วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567

สืบนครบาล รวบ หนุ่มวัย18 หัวจ่ายยาเสพติดย่านเอกมัย ตรวจค้นเจอยาบ้า พกปืนที่เอว และมีปืนลูกซองในกระเป๋า

 สืบนครบาล รวบ หนุ่มวัย18 หัวจ่ายยาเสพติดย่านเอกมัย ตรวจค้นเจอยาบ้า พกปืนที่เอว และมีปืนลูกซองในกระเป๋า

.


       ตามนโยบายของ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. , พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. ให้เร่งรัดปราบปรามอาชญากรรมที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะด้านยาเสพติดและอาวุธปืน ที่เป็นภัยสังคม นั้น

.


         เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2567 พล.ต.ท.ธิติ แสงสว่าง ผบช.น. , พล.ต.ต.ทินกร รังมาตย์ รอง ผบช.น. 

พล.ต.ต.นพศิลป์ พูลสวัสดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ ผบก.สส.บช.น , พ.ต.อ.เกียรติศักดิ์ สระทองออย ,พ.ต.อ.นิวัฒน์ พึ่งอุทัยศรี รอง ผบก สส.บช.น. พ.ต.อ.สิทธิศักดิ์ นาคามาตย์  ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น. , พ.ต.ท ณัฐวุฒิ สีเสมอ , พ.ต.ท.นิติกรณ์ ระวัง รอง ผกก.สส.2 บก.สส.บช.น. สั่งการให้ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ต.สมพร คำเกตุ สว.กก.สส.2 บก.สส.บช.น.ได้ร่วมกันจับกุมตัว 



      นายภานุวัฒน์ อ่วมสอาด  อายุ 18 ปีอยู่บ้านเลขที่ 267 ซ.นวลจิต แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ผู้ต้องหา


      โดยกล่าวหาว่า “จำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือ ยาบ้า) โดยการมีไว้เพื่อจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย, ครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, พกพาปืนและเครื่องกระสุนปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร”

.


พร้อมด้วยของกลาง

1.ยาบ้าชนิดสีแดง ประมาณ 351 เม็ด 

2. อาวุธปืนลูกซอง จำนวน 1 กระบอก (พบอยู่ในกระเป๋าสะพายสีเขียว)

3.เครื่องกระสุนปืนลูกซอง เบอร์ 12 จำนวน 3 นัด

4.อาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 9 มม. ยี่ห้อ sig sauer รุ่น p980 จำนวน 1 กระบอก(พบที่เอวของผู้ถูกจับ

5.ซองกระสุนปืน(แม็กกาซีน) ขนาด 9 มม. จำนวน 2 อัน (พบเสียบอยู่ที่อาวุธปืนจำนวน 1 อัน และพบที่กระเป๋ากางเกงข้างซ้ายของผู้ถูกจับ จำนวน 1 อัน

6.ซองใส่อาวุธปืน จำนวน 1 อัน

7.เครื่องกระสุนปืน ขนาด 9 มม. จำนวน 13 นัด

.

สถานที่จับกุม ลานจอดรถในซอย เอกมัย 24 แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ   

.


          พฤติการณ์กล่าวคือ ก่อนการจับกุม เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม ได้รับแจ้งจากสายลับว่ามีนายภานุวัฒน์ฯ (ทราบชื่อและนามสกุลภายหลัง) เป็นผู้ลักลอบจำหน่ายยาเสพติด บริเวณย่านเอกมัย แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการวางแผน ให้สายลับทำการติดต่อนายภานุวัฒน์ฯ เพื่อติดต่อขอซื้อยาเสพติด     จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจและสายลับได้เดินทางไปยัง บริเวณซอยเอกมัย 26 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นจุดที่นายภานุวัฒน์ฯ เป็นคนนัดหมาย จึงได้โทรศัพท์แจ้งนายภานุวัฒน์ฯ ว่ามาถึงยังจุดนัดหมายแล้ว ต่อมานายภานุวัฒน์ฯ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ยี่ห้อ ฮอนด้า รุ่น พีซีเอ็กซ์ มาจอดตรงประตูทางเข้าลานจอดรถ จากนั้นได้สะพายกระเป๋าสีเขียวเดินมาที่รถของเจ้าหน้าที่ตำรวจและสายลับ เจ้าหน้าที่ตำรวจและสายลับบอกให้นายภานุวัฒน์ฯ เข้ามาในรถ เพื่อทำการซื้อขายยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน หรือยาบ้า) นายภานุวัฒน์ ได้วางกระเป๋าสะพายและหยิบยาบ้าออกมาจากกระเป๋าสะพาย เจ้าหน้าที่ตำรวจและสายลับจึงได้มอบเงินจำนวน 4,000 บาท ให้กับนายภานุวัฒน์ฯ และนายภานุวัฒน์ฯ ได้รับเงินไปแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่กับสายลับ ได้ส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุมที่สังเกตการณ์อยู่บริเวณใกล้เคียง เข้าทำการจับกุม และได้แสดงบัตร ป.ป.ส. เพื่อเข้าทำการตรวจค้นจับกุม ผลการตรวจค้นจับกุมพบของกลางอยู่ในกระเป๋าสะพายสีเขียว ตรวจค้นกระเป๋าสะพายสีเขียวพบ อาวุธปืนลูกซอง ภายในบรรจุกระสุนปืน เบอร์ 12 จำนวน 3 นัด จากการตรวจค้นตัวนายภานุวัฒน์ฯ พบอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ ยี่ห้อ sig sauer รุ่น p980 และซองกระสุนปืน(แม็กกาซีน) ภายในบรรจุกระสุน จำนวน 7 นัด อยู่ที่เอวของนายภานุวัฒน์ฯ และซองกระสุนปืน(แม็กกาซีน) อีก 1 อัน ภายในบรรจุกระสุน จำนวน 6 นัด อยู่ที่กระเป๋ากางเกงข้างซ้ายของนายภานุวัฒน์ฯ

.


        ในชั้นจับกุมผู้ต้องหาให้การรับว่า ได้จำหน่ายยาเสพติดประเภทที่ 1 (เมทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า) จริง โดยจำหน่ายในราคา 4,000 บาท ส่วนอาวุธปืนลูกซองได้นำมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและสายลับดู และอาวุธปืนกึ่งอัตโนมัติ ยี่ห้อ sig sauer รุ่น p980 ตนได้พกพาติดตัวมาเพื่อไว้ใช้ป้องกันตัวเอง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้จัดทำบันทึกการจับกุมและนำตัวผู้ถูกจับพร้อมของกลาง นำส่ง พงส.สน.คลองตัน เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

.


        พล.ต.ต.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ กล่าวว่า ยาเสพติดนั้นก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆในชุมชน โดยในปัจจุบันที่ผู้คนสามารถเข้าถึงยาเสพติดได้ง่ายขึ้นผ่านโลกออนไลน์ สามารถทำการติดต่อซื้อขายกันได้โดยตรง ยิ่งทำให้การจับกุมยาเสพติดมีความยากลำบากมากขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติดในช่วงวัยเด็กและเยาวชนที่มากขึ้นอีกด้วย เพราะฉะนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนความช่วยเหลือจากครอบครัว สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการร่วมมือของคนในชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น