด้านต่าง ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ฝึกอบรม โดยไม่มีการบังคับ เพียงแค่ชี้ทางนำให้เห็นถึงความสำคัญในการประกอบอาชีพ เมื่อเห็นว่าอาชีพสำคัญ บุคคลเหล่านั้นก็ต้องการ ดังนั้นที่นี้มีการอบรมหลายอาชีพ ไม่ส่าจะเป็น ช่างเชื่อม ช่างก่อสร้าง ช่างกระเบื้อง ช่างฉาบ ช่างสี ช่างยนต์ ช่างไฟฟ้า เป็นต้น ดังนั้นการฝึกอาชีพ ท้ายที่สุด การมีอาชีพ จะไม่ทำให้บุคคลเหล่านั้นกลับไปสู่ในวังวนเดิม ๆ แต่ถ้าขาด 3 อย่างนี้ไป ถึงแม้จะมีอาชีพ ถ้าหัวใจไม่แข็งแรง ร่างกายไม่แข็งแรง ก็อาจกลับไปสู่วังวนเดิมได้อีก ดังนั้น 3 อย่างนี้ ก็คือ ศาสนาบำบัด กีฬาบำบัด และ ส่งเสริมอาชีพ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ถือเป็นหลักการสำคัญของ ศาสนาบำบัด
ตอริก สหสันติวรกุล รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น